Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพและการพยาบาลแม่หลัง คลอด เตียง 19 - Coggle Diagram
การประเมินภาวะสุขภาพและการพยาบาลแม่หลัง คลอด เตียง 19
การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายตามระบบ
ใบหน้า : ไม่มีอาการบวม สีหน้าสดชื่น
Conjunctiva : สีแดงดี ไม่มีซีด
จมูก : ไม่มีสิ่งคัดหลั่ง ไม่มีบวมแดง
ปาก : ปากแห้งเล็กน้อย ไม่มีฟันผุ เหงือกไม่บวม
คอ : ไม่มีต่อมไตรอยโต คลำไม่พบก้อน
เต้านม : กดที่เต้านมเจ็บเล็กน้อย ให้ 4 คะแนน รู้สึกคัดตึงเต้านม วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 64 (Day 1) มีน้ำนมไหลออกเล็กน้อย หัวนมไม่มีบอดไม่บุ๋ม
หน้าท้อง : มีแผลผ่าตัดแบบ Low Midline Caesarean Section
แขน : ปลายนิ้วมือสีแดงดี ปกติไม่มีกระดูกผิดรูป ไม่บวม
ขา : ไม่มีบวม ไม่มีกดบุ๋ม
ประเมินน้ำคาวปลา
Day 1 สีแดงจาง ประมาณ 30 ml เปลี่ยน pad 2-3 ผืน
Day 2 สีแดงจาง ประมาณ 10 ml.เปลี่ยน pad 2 ผืน
การประเมินมารดาหลังคลอดตามหลัก 13 B
1.Background
อาการสำคัญ
ตรวจครรภ์ตามนัด GA 38 wks.
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
G2P1A0 GA 38 wks by date มาตามนัดตรวจครรภ์ มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด ไม่มีเจ็บครรภ์ ไม่มีน้ำเดิน ลูกดิ้นมากกว่า 10 ครั้ง/วัน
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ปฎิเสธการแพ้ยา แพ้อาหาร ปฎิเสธประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ปฎิเสธการใช้สารเสพติดและแอลกอฮอล์
ประวัติการตั้งครรภ์
วันที่ 8/2/65 อายุครรภ์ 38 wks. คลอดแบบ Inverted T c/s ทารกเพศชาย คลอดเวลา 10.13 นาที น้ำหนัก 2,740 gm. ยาว 48 cm. Apgar score 9,10,10 หักคะแนนสีผิว รกคลอดสมบูรณ์ น้ำหนัก 450 gm Blood 700 loss ml สถานที่คลอด รพ.ตำรวจ
วันที่ 10/5/49 G1 c/s due to maternal exhausion term newborn male ,น้ำหนัก 3,300 กรัม แข็งแรงดี ที่ รพ.สมเด็จพระสังฆราช no complication, ปี 2549 ได้ T.Toxoid 3 เข็ม
ข้อมูลส่วนตัว
มารดาหลังคลอด เตียง 19 มภร 15/2 อายุ 36 ปี ศาสนาพุทธ จบการศึกษา ป.6 อาชีพ แม่บ้านที่รพ.จุฬา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 บาท ที่อยู่อาศัย บ้านเช่า 2 ชั้น น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 50 kg ส่วนสูง 157 cm BMI 20.28 kg/m^2 น้ำหนักปัจจุบัน 64.4 BMI 26.13 kg/m^2 น้ำหนักที่ขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ 14.4 kg
ประวัติการฝากครรภ์
ANC 12 ครั้ง at รพ.ตำรวจ,1st ANC at GA 15+4 wks by date ANC risk : Elderly gravidarum, previous c/s due to maternal exhaustion no U/D, no FDA,LMP : 17/05/64 x 7 days, EDC 21/02/65 by date
2.Body condition
Day 1 รู้สึกตัวดี รับประทานอาหารได้เอง นอนหลับได้ ขับถ่ายปกติ ไม่มีแสบขัด น้ำนมไม่ไหล ปวดแผลผ่าตัด PS : 8 คะแนน
3.Body temperature
Day 1 T = 37.5 BP = 105/70 PR = 90 O2 sat = 99 RR = 18 PS = 8
4.Breast & Lactation
Day 1 เริ่มมีอาการคัดตึงเต้านม นำ้นมไหลระดับ 0 ให้การแนะนำให้กระตุ้นลูกดูดนม ประเมิน Latch score = 9
5.Belly & Fundus
มดลูกหดรัดตัวกลมแข็ง อยู่ระดับสะดือ
6.Bladder
มารดาปัสสาวะวันละ 3-4 ครั้ง ไม่มีอาการแสบขัด ปัสสาวะสีใส
ไม่มีตะกอน
7.Bleeding & Lochia
Day 1 น้ำความปลามีสีแดงจาง ประมาณ 30 ml
8.Botton
ประเมินแผล Surgical wound site Normal Abdominal แผลดี ไม่ซึม
มีปวดแผล pain score 8 คะแนน
9.Bowel movement
Day 0 8/2/2565 10:22น. Retained Foley's cath keep Urine out put >= 200 ml/hr มี Urine ออก 550
Day 1 9/2/2565 10.30น. off foley's cath voidได้เอง 6 ครั้ง ยังไม่ถ่าย ไม่มีผายลม ไม่มีอืดท้องและแน่นท้อง
10.Blues
มารดาสามารปรับตัวเข้ากับทารกได้ สนใจทารกดี อุ้มทารกบ่อย
ไม่มีความวิตกกังวล ไม่เครียด
11.Baby
ทารกเพศชาย คลอดวันที่ 8 ก.พ. 2565 เวลา 10.13น. น้ำหนัก 2,740 gm. ยาว 48 cm. มี ecchymosis ที่ forearm & hand Problem at birth : คลอดติด จากทารกเปลี่ยนท่า Vertex เป็น Transverse Resuscitation : Needed PPV 1 cycle Apgar scores: 1 นาที 9 คะแนน 5,10 นาที 10 คะแนน
12.Bonding & Attachment
มารดามีปฏิสัมพันธ์กับทารกดี คอยอุ้มทารกมากอดและให้นมบ่อยครั้ง
13.Belief model
มารดามีปฏิสัมพันธ์กับทารกดี คอยอุ้มทารกมากอดและให้นมบ่อยครั้ง
เเนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน
การดูแลบุตร
เลี้ยงลูกด้วยนมเเม่อย่างน้อย 6 เดือน เเละต่อเนื่องอีก2ปีร่วมกับการกินนมผสม - นำบุตรมาตรวจสุขภาพและรับวัคซีนตามนัดทุกครั้ง เมื่อบุตรอายุ 2 เดือน
การเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่
หลักการให้นมเเม่ 4 ด.
ดูดบ่อย
ให้ลูกดูดนมแม่บ่อยตามที่ลูกต้องการ คือหิวเมื่อไหร่ก็ให้ดูดทันที เพราะทารกมักหิวนมทุก 2-3 ชั่วโมงมีข้อยกเว้นระยะ 2-3 วันแรกหลังคลอดเท่านั้น ที่จะต้องให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อกระตุ้นให้น้ำนมมา หลังจากนี้ก็ให้ลูกดูดตามต้องการ
ดูดถูกวิธี
ท่าดูดนมที่ถูกต้องของลูกก็คือ ปลายจมูกชิดเต้า ปากอมจนมิดลานหัวนม ถ้าลานนมกว้างก็ให้อมให้มากที่สุด คางชิดเต้านมลูกดูดแรงและเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ได้ยินเสียงกลืนนมเป็นจังหวะถ้าลูกไม่ค่อยดูด หรือดูดช้าลง ให้บีบเต้านมเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมเข้าปากลูก
ดูดเร็ว
ลูกได้ดูดนมแม่หลังคลอดทันทีจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมมาเร็วขึ้น ถ้าให้ลูกดูดนมแม่ช้า น้ำนมก็จะมาช้าด้วย
ดูดเกลี้ยงเต้า
การให้นมแม่แต่ละครั้งต้องนานพอ คือให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้า เพราะน้ำนมในส่วนหลังจะมี ไขมันที่เป็นประโยชน์ต่อสมองและร่างกาย ช่วยให้ลูกอิ่มนานไม่หิวบ่อย
การดูแลตนเอง
การรักษาความสะอาดและป้องกันการติดเชื้อ
-ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลัง
-ล้างมือให้สะอาดหลังการขับถ่าย
การพักผ่อน
ควรนอนให้ได้มากที่สุดเมื่อลูกหลับ เพราะร่างกายของคุณแม่จะยังคงอ่อนเพลียจากการผ่าตัดและการให้นมลูกในตอนกลางคืน
ทำกิจวัตรประจำวัน
กระตุ้นให้มารดามีการ Early ambulate ภายใน 24-48 ชม. เช่น ลุกนั่ง หรือยืนข้างๆเตียง แต่ถ้ามึนศีรษะควรนอนราบบนเตียง เพื่อป้องกันท้องอืดและทำให้ลำไส้ได้ขยับและกลับมาทำงานได้ตามปกติเร็วขึ้น และจะช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว
การออกกำลังกายและการทำงาน(เมื่อกลับบ้าน
-ไม่ควรยกของหนัก เดินขึ้นลงบันไดบ่อยๆในระยะหลังคลอด 6 สัปดาห์แรก -สามารถทำงานบ้านที่เบาๆได้ เช่น ปรุงอาหาร ล้างจาน เก็บเสื้อผ้า รวมทั้งดูแลบุตร
การมีเพศสัมพันธ์
-งดมีเพศสัมพันธ์ในระยะหลังคลอดอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังคลอดหรือจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอด
แพทย์จะปิดแผลผ่าตัดชนิดกันน้ำให้ก่อนกลับบ้านและจะนัดมาดูแผล 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด หากมีน้ำเข้าหรือมีเลือดออกให้ไปทำแผลที่สถานพยาบาลใกล้บ้านหรือมาโรงพยาบาลก่อนวันนัดทันที
มาตรวจตามนัด 6 สัปดาห์หลังคลอดเพื่อประเมิน น้ำคาวปลา การเข้าอู่ของมดลูก ตรวจประเมินปากมดลูก
อาการผิดปกติที่ต้องมาโรงพยาบาล
ด้านแม่
-ปวดท้องมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
-น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นหรือมีสีเเดงไม่จางลงตลอด 15 วัน
-แผลผ่าตัดคลอดเเยก บวมเเดง มีหนอง
-เต้านมอักเสบ บวม เเดง กด เจ็บ มีไข้ หนาวสั่น
-มีอาการปวดแสบขัด เวลาถ่ายปัสสาวะ
-หลังคลอด 2 สัปดาห์ยังคลำพบก้อนทางหน้าท้อง -ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
อาการผิดปกติของเด็กที่ควรมาพบแพทย์ทันที อาการตัวเหลือง เขียว ขณะกินนมหรือขณะร้อง หายใจหอบรอบปากเขียวคล้ำ มีไข้สูง ร้องกวน ไม่ดูดนม เช็คตัวแล้วไข้ยังไม่ลดลงทารกซึมไม่ดูดนม อาเจียนทุกครั้งที่กินนม สะดือมีหนองกลิ่นเหม็น อุจจาระเหลวปนน้ำ มีเลือดหรือมีมูกปนตาแฉะ บวมแดง หูมีน้ำไหลออกมา มีบวมแดง มีไข้มีตุ่มหนองบริเวณผิวหนัง หรือมีจุดเลือดออก
ให้คำเเนะนำเพิ่มเติมด้านทักษะ
เเนะนำให้ breast feeding อย่างต่อเนื่อง -สร้างสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารก การสัมผัส ประสานตาการใช้เสียงเเหลมสูง การเคลื่อนไหวตามจังหวะ การรับกลิ่น การให้ความอบอุ่น
ท่าอุ้มเข้าเต้าที่เหมาะสมกับมารดารายนี้
ท่าอุ้มลูกฟุตบอล Clutch hold หรือ Football hold
เนื่องจากมารดามีหัวนมสั้น จึงควรจัดท่าอุ้มลูกฟุตบอล (Clutch hold หรือhold)ลูกอยู่ในท่ากึ่งตะแคงกึ่งนอนหงาย ขาชี้ไปทางด้านหลังของแม่
มือแม่จับที่ต้นคอและท้ายทอยของลูก กอดลูกให้กระชับกับสีข้างแม่ ลูกดูดนมจากเต้านมข้างเดียวกับมือที่จับลูก มืออีกข้างประคองเต้านมไว้ ท่านี้เหมาะสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพราะตัวของลูกจะไม่ไปสัมผัสและกดทับแผลผ่าตัดที่หน้าท้องของแม่ คุณแม่ที่มีเต้านมใหญ่หรือลูกตัวเล็กเพราะลูกจะเข้าอมงับเต้านมได้ดีกว่า และคุณแม่ที่คลอดลูกแฝด เพราะสามารถให้ลูกดูดนมจากทั้งสองเต้าพร้อมๆกันได้
ท่านอน side lying position แม่ลูกนอนตะแคงเข้าหากัน แม่นอนศีรษะสูงเล็กน้อยหลังและสะโพกตรง ให้ปากลูกอยู่ตรงกับหัวนมของแม่ มือที่อยู่ด้านล่างประคองตัวลูกให้ชิดลำตัวแม่อาจใช้ผ้าขนหนูที่ม้วนไว้ หรือหมอนหนุนหลังลูกแทนแขนแม่ก็ได้ มือที่อยู่ด้านบนประคองเต้านมในช่วงแรกที่เริ่มเอาหัวนมเข้าปากลูก เมื่อลูกดูดได้ดีก็ขยับออกได้ ท่านี้เหมาะสมสำหรับ : แม่ที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องต้องการพักผ่อน หรือให้นมลูกเวลากลางคืน
เทคนิคการบีบน้ำนม
1.นวดเเละคลึงหัวนมเพื่อกระตุ้นการหลั่งนำ้นม
2.วางนิ้วมือห่างจากหัวนม 3-4 ซม. 3.กดเข้าหาหน้าอก 4.บีบเข้าหากัน 5.น้ำนมไหลออกจากท่อน้ำนม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในร่างกายจากแผลผ่าตัด
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
ข้อมูลสนับสนุน
OD:มารดามีแผลผ่าตัดคลอดบริเวณหน้าท้องมี bleeding per vagina สีแดงไหลออกจากช่องคลอด)
เกณฑ์การประเมิน
1.แผลไม่มีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ คือ แผลเย็บไม่บวมแดง ไม่มี discharge
2.bleeding per vagina สีจางลงเรื่อยๆ ปริมาณลดลง ไม่มีกลิ่นเหม็น 3.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกาย 36.4-37.5 องศาเซลเซียส และชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที หายใจ16-22 ครั้ง/นาที
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินลักษณะแผลผ่าตัดของมารดาตามหลัก REEDA คือ สังเกตอาการบวมแดง สีผิวที่เขียวช้ำ ความสม่ำเสมอของขอบแผล และอาการแสงจากการกดเจ็บ ระดับการเจ็บปวดแผล
2.ประเมินลักษณะของ bleeding per vagina สี กลิ่นและปริมาณของน้ำคาวปลา
3.อธิบายกลไกการหายของแผลและการเปลี่ยนของน้ำคาวปลาให้มารดาเข้าใจ
4.แนะนำการรักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ทำความสะอาดทุกครั้งหลังการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะโดยล้างจากหน้าไปหลัง และเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 4 ชั่วโมงหรือเมื่อชุ่มแผ่น
5
การประเมินผล
มารดาไม่มีอาการและอาการแสดงที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ
มารดาหลังคลอดไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัด
วัตถุประสงค์
เพื่อบรรเทาปวดให้มารดาสุขสบายขึ้นและปวดแผลลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
SD: 1.มารดาบอกว่าปวดแผลผ่าตัด ขยับร่างกายได้เล็กน้อย 2.มารดาสีหน้าไม่สุขสบาย คะแนนความปวด Pain score = 8 คะแนน OD: 1.มีแผลผ่าตัดบริเวณหน้าท้องยาวประมาณ 5 นิ้ว 2.มารดามีสีหน้านิ่ว คิ้วขมวด เมื่อเคลื่อนไหวร่างกาย 3.ให้มารดาได้ทานยา Paracetamol 1 tap
เกณฑ์การประเมิน
1.มารดาปวดแผลลดลง หรือคะแนนความปวด Pain score <=3 คะแนน
มีสีหน้าสดชื่นขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินความเจ็บปวดของอาการปวดแผลผ่าตัดด้วยการสอบถาม สังเกตจากสีหน้า ท่าทาง และใช้การประเมินจากตัวเลขบอกระดับความปวด (Pain score)เพื่อเป็นข้อมูลในการช่วยเหลือ และเลือกวิธีบรรเทาอาการปวด -คะแนน 1-2 หมายถึงยอมรับได้ไม่ต้องการรักษาพยาบาล -คะแนน 3-4 หมายถึงมีอาการปวดเล็กน้อยพอทนได้-คะแนน 5-6 หมายถึงปวดปานกลาง บางครั้งต้องการบรรเทาด้วยวิธีใด-วิธีหนึ่ง อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด-คะแนนมากกว่า 6 ขึ้นไป ควรได้รับการบำบัดรักษาอาจใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึง 10 หรือผู้ป่วยบอกว่าทนไม่ไหว 2. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่า Fowler’s position หลังครบนอนราบ 12 ชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัวจากการที่ข้อสะโพกงอ ช่วยลดอาการตึงแผลผ่าตัด ทำให้เจ็บแผลน้อยลง 3.แนะนำให้ใช้มือ หรือหมอนประคองแผลผ่าตัดขณะไอ หรือมีการเคลื่อนไหว และแนะนำให้เคลื่อนไหวช้า ๆ ใช้มือประคองแผลขณะลุกนั่งหรือเดิน เพื่อลดการกระทบกระเทือนแผลผ่าตัด 4. สอนเทคนิคการหายใจลดปวด โดยให้หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ และผ่อนลมหายใจออก ทางปากเพราะการหายใจสามารถควบคุมความเจ็บปวดได้ โดยเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจมาที่การ ควบคุมหายใจ เข้า ออก 5.ให้การพยาบาลแก่มารดาด้วยความนุ่มนวลช่วยให้อาการปวดแผลลดลงได้ 6. ระยะที่แพทย์อนุญาตให้มารดารับประทานอาหารได้แล้ว และยังมีอาการปวดแผลอยู่ ดูแลให้ได้รับ ประทานยาแก้ปวดตามแผนการรักษา คือ ibuprofen 400 mg ซึ่งทำให้อาการปวดแผลลดลง 6. ระยะที่แพทย์อนุญาตให้มารดารับประทานอาหารได้แล้ว และยังมีอาการปวดแผลอยู่ ดูแลให้ได้รับ ประทานยาแก้ปวดตามแผนการรักษา คือ ibuprofen 400 mg ซึ่งทำให้อาการปวดแผลลดลง
การประเมินผล
มารดาหลังคลอดมีสีหน้าสดชื่น แจ่มใส สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น และยังมีบ่นเจ็บปวดแผลผ่าตัด หลังได้ยา ibuprofen แก้ปวดตามแผนการรักษา ระดับความปวดลดลง (Pain score = 5 คะแนน)
ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดและคัดตึงเต้านม
ข้อมูลสนับสนุน
SD:ผู้ป่วยบอกว่าปวดและคัดตึงเต้านม
เต้านมแข็งตึงทั้ง 2 ข้าง
วัตถุประสงค์
ลดอาการปวดตึงและคัดตึงเต้านม
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้คลอดบวกว่าปวดเต้านมลดลง
2.เต้านมนิ่มลง น้ำนมไหลมากขึ้น 3.ใบหน้าไม่แสดงอาการเจ็บปวด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการปวด คัดตึงเต้านม 2.กระตุ้นให้น้ำนมไหลด้วยการแนะนำให้ทารกดูดนมแม่เร็วที่สุดและให้ลูกดูดนมบ่อยๆจะช่วยลดการคั่งของน้ำนมช่วยลดอาการคัดตึงเต้านม 3.ประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่น นวดเต้านวดนมเบาๆและบีบน้ำนมออกถ้าลูกดูดน้ำนมไม่หมด 4.ควรสวมยกทรงไว้เสมอเลือกขนาดพอเหมาะไม่คับ หรือหลวมเกินไปเพื่อพยุงเต้านมไว้ ซึ่งมีผลให้ลดอาการปวดเต้านมไว้ 5.ถ้าปวดเต้านมมาก ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
การประเมินผล
ผู้คลอดให้ลูกดูดนมแม่บ่อยขึ้น มีน้ำนมไหลมากขึ้น เต้านมนิ่มคัดตึง
นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากทารกร้องกวน
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยนอนหลับได้ต่อเนื่อง 6-8 ชั่วโมง
2. ไม่มีอาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้มารดาพักผ่อนนอนหลับมากขึ้น
ข้อมูลสนับสนุน
ทารกร้องกวนในเวลากลางคืน
การเข้าเต้าไม่ถูกวิธีทำให้ทารกไม่ได้รับน้ำนมอย่างเพียงพอ
มารดาเต้านมคัดตรึง
การประเมินผล
มารดาปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดี นอนหลับได้มากขึ้น ไม่มีอาการอ่อนเพลีย มึนงง ปวดศีรษะ
กิจกรรมการพยาบาล
รับฟังปัญหาของมารดาเปิดโอกาสให้มารดาระบาย 2.แนะนำให้มารดาให้ทารกดูดนมทุก2-3 ชั่วโมง 3.แนะนำให้มารดาคลึงและบีบนวดเต้านมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้น้ำนมไม่ค้างในเต้านม 4.แนะนำวิธีการเข้าเต้าอย่างถูกวิธีและการบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ทารก5.แนะนำให้มารดานอนหลับพักผ่อนขณะที่ทารกนอนหลับ