Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบ
ประคับประคอง
เป็นการดูแลผู้ป่วยที่มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆของชีวิต
ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้าน ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม
ประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญ
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต
อย่างสงบ สบาย พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสนับสนุนค้ำจุนครอบครัวผู้ป่วย
แนวคิดการดูแลตาม
ทฤษฎีความสุขสบาย
เป้าหมายเน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
ความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
บรรเทา
ความสงบ ผ่อนคลาย
อยู่เหนือปัญหา
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย และรักษาความสมดุลของร่างกาย
ให้กำลังใจ ให้ข้อมูล ความหวัง ชี้แนะ รับฟังและช่วยเหลือเพื่อวางแผนฟื้นฟูสภาพ
กระทำแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็งด้านจิตวิญญาณ
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต หรือ ปราณีฆาต
หรือ เมตตามรณะ
การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ
ผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการ
รักษาพยาบาล แพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
การทำการุณยฆาตโดยที่
ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง
เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวด
ทรมานอย่างแสนสาหัส
สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง
บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือ
ช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือ
ช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การเพิกถอนเครื่องช่วยหายใจ
การฆ่าตัวตายโดยความ
ช่วยเหลือของแพทย์
ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่สามารถเอา ผิดกับผู้ที่ฆ่าตัวตายได้ ทั้งที่ผู้นั้นจะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ในการกระทำนั้น รวมถึงผู้ที่ให้การช่วยเหลือให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายก็ยังไม่มีกฎหมายเอาความผิดเช่นเดียวกัน
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
ผู้ป่วยวิกฤตมักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆ จึงต้องอาศัยเครื่องมือทาง การแพทย์และทรัพยากรอื่นๆทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว้ จึงมีผู้ป่วยวิกฤตหลายรายและเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจำกัด
การบอกความจริง
การแสดงเจตนาในการปฏิเสธการรักษา โดยทางเลือกสำหรับการบอกความจริง
การบอกความจริงทั้งหมด
การบอกความจริงบางส่วน
การหลอกลวง
การประวิงเวลาการบอกความจริง
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืดยาวออกไป ประเด็นเชิงจริยธรรมนี้จึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ และการซื้อขายอวัยวะ
แนวทางการป้องกันและ
แก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน
หลักการพยาบาลในการ
ดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
การสื่อสารที่ดีสามารถลดความไม่สุขสบายใจ ลดการเกิดความไม่พอใจของครอบครัว
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การใส่ใจประเมินอาการและจัดการอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
อาการไม่สุขสบายที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤต
การดูแลทั่วไป
การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของ
ผู้ป่วยและครอบครัว
เป็นการช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจ อารมณ์และจิตวิญญาณ
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วย
ระยะสุดท้ายและครอบครัว
เป็นสิ่งที่เป็นพลังความเชื่อ ความหวังที่ผลักดันให้ทำสิ่งที่ดีงาม การทำจิตใจสงบระลึกถึงสิ่งที่ดีงาม การช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัว
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว
เป้าหมายสำคัญเพื่อสร้างความเข้า ใจที่ดีระหว่างทีมสุขภาพกับ ผู้ป่ยและครอบครัวเกี่ยวกับโรคและระยะของโรครวมไปถึงการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรค แนวทางของการดูแลผู้ป่วยในอนาคต รวมทั้งประเมินความต้องการด้านอื่นๆ ของผู้ป่วย และครอบครัว
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
สร้างพินัยกรรมชีวิต, บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอำนาจตัดสินใจ
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
ทีมสุขภาพสามารถจัดสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยวิกฤติให้สงบที่สุดที่พอจะ
เป็นไปได้ช่วงเวลานี้ควรให้ครอบครัวคนใกล้ชิดอยู่ด้วยเท่านั้น เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ถูกรบกวน
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง
ไม่ควรพูดคำบางคำ เช่น “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้” เป็นต้น แต่ให้แสดงว่าการเสียใจกับการสูญเสียเป็นสิ่งปกติรวมถึงอาจมีเอกสารคำแนะนำการดูแลร่างกายและ จิตใจผู้สูญเสีย และมีคำแนะนำว่าเมื่อไหร่ผู้สูญเสียจำเป็นต้องพบแพทย์หรือนักจิตบำบัดเพื่อปรึกษาปnญหา
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Multidisciplinary team
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
เนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ความไม่แน่นอนของอาการ
ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
ทรัพยากรมีจำกัด
เตียงผู้ป่วยในไอซียู รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่างๆ มีจำกัด การ
ใช้จึงควรพิจารณาใช้กับผู้ป่วยที่มีโอกาสจะรักษาให้อาการดีขึ้นได
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้มีความคาดหวังสูงที่จะดีขึ้นจากภาวการณ์เจ็บป่วยที่รุนแรง
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียงสัญญาณเตือนดังเกือบตลอดเวลา ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
Professional culture
ผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
บทบาทของพยาบาลในการดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การสื่อสาร
สื่อสารร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาติ
การคอยช่วยเหลือ
เมื่อผู้ป่วยต้องการทำการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การรวบรวมเอกสาร
สำเนาหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยในวาระสุดท้าย
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย
ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียู
เป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การประเมินความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว การสื่อสาร และการจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้นๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
เนื่องจากผู้ป่วยวิกฤตเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่หลากหลาย การกำหนดเกณฑ์สำหรับการปรึกษาทีม palliative care จึงมีข้อบ่งชี้ในการปรึกษา
การดูแลแบบผสมผสาน
ระบบการแพทย์เฉพาะ
แพทย์แผนไทย
การผสมผสานกายจิต
สวดมนต์ ทำสมาธิ โยคะ
อาหารและสมุนไพร
อาหารสุขภาพ
พลังบำบัด
สัมผัสบำบัด โยเร
หลักการพยาบาลในการดูแล
ผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินด้านสังคม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ความต้องการของครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม
การประเมินอาการทางร่างกาย
ประเมินอาการไม่สุขสบาย ความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วย อาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การประเมินตามระบบต่างๆ
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบหายใจ
ระบบประสาท
ระบบการควบคุมหูรูด
ระบบขับถ่าย
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการการกิจกรรมทางศาสนา
ดูแลแบบองค์รวมครอบคลุมด้านร่างกาย
อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ
การประเมินด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
ภาวะสับสน (Delirium)
การประเมินระดับ
Palliative Performance Scale (PPS)
ใช้ประเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง การให้คะแนนใช้เกณฑ์วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย
ความสามารถในการเคลื่อนไหว
กิจกรรมและความรุนแรงของโรค
การดูแลตนเอง
การกินอาหาร
ความรู้สึกตัว