Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์ G4P2012 GA 17+5 wks - Coggle Diagram
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์ G4P2012
GA 17+5 wks
Lab
ABO group : AB
Rh group : Positive
Ab screening : negative
Urinalysis
Color : Lt.yellow
Transp : clear
glucose : negative
R.B.C. : not found
W.B.C. : 0-1
HBs Ag : negative
HIV Ab : non reactive
VDRL : non reactive
Screening test for Thalassemia
Hb E screening (DCIP) : negative
CBC
Hb 13.7g/dL (ค่าปกติ>11g/dL)
Hct 42.4% (ค่าปกติ>33%)
MCV 80.8 fL (ค่าปกติ80-100fL)
MCH 26.2 pg (ค่าปกติ 25.9-32.4pg)
RDW 13.9% (ค่าปกติ 11.9-16.5 g/dL)
W.B.C. 11.4x10^3/uL (ค่าปกติ4.24-10.18)
Neutrophil 75.2% (ค่าปกติ48.2-71.2%)
Lymphocyte 19.5% (ค่าปกติ21.1-42.7%)
Glucose Challenge Test (50gm)
113 mg/dL
ค่าปกติ 0-140mg/dL
คัดกรองเนื่องจากอายุ >30ปี
อายุครรภ์ครบ24-28wks นัดมาเพื่อตรวจซ้ำอีกรอบ
วินิจฉัยการตั้งครรภ์
Presumtive sign
ขาดประจำเดือน
LMP 08/10/64
ปัสสาวะบ่อย
Probable sign
ตรวจPregnancy test พบhCG ขึ้น2ขีด
Positive sign
no
ข้อมูลส่วนบุคคล
หญิงตั้งครรภ์ อายุ 31ปี G4P2012 ทำงานเป็นพนักงานบริษัท LMP: 08/10/64 EDC: 15/07/65 GA17+5 wks น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 76kg ระหว่างตั้งครรภ์ 85kg สูง173cm. BMI = 25.39kg/m2 ไม่มีอาการผิดปกติ ได้รับวัคซีนบาดทะยักครั้งล่าสุดเมื่อปี2564 ได้รับการฉีดเนื่องจากรถล้ม ไม่มีโรคประจำตัว แต่เคยมีประวัติเป็นวัณโรค แต่รักษาหายแล้วเมื่อปี2564 ปรัวัติครอบครัวไม่มีโรค
ประวัติการตั้งครรภ์
G1 23/01/50 Fullterm normal labor เพศชาย 3150g แข็งแรงดี
G2 10/10/54 Fullterm normal labor เพศหญิง 3400g แข็งแรงดี
G3 2564 อายุครรภ์3เดือน Spontanous Abortion+D/C
11แบบแผนกอร์ดอน
แบบแผนที่1
หญิงตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ครั้งที่4 ตั้งใจที่จะมีบุตร ไม่ได้คุมกำเนิด ดูแลตัวเองได้ดี
แบบแผนที่2
รับประทานอาหารวันละ3มื้อก่อนการตั้งครรภ์ ตั้งแต่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ รับประทานได้น้อยลงช่วงแรก แต่ตอนนี้เริ่มทานได้เยอะมากขึ้น และรับประทานครบ5หมู่ บำรุงครรภ์ตัวเอง ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ แต่ทางสามีนั้นสูบบุหรี่ ไม่มีอาการแพ้ท้อง อาการทั่วไปปกติดี น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์73kg หลังการตั้งครรภ์ 85kg
แบบแผนที่3
ก่อนการตั้งครรภ์ปัสสาวะวันละ7-8ครั้ง หลังตั้งครรภ์ปัสสาวะบ่อยขึ้น วันละ8-10ครั้ง
อุจจาระวันละ1-2ครั้ง แต่บางทีก็ท้องผูกบางครั้ง
แบบแผนที่4
ก่อนการตั้งครรภ์ปัสสาวะวันละ7-8ครั้ง หลังตั้งครรภ์ปัสสาวะบ่อยขึ้น วันละ8-10ครั้ง
อุจจาระวันละ1-2ครั้ง แต่บางทีก็ท้องผูกบางครั้ง
แบบแผนที่5
ตื่นเวลา6.00น. หลับเวลา00.00น.ของทุกๆวัน ทั้งก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์ ปกตินอนเฉลี่ยวันละ6-8ชั่วโมงต่อวัน แต่ระหวังที่ตั้งครรภ์มีงีบหลับระหว่างวันวันละ1-2ชั่วโมง
แบบแผนที่6
รับรู้วันเวลาสถานที่ ว่าวันนี้เป็นวันที่9กุมภาพันธ์ 2565
รับรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ และรู้สึกโอเคกับการตั้งครรภ์ครั้งนี้
แบบแผนที่7
รับรู้ว่าการตั้งครรภ์จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีประสบการณ์เคยตั้งครรภ์มาก่อน เช่น หน้าท้องใหญ่ แตกลาย น้ำหนักขึ้น
แบบแผนที่8
การปรับตัวในขณะที่ตั้งครรภ์คือ คุณแม่มีการบำรุงมากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ5หมู่ และมีการดื่มนมบำรุงครรภ์
แบบแผนที่9
ก่อนตั้งครรภ์ไม่มีการคุมกำเนิด ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์
เคยมีบุตร2คน ชาย1 หญิง1
แบบแผนที่10
ไม่มีความเครียด มีความพร้อมในการเลี้ยงดูบุตร
ยังไม่ได้วางแผนการคุมกำเนิด
แบบแผนที่11
ไม่มีความเชื่อทางศาสนา และความเชื่ออื่นๆ
คำแนะนำและข้อเสนอแนะ
ทั่วไป
แนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงใกล้ชิดจากผู้ที่สูบบุหรี่ จากเคสสนี้ทางด้านสามีนั้นสูบบุหรี แนะนำให้งดการสูบบุหรี่ ไม่มาสูบใกล้คุณแม่ เพราะจะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
อันตรายจากควันบุหรี่มือ2
ด้านทารก
เติบโตและพัฒนาการช้า
เพิ่มโอกาสการไหลตาย
พิการแต่กำเนิด
ร่างกายอ่อนแอ เจ็บปวดบ่อย
ด้านมารดา
ครรภ์เป็นพิษ
เป็นโรคหอบหืด
แท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
มะเร็งปอด
แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนต่อการตั้งครรภ์
แนะนำคุณแม่เรื่องการฉีดวัคซีนบาดทะยัก แนะนำให้มาฉีดทั้งหมด3เข็ม เข็มแรก0เดือน เข็มถัดมาห่างจากเข็มแรก1เดือน เข็มสุดท้ายห่างจากเข็มที่2 6เดือน
ด้านโภชนาการ
แนะนำอาหารที่คุณแม่ควรรับประทานเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารจำพวก
โปรตีน
โดยเน้นโปรตีนจากปลา จากเต้าหู้ ไข่ไก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และดื่มนมเสริมวันละ1-2แก้ว
วิตามิน
เน้นการรับประทานผักและผลไม้ สำหรับคุณแม่ที่มีอาการท้องผูกควรรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์มากๆ
โฟลิก
แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานโฟลิกต่อเนื่องจนถึง3เดือนของการตั้งครรภ์ หลังจากนั้นให้ลดปริมาณการรับประทานลง แต่ยังทานต่อ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโฟลิกสูง เช่น ตับ ผัดใบเขียวฟังทอง ถั่วต่างๆ เมล็ดธัญพืช
ด้านการออกกำลังกาย
แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์ออกกำลังกายสม่ำเสมอที่ระดับปานกลาง โดยช่วงแรกที่เริ่มออกวันละ15นาที ออก3วันต่อสัปดาห์ จากนั้นค่อยๆเพิ่มทีละน้อยจนออกวันละ25-30นาที ให้ได้3-5วันต่อสัปดาห์
การออกกำลังกายที่แนะนำได้แก่ การออกกำลังกายแบบแรงกระแทกต่ำ เช่นการเดินว่ายน้ำ ออกกำลังกายในน้ำ โยคะยืดกล้ามเนื้อง่ายๆสำหรับคนท้อง หากอยากออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน เช่นยกเวท วิ่ง ควรเป็นผู้ที่เคยออกกำลังกายชนิดนี้เป็นปนะจำมาก่อน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและจิตใจส่งผลให้เกิดภาวะไม่สุขสบายในระหว่างการตั้งครรภ์
ปวดหลัง
การพยาบาล
1.อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ทราบถึงสาเหตุ และปัจจัยเสริมที่ทำให้อาการปวดหลังมากขึ้น
2.แนะนำให้ทำท่ากายบริหาร
3.แนะนำการนวดหลังให้สตรีตั้งครรภ์
ตกขาว
การพยาบาล
1.อธิบายสาเหตุของการเกิดตกขาว
2.ประเมินการติดเชื้อในช่องคลอด
3.แนะนำการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
4.แนะนำให้ดูแลบริเวณปากช่องคลอดให้แห้งสะอาดอยู่เสมอ แนะนำให้ใส่กางเกงชั้นในที่ไม่รัด เนื้อผ้าโปร่งระบายอากาศได้ดี
ปัสสาวะบ่อย
การพยาบาล
1.แนะนำสังเกตอาการผิดปกติที่แสดงถึงการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่นปัสสาวะแสบขัดและมีเลือดปน
2.แนะนำให้ถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ
3.แนะนำหลีกเลี่ยงการนั่งยองถ่ายปัสสาวะในไตรมาสที่3
4.หากมีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน ควรปรับการดื่มน้ำก่อนอนให้น้อยลง