Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภัยธรรมชาติ - Coggle Diagram
ภัยธรรมชาติ
-
น้ำท่วม
น้ำท่วมมีผลกระทบรบกวนมากมายต่อถิ่นฐานและกิจกรรมเศรษฐกิจของมนุษย์ อย่างไรก็ดี น้ำท่วม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง/เล็กกว่า) ยังสามารถนำมาซึ่งประโยชน์ได้ เช่น การเติมน้ำบาดาลใหม่ ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ขึ้นและให้สารอาหารแก่ดินที่ขาดน้ำท่วมทำให้บางพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้ง มีทรัพยากรน้ำที่สำคัญยิ่ง ที่ซึ่งเหตุการณ์หยาดน้ำฟ้าสามารถมีการกระจายไม่สม่ำเสมอมากตลอดทั้งปี น้ำจืดท่วมมีบทบาทสำคัญยิ่งในการรักษาระบบนิเวศในทางน้ำไหล
น้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมากที่ ไหลบ่าในแนวระนาบจากที่สูงไปยังที่ต่ำ เข้าท่วมอาคารบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือ เป็นสภาพน้ำท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ
สาเหตุน้ำล้นตลิ่ง
สาเหตุของน้ำท่วมเกิดจาก
1.ฝนตกมาเป็นจำนวนมากที่ภาคเหนือ
2.น้ำไหลมายังภาคกลางที่เป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำทำให้น้ำขังได้เพราะบางพื้นที่ความสูงต่ำไม่เท่ากัน
น้ำท่วมทำให้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
วิกฤตน้ำท่วมในประเทศไทย พ.ศ.2554 น้ำได้ท่วมขังครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่องกันเป็นบริเวณกว้างกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา พื้นที่บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เรียกว่า กลุ่มลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน นอกจากนี้ ได้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่หลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
หลุมยุบ
หลุมยุบ เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมลึก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1ถึงมากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปรกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำ ที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมาย ดังจะสังเกตเห็นได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็น บริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่โผล่เรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ่งจำแนกเป็น 2 ระดับ คือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก ( ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น ( ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50 เมตร) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น
ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากเกิด “หลุมยุบ” ก็ได้แก่ ดินทรุดและยุบตัว ทำให้กำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้ โผล่สูงขึ้น มีการเคลื่อนตัวทรุดตัว ของกำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้ ประตู/หน้าต่างบิดเบี้ยว ทำให้ปิดยากขึ้น เกิดแอ่งน้ำขนาดเล็กในบริเวณที่ไม่เคยมีแอ่งน้ำมาก่อน มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และพืชผัก เหี่ยวเฉาเป็นบริเวณแคบๆ หรือเป็น ...
ดินถล่ม
ดินถล่มหรือโคลนถล่ม คือ การเคลื่อนที่ของมวลดินและหินลงมาตามลาดเขาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงโลก และจะมีน้ำเข้ามาเกี่ยวข้องในการ ทำให้มวลดินและหินเคลื่อนตัวด้วยเสมอ ดินถล่มมักเกิดตามมาหลังจากน้ำป่าไหลหลาก ในขณะที่เกิดพายุฝนตกหนักรุนแรงต่อเนื่อง หรือหลังการเกิดแผ่นดินไหว
กระบวนการเกิดดินถล่ม
- เมื่อฝนตกหนักน้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง
- ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นจะทำให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง
- เมื่อน้ำใต้ผิวดินมีระดับสูงก็จะไหลภายในช่องว่างของดิน ลงมาตามความชันของลาดเขา
- เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
- เมื่อเกิดดินเลื่อนไหลแล้ว ก็จะเกิดต่อเนื่องขึ้นไปตามลาดเขา
ความหมายและสาเหตุของแผ่นดินทรุด
แผ่นดินทรุด คือ ธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากพื้นผิวดินพังทลายเป็นหลุม เกิดจากน้ำในโพรงใต้ดินเหือดแห้ง หรือลดลงจากกระบวนการธรรมชาติ และการสูบน้ำบาดาลของมนุษย์
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการกดทับของน้ำหนักจากชั้นผิวดิน เช่นการมีอาคารก่อสร้าง เมื่อบวกกับแรงดันน้ำใต้ดินที่ลดลง รวมไปถึงดินตะกอนที่อยู่ลึกลงไปจากผิวดิน เป็นดินตะกอนประเภทไม่แข็งตัว ได้แก่ ดินเหนียว ดินทราย เป็นต้น ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดปัญหาทรุดตัวของดินได้
ผลกระทบจากแผ่นดินทรุด
เหตุการณ์แผ่นดินทรุด อาจทำให้บ้านเรือนเสียหาย เกิดการเปลียนถิ่นที่อยู่อาศัย เพราะการทรุดตัวลงอาจทําให้พื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับนํ้ำทะเ ล เช่น กรุงเทพมหานคร เกิดความเสียหายได้ นอกจากนั้น การทรุดลงเฉียบพลันอาจก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
การกัดเซาะชายฝั่ง (อังกฤษ: coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมี ...