Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภัยธรรมชาติ, หลุมยุบ, สมาชิก
1.ด.ช.เตวิช กิติศักดิ์รณกรณ์
เลขที่8
2.ด.ช…
ภัยธรรมชาติ
น้ำท่วม
น้ำป่าไหลหลาก
กระบวนการเกิดน้ำป่าไหลหลากหรือน้ำท่วมฉับพลัน มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ ภูเขาต้นน้ำ อันเกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้จำนวนน้ำ สะสมมีปริมาณมากจนพื้นดินและต้นไม้ดูดซับไม่ไหว ทำให้น้ำไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ำเบื้องล่าง อย่างรวดเร็ว มีอำนาจทำลายล้างอย่างรุนแรง ทำให้บ้านเรือนพังเสียหายและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ขวางทางน้ำไหลถูกพัดพาให้เคลื่อนที่ไปหรือพังทลายไป
น้ำท่วมขัง
กระบวนการเกิดน้ำท่วมหรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมากที่ ไหลบ่าในแนวระนาบจากที่สูงไปยังที่ต่ำ เข้าท่วมอาคารบ้านเรือน เรือกสวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือ เป็นสภาพน้ำท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล
ผลกระทบจากน้ำท่วมขัง เกิดความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้ทรัพย์สินที่ถูกน้ำท่วมขังเกิดความเสียหาย ประชาชนไร้ที่อยู่ชั่วคราว ขาดรายได้จากการประกอบอาชีพ มีผลต่อสุขภาพทางกายและจิตใจ
น้ำล้นตลิ่ง
กระบวนการเกิดน้ำล้นตลิ่ง เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่างหรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมเรือกสวนไร่นาตามสองฝั่งน้ำ จนได้รับความเสียหาย
ผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งบ้านเรือน ถนน และสิ่งปลูกสร้างได้รับความเสียหาย ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากขาดสิ่งอุปโภค บริโภค และเมื่อน้ำลดลงจะพบตะกอนที่น้ำพามา ทำให้สภาพแวดล้อมแตกต่างไปจากเดิม
แผ่นดินทรุด
กระบวนการเกิดแผ่นดินทรุด คือ ธรณีพิบัติภัยประเภทหนึ่ง ที่เกิดจากพื้นผิวดินพังทลายเป็นหลุม เกิดจากน้ำในโพรงใต้ดินเหือดแห้ง หรือลดลงจากกระบวนการธรรมชาติ และการสูบน้ำบาดาลของมนุษย์
นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการกดทับของน้ำหนักจากชั้นผิวดิน เช่นการมีอาคารก่อสร้าง เมื่อบวกกับแรงดันน้ำใต้ดินที่ลดลง รวมไปถึงดินตะกอนที่อยู่ลึกลงไปจากผิวดิน เป็นดินตะกอนประเภทไม่แข็งตัว ได้แก่ ดินเหนียว ดินทราย เป็นต้น ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดปัญหาทรุดตัวของดินได้
-
ผลกระทบของการเกิดแผ่นดินทรุดอาจทำให้บ้านเรือนเสียหาย เกิดการเปลียนถิ่นที่อยู่อาศัย เพราะการทรุดตัวลงอาจทําให้พื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับนำ้ทะเล เช่น กรุงเทพมหานคร เกิดความเสียหายได้ นอกจากนั้น การทรุดลงเฉียบพลันอาจก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้
-
การกัดเซาะชายฝั่ง
'กระบวนการเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง** คือ การเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลที่เกิดขึ้นตลอดเวลาจากการกัดเซาะของคลื่นและลม ทำให้ตะกอนบริเวณชายฝั่งจากตำแหน่งหนึ่งเคลื่อนที่ไปสะสมตัวในอีกตำแหน่งหนึ่ง ทำให้แนวชายฝั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไป บริเวณที่มีปริมาณตะกอนเคลื่อนที่เข้ามาเติมเต็มชายฝั่งน้อยกว่าปริมาณตะกอนที่เคลื่อนที่ออกไปจากชายฝั่ง โดยสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งแบ่งได้เป็น สาเหตุหลัก2ประเภทคือ
-
-
-
-
-
-
- การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยกระบวนการตามธรรมชาติ
-
-
-
-
ผลกระทบ คือ ทำให้เกิดการสูญเสียที่ดิน ที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต สิ่งปลูกสร้างบริเวณชายฝั่ง เกิดผลทางเศรษฐกิจ(ภาคการท่องเที่ยว)รวมถึงทำให้ระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งมีการเปลี่ยนแปลง
-
แผ่นดินถล่ม
กระบวนการเกิดดินถล่ม
- เมื่อฝนตกหนักน้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัว แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินจะลดลง
- ระดับน้ำใต้ผิวดินสูงขึ้นจะทำให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง เมื่อมีการเปลี่ยนความชัน ก็จะเกิดเป็นน้ำผุดและเป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน
-
ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินถล่ม
1.เป็นการเร่งให้หน้าดินถูกชะล้างพังทลายเพิ่มขึ้น เมื่อมากๆเข้าป่าจะขาดความอุคมสมบูรณ์ ฝนตกน้อยลงเพราะความชื้นจากป่าลดลง ต้นน้ำจะถูกทำลายตามมา จึงเกิดภาวะแห้งแล้งเพิ่มขึ้นหากไม่รีบป้องกันและแก้ไข
2.เมื่อป่าลดลง สัตว์ป่าก็ลดลงระบบนิเวศน์จึงค่อยๆเสียสมดุล 3.เกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน จึงเกิดความกลัวซึ่งมีผลต่อ
-
หลุมยุบ
กระบวนการเกิดหลุมยุบ หลุมยุบจากธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการละลายของชั้นหินด้วยสารละลายที่เป็นกรดหรือน้ำฝนที่เป็นกรดไหลซึมลงใต้ดิน เมื่อหินจำพวกคาร์บอเนต เช่น หินปูน หินโดโลไมต์ ทำปฏิกิริยากับน้ำสารละลายกรดก็จะเกิดการละลายกลายเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้ผิวดิน
-
ผลกระทบของการเกิดหลุมยุบ
- กำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้ ประตู/ หน้าต่างบิดเบี้ยว
- มีต้นไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และพืชผัก เหี่ยวเฉาเป็นบริเวณแคบๆ หรือเป็นวงกลม เนื่องจากการสูญเสียความชื้นของชั้นดินลงไปในโพรงใต้ดิน
- น้ำในบ่อ สระ เกิดการขุ่นข้น หรือเป็นโคลน โดยไม่มีสาเหตุ
- อาคาร บ้านเรือนทรุด มีรอยปริแตกบนกำแพง พื้น ทางเดินเท้า และบนพื้นดิน
-
สมาชิก
1.ด.ช.เตวิช กิติศักดิ์รณกรณ์
เลขที่8
2.ด.ช.รัฐภูมิ มณีรัตน์ เลขที่23
3.ด.ญ.กรกนก คชคีรีเดชไกร เลขที่26
4.ด.ญ.ศิรประภา หิตะพงศ์
เลขที่ 42
5.ด.ญ.สิริกร วงศ์ธนะรักษ์
เลขที่44