Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
หมายถึง ข้อมูลที่ทําให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง
มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดําเนินชีวิต
และอนาคตของบุคคลนั้น
ผู้แจ้งข่าวร้าย
แจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วย
หรือญาติจึงเป็นหน้าที่สําคัญ ของแพทย์
แพทย์สามารถแจ้งแก่ญาติโดย
ไม่ต้องแจ้งแก่ผู้ป่วยโดยตรง
ในกรณีที่ ผู้ป่วยเป็นโรคทางจิต เด็ก
และผู้ป่วยที่มีแนวโน้มทำร้ายตนเอง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล
จะรู้สึกตกใจและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยา
ความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ
ระยะต่อรอง (Bargaining)
ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ
การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น
ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล
ระยะยอมรับ (Acceptance)
ยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น
และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
บทบาทของพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
ประเมินการรับรู้ของครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ
ในระยะโกรธ
ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติ
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล
การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่
ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วย
เพื่อให้รับความสุขสบาย ควบคุมความปวด
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติ ว่าแพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด
ทําหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วย
ให้ได้รับประโยชน์และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์
ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปี
หรือเดือนท้ายๆของชีวิต
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย
(comfort theory)
ทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป็นภาวะที่บุคคล ได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา (relief) สงบ ผ่อนคลาย (ease) และควบคุมสถานการณ์ได้หรือ อยู่เหนือ ปัญหา (transcendence)
ครอบคลุมบริบทด้าน ร่างกาย (physical comfort)
ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ (psycho spiritual comfort)
สังคมวัฒนธรรม (sociocultural comfort)
และสิ่งแวดล้อม ( environmental comfort)
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบาย
ของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย
เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis)
การสอน แนะนํา เป็นพี่เลี้ยง (coaching)
อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul)
เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทําแสดงถึงการดูแล ใส่ใจ เอื้ออาทร
ดูแลแบบประคับประคอง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส;งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ
โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
ปรึกษาทีมpalliativecare
ดูแลแบบผสมผสาน
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
ประเมินอาการทางร่างกาย
ประเมินด้านจิตใจ
ประเมินด้านสังคม
ประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการ
ดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
คือ กระบวนการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่
สุขภาพกับผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลรักษา
ผู้ป่วยทางการแพทย์ในอนาคต
Living will หรือ พินัยกรรมชีวิต
หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน
หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล
เจ้าหน้าที่สุขภาพ ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด
Proxy
บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมาย
ให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ใน วาระสุดท้ายของตน
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต
(manage dying patient)
บรรยากาศในไอซียูมักเต็มไปด้วยความวุ่นวาย
ถ้าหากมีเวลาเตรียมตัวก่อนเสียชีวิตหลายวัน
อาจพิจารณาย้ายผู้ป่วยไปยังหอผู้ป่วยที่ญาติสามารถ
เข้าเยี่ยมได้ ใกล้ชิด สงบ และมีความเป็นส่วนตัว
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง
(bereavement care)
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทําการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย เป็นปกติที่ครอบครัวจะเสียใจกับการจากไปของผู้ป่วย