Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 จิตวิทยาการศึกษากับการศึกษาพิเศษ และการเรียนรวม - Coggle Diagram
บทที่ 5 จิตวิทยาการศึกษากับการศึกษาพิเศษ และการเรียนรวม
ความหมาย
การศึกษาพิเศษ
เป็นการจัดการศึกษาสําหรับบุคคลที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ รวมถึงด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็ก
การศึกษาเรียนรวม
การเปิดโอกาสให้แก่ผู้เรียนที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ ได้เข้าเรียนรวมในชั้นเรียนปกติให้มากที่สุด โดยคํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก
จิตวิทยาการศึกษา
เป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนํามาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา
ประเภทของการต้องการจำเป็นพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐานทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางภาษาและการพูด
คนที่มีความบกพร่องในเรื่องของการออกเสียงพูด หรือคนที่มีความบกพร่องในเรื่องการเข้าใจและการใช้ภาษาพูด เขียน และระบบสัญลักษณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
บุคคลที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ
เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมหรืออารมณ์
เด็กที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ระดับที่ 1 ขั้นเล็กน้อย (mild) IQ 50 - 60
ระดับที่ 2 ขั้นปานกลาง (moderate) IQ 35 - 49
คนที่มีพัฒนาการช้ากว่าคนปกติทั่วไป เมื่อวัดสติปัญญาโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานแล้ว มีสติปัญญาต่ํากว่าบุคคลปกติ
ระดับที่ 3 ขั้นรุนแรง (severe) IQ 20 - 34
ระดับที่ 4 ขั้นรุนแรงมาก (profound) IQ น้อยกว่า 20
เด็กออทิสติก
เด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านสังคม ภาษาและสื่อความหมาย พฤติกรรมอารมณ์ และจินตนาการ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
คนหูหนวก
บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมาก จนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านทางการได้ยิน ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เครื่องช่วยฟัง
คนหูตึง
บุคคลที่มีการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินการพูดผ่านทางการได้ยินโดยทั่วไปจะใส่เครื่องช่วยฟัง
เด็กที่สูญเสียการได้ยินตั้งแต่ ระดับหูตึงน้อยจนถึงหูหนวก
เด็กพิการซ้อน
เด็กที่มีความบกพร่องของการทํางานของอวัยวะตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปในบุคคลเดียวกัน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
คนตาบอด
บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก จนต้องใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียง
คนเห็นเลือนราง
บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังสามารถอ่านอักษรตัวพิมพ์ขยายใหญ่ ด้วยอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการ หรือเทคโนโลยี
บุคคลที่สูญเสียการเห็นตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงตาบอดสนิท
ความสำคัญ
ความสําคัญต่อครอบครัว
ส่งผลให้ครอบครัวของเด็กปกติและครอบครัวของเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาในทุกๆ ด้าน
ความสําคัญต่อครู
ครูได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองในด้านการสอน และการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ
ความสําคัญต่อตัวเด็ก
เด็กปกติ
ได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ตามความต้องการ
ความสําคัญต่อสังคม
สังคมได้ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของคนในสังคม เพื่อให้เป็นสังคมแห่งความเสมอภาคและเท่าเทียม
รูปแบบการจัดการศึกษาพิเศษ
การจัดการศึกษาโดยศูนย์การศึกษาพิเศษ
ประจําเขตการศึกษา
จํานวน 13 แห่ง บริหารจัดการการศึกษาเพื่อคนพิการ
ประจําจังหวัด
บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการ และครอบครัว และเตรียมความพร้อมแก่คนพิการ
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครูเดินสอน
นักเรียนเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาโดยอยู่ในความรับผิดชอบของครูประจําชั้น แต่ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนโดยตรงจากครูเดินสอน ตามตารางที่กําหนด
ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
นักเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาโดยอยู่ในความรับผิดชอบครูประจําชั้น แต่ได้รับการสอนเพิ่มเติมหรือสอนเสริมจากครูการศึกษาพิเศษที่ประจําที่ห้องสอนเสริมตามกําหนดตารางการเรียน
ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษาหารือ
นักเรียนเรียนในชั้นเรียนปกติเต็มวัน โดยอยู่ในความ
รับผิดชอบของครูประจําชั้น แต่มีผู้เชี่ยวชาญเป็นครูสอนเสริม
ชั้นเรียนพิเศษและชั้นเรียนปกติ
นักเรียนเรียนชั้นเรียนพิเศษและเข้าเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติมากน้อยตามความเหมาะสมโดยอาจเรียนร่วมในบางวิชา
ชั้นเรียนปกติเต็มวัน
บริการทางอ้อมสําหรับครู
การฝึกอบรมครูประจําการในเรื่องต่างๆ
บริการทางอ้อมสําหรับนักเรียน
เด็กพิเศษอาจได้รับบริการ สื่อวัสดุ อุปกรณ์ที่จําเป็น
นักเรียนเรียนในชั้นปกติเต็มเวลา โดยอยู่ในความรับผิชอบของครูประจําชั้น
ชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนปกติ
นักเรียนเรียนในชั้นเรียนพิเศษในเวลาร่วมกับเพื่อนพิการ ประมาณ 5-10 คน มีครูประจําชั้นเป็นผู้สอนเองทุกวิชา
การจัดการศึกษาแบบโรงเรียนเฉพาะความพิการ
เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของโรงเรียนศึกษาพิเศษเฉพาะประเภทความพิการแต่ละประเภทโดยจัดในทุกระดับ มีการจัดทําหลักสูตรเฉพาะประเภทความพิการที่สอดคล้องกับความต้องการจําเป็นของแต่ละกลุ่ม
การจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
แนวคิดและปรัชญา
จะต้องร่วมมือกันระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน โดยปลูกฝังด้านจิตสํานึกและเจตคติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้แก่เด็กทุกคน
ปรัชญาของการศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาเพื่อทุกคน(Education for All) เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความแตกต่างทั้งในด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม
หลักการศึกษาแบบเรียนรวม
เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนมีสิทธิที่จะเรียนรวมกัน
ทฤษฎีของการศึกษาแบบเรียนรวม
เด็กทั้งหมดควรอยู่ร่วมกันตามปกติ โดยไม่มีการนําเด็กพิเศษออกจากชุมชนมารวมกันเพื่อรับการศึกษาที่เป็นการขัดแย้งกับธรรมชาติ นําบุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กมาทํางานร่วมกัน
รูปแบบศึกษาแบบเรียนรวม
เป็นการจัดการศึกษาสําหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจํากัดน้อยที่สุด จะมีบรรยากาศที่เป็นจริงตามสภาพของสังคมในปัจจุบัน
หลักการการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
2. องค์ประกอบด้านจิตวิทยา
สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด
3. องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
1. องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา
สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทํางานผิดปกติของระบบการทํางานของร่างกาย
กระบวกสอนเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
เริ่มจากการสังเกตุพฤติกรรมทั่วไป และท าการประเมินความสามารถพื้นฐานของเด็ก เพื่อจัดวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP : Individual Education Program)
การจัดการศึกษานอกโรงเรียน
จัดกลุ่มการเรียนและส่งครูอาสาเข้าไปสอน เน้นการเรียนรู้ตามหลักสูตรระดับต่างๆ ภาครัฐร่วมกับภาคเอกชน
การจัดการศึกษาโดยครอบครัว
มีงานวิจัย บ่งชี้ว่า เด็กที่เรียน “Home School” มีผลสัมฤทธิทางกาiเรียนดีกว่าเด็กทั่วไป
ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
“Home School” มีความหลากหลาย
ปัจจัยที่ทําให้เกิด Home School
ปัญหาความไม่เหมาะสมของการศึกษาที่รัฐจัดให้หรือปรัชญาความเชื่อทางการศึกษาส่วนบุคคลของพ่อแม่
องค์กรรัฐ ทําหน้าที่ กํากับ สนับสนุน ตรวจสอบ โดยมีการสนับสนุนทั้งวิชาการและทรัพยากร
การจัด
“โรงเรียนในบ้าน”
หรือ
“Home School”
เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีแบบแผน โดยกิจกรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบ้าน
การจัดการศึกษาโดยชุมชน
การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ รวมทั้งการสร้าง โอกาสและพิทักปกป้องสิทธิต่างๆ ของคนพิการในความดูแล ชุมชน องค์กร เอกชน ได้แก่ กลุ่มบุคคล ชมรม สมาคม มูลนิธิ