Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พืชสมุนไพร - Coggle Diagram
พืชสมุนไพร
กัญชาทางการแพทย์
(Medical Cannabis)
ขอบเขตเนื้อหาในการบรรยาย
คำจำกัดความของ “กัญชาทางการแพทย์”
หลักการการนำสารสกัดกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
“กัญชา” กับ “กัญชง” ต่างกันอย่างไร
สารสำคัญในกัญชาที่นำมาใช้ในทางการแพทย์
ระบบกัญชาในร่างกาย (endocannabinoid system)
โรคและภาวะที่ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์
สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบก่อนเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ที่มีในประเทศไทย
ผลข้างเคียงและภาวะพิษเฉียบพลันจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
ข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบ
ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
อันตรกิริยาระหว่างยากับสารส าคัญในกัญชา
ตัวอย่างแหล่งข้อมูลคำแนะนำการใช้กัญชาทางการแพทย์
หมายถึง สิ่งที่ได้จากการสกัดพืชกัญชา เพื่อนำสารสกัดที่ได้ มาใช้
ทางการแพทย์และการวิจัย ไม่ได้หมายรวมถึงกัญชาที่ยังคงมีสภาพ-เป็นพืช หรือส่วนประกอบใดๆ ของพืชกัญชา อาทิ ยอดดอก ใบ ลำต้นราก เป็นต้น
สารสำคัญในกัญชา : Key Message
สารที่พบในกัญชามี > 500 ชนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ cannabinoids
(> 100 ชนิด), terpenoids (> 200 ชนิด) และ flavonoids
THC และ CBD เป็นสารในกลุ่ม cannabinoids
Cannabinoids ถูกผลิตที่ glandular trichome ซึ่งพบมากที่สุดใน
ส่วนช่อดอกตัวเมีย (ปริมาณ THC พบในส่วนดอกตัวเมีย 10-12% รองลงมาพบที่ใบ 1-2%)
Terpenoids (terpenes) เป็นสารที่ให้กลิ่น (กลิ่นมีความจำเพาะใน
แต่ละสายพันธุ์ของกัญชา)
Flavonoids มีผลต่อสีและกลิ่นของกัญชา
Endocannabinoid System: Key Message
ควบคุมระบบต่างๆ ในร่างกายเพื่อให้เกิดความสมดุล โดยผ่านการ
ควบคุมการทำงานของ cannabinoid receptors หลัก 2 ชนิด คือ
CB1 receptors พบมากที่สมองและระบบประสาทส่วนปลาย
CB2 receptors พบมากที่ระบบภูมิคุ้มกันและระบบเลือด
Endocannabinoid system ถูกกระตุ้นได้ด้วย
Endocannabinoids ได้แก่ anandamide (AEA) และ 2-arachidonoyl-glycerol (2-AG)
Phytocannabinoids ได้จากการสกัดพืชกัญชา เช่น THC, CBD
Synthetic cannabinoids เช่น dronabinol เป็น THC ชนิดสังเคราะห์
ตำรับยากัญชาแผนไทยและน้ำมันกัญชาตำรับหมอพื้นฐาน
ยาศุขไสยาศน์
ข้อบ่งใช้
ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร
รูปแบบยา
ยาผง แคปซูล
ขนาดและวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 1-2 กรัม วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
ยาทำลายพระสุเมรุ
ข้อบ่งใช้
แก้ลมจุกเสียด เมื่อขบตามร่างกาย เเก้ปวดกล้ามเนื้อ คลายกล้ามเนื้อที่เเข็งเกร็งจากโรคลมอัมพฤกษ์ อัมพาต
รูปแบบยา
ยาผง ยาเเคปซูล
ขนาดเเละวิธีใช้
รับประทานครั้งละ 2 กรัม ครั้งละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นก่อนอาหาร
น้ำมันกัญชา
สรรพคุณ
ตามคำสั่งของแพทย์แผนไทย และเเพทย์แผนไทยประยุกต์
รูปแบบยา
ยาน้ำมัน
ขนาดและวิธีใช้
รับประทานขนาด 1 หยด ทางปาก แล้วปรับขนาดใช้ ตามคำสั่งของแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์
กรณีศึกษาผู้ป่วยที่ศูนย์พิษวิทยาศิริราช:
ภาวะพิษเฉียบพลันจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
ผู้ป่วยชายไทยอายุ 29 ปี ไม่มีประวัติโรคประจำตัว
ลองน าน้ำมันกัญชาของเพื่อนมาหยดใต้ลิ้น ประมาณ 4-5 หยด
หลังจากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจเร็ว วิงเวียนศีรษะ
V/S: HR 140 beats/min, RR 26 times/min, BP 137/64 mmHg,
T 36.8 °C
Coma score: E4V5M6
Pupill: 4 mm reactive to light both eyes
EKG: sinus tachycardia
ต่อมา HR 100 beats/min, RR 20 times/min, BP 106/64 mmHg
ข้อสังเกตจากกรณีศึกษาผู้ป่วยที่เกิดปัญหาจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
เป็นภาวะพิษเฉียบพลัน (acute toxicity)
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เริ่มใช้เป็นครั้งแรก
ผู้ป่วยบางรายเกิดปัญหา เพราะลองปรับเพิ่มขนาดเอง
ส่วนมากแจ้งว่าได้รับผลิตภัณฑ์กัญชามาจากเพื่อนบางรายสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์
ไม่ทราบปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์กัญชา
ภาวะพิษเฉียบพลัน (acute toxicity) จากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
คลื่นไส้/อาเจียน
ปากแห้ง
แน่นหน้าอก
เจ็บหน้าอก
วิงเวียนศีรษะ
ง่วงซึม
รู้สึกหวาดกลัว หวาดระแวง
ก้าวร้าว
หัวใจเต้นผิดจังหวะ (atrial fibrillation, ventricular tachycardia)
ภาวะหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction)
ข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบ
ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสกัดกัญชา ซึ่งอาจเกิดจากส่วนประกอบอื่นๆและ/หรือสารที่เป็นตัวทำละลาย (solvent) ที่ใช้ในการสกัด
ผู้ที่มีอาการรุนแรงของ unstable cardio-pulmonary disease (angina,peripheral vascular disease, cerebrovascular disease และ arrhythmia) หรือ มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
ผู้ที่เป็นโรคจิตมาก่อน หรือ มีอาการของโรคอารมณ์แปรปรวน (concurrentactive mood disorder) หรือ โรควิตกกังวล (anxiety disorder)
หลีกเลี่ยงการใช้ในสตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมถึงสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือสตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์เนื่องจากมีรายงานการศึกษาพบว่ามีทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย รวมถึงพบ cannabinoids ในน้ำนมแม่ได้
ข้อควรระวังในการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
การสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่มี THC เป็นส่วนประกอบในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีเนื่องจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสมองที่กำลังพัฒนาได้ ดังนั้นผู้สั่งใช้ควรวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนการสั่งใช้ผลิตภัณฑ์จากกัญชา
ผู้ที่เป็นโรคตับ
ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
ผู้ใช้ยาอื่นๆ โดยเฉพาะยากลุ่ม opioids และยากล่อมประสาท อาทิ benzodiazepines
ผู้ป่วยเด็กและผู้ป่วยสูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอในสองกลุ่มนี้ (กระบวนการ metabolism ของผู้สูงอายุจะช้ากว่า จึงดูเหมือนว่ามีการตอบสนองต่อกัญชาได้สูงกว่า ดังนั้นการใช้จึงควรเริ่มต้นในปริมาณที่น้อยและปรับเพิ่มขึ้นช้าๆ)
อันตรกิริยาระหว่างยากับสารสำคัญในกัญชา
ยาอื่นส่งผลให้ระดับของ THC และ CBD ในเลือดเปลี่ยนแปลง
THC และ CBD มีฤทธิ์เปลี่ยนแปลงระดับยาอื่น
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน
ระบบทางเดินอาหาร
โรคกระเพาะอาหาร :
กล้วยน้ำว้า ขมิ้นชัน
ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด :
ขมิ้นชัน ขิง กะเพรา กานพลู
กระชาย กระเทียม กะทือ กระวาน ข่า พริกไทย ตะไคร้ ดีปลี มะนาว เร่ว หญ้าแห้วหมู
ท้องผูก :
คูน ขี้เหล็ก ชุมเห็ดเทศ มะขามแขก มะขาม แมงลัก
ท้องเสีย :
ฟ้าทะลายโจร กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง ทับทิม
มังคุด สีเสียดเหนือ
คลื่นไส้ อาเจียน :
ขิง ยอ
โรคพยาธิลำไส้ :
ฟักทอง มะเกลือ มะหาด เล็บมือนาง
ปวดฟัน :
แก้ว ข่อย ผักคราดหัวแหวน
เบื่ออาหาร :
ขี้เหล็ก บอระเพ็ด มะระขี้นก สะเดาบ้าน
ระบบทางเดินหายใจ
ไอ ระคายคอ มีเสมหะ :
ขิง ดีปลี เพกา มะขาม มะขามป้อม มะนาว มะแว้งเครือ มะแว้งต้น
ระบบทางเดินปัสสาวะ
อาการขัดเบา
(มีอาการปัสสาวะขัด ไม่คล่อง แต่ไม่รุนแรงถึงมีอาการบวม) : กระเจี๊ยบแดง ขลู่ ตะไคร้สับปะรด หญ้าคา อ้อยแดง
กลุ่มโรคผิวหนัง
กลาก เกลื้อน :
ทองพันชั่ง พลูกระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ
ชันนะตุ :
มะคำดีควาย
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก :
ว่านหางจระเข้บัวบก มะพร้าว
ฝี แผลพุพอง :
ขมิ้นชัน ชุมเห็ดเทศ เทียนบ้าน ว่านหางจระเข้
ว่านมหากาฬ ฟ้าทะลายโจร
อาการแพ้อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย :
พญายอ ขมิ้นชัน ตำลึง
ผักบุ้งทะเล เสลดพังพอน
ลมพิษ :
พลู
งูสวัด เริม :
พญายอ
กลุ่มโรคและอาการเจ็บป่วยอื่นๆ
เคล็ด ขัดยอก (ใช้ภายนอก) :
ไพล
อาการนอนไม่หลับ :
ขี้เหล็ก
อาการไข้ :
ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด
หิด เหา :
น้อยหน่า
สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน : Key Message
เป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายและพบได้ทั่วไปในประเทศ
ง่ายต่อการนำไปใช้บรรเทาอาการหรือรักษาโรคทั่วไปที่ไม่มีอันตราย
การนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจะต้องคำนึงถึงการเลือกสมุนไพรให้ถูกชนิดและถูกส่วนของสมุนไพร รวมถึงการใช้ให้ถูกขนาดถูกวิธี และถูกโรค
สมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
ยาพัฒนาจากสมุนไพร เป็นสมุนไพรเดี่ยวที่มีรายงาน
การศึกษาวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ จำนวน 24 รายการ
ยาฟ้าทะลายโจร
ขนาดและวิธีใช้ยาฟ้าทะลายโจร
บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ
: รับประทานครั้งละ 1.5 – 3 กรัม
วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
บรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่ เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระ ไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปน
: รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม – 2 กรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อห้ามใช้ของยาฟ้าทะลายโจร
ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร
ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้เกิด
ทารกวิรูปได้
ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรส าหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง และหนาวสั่น
ข้อควรระวังการใช้ยาฟ้าทะลายโจร
หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
หากใช้ติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่าง - ใช้ยา ควรหยุดใช้และพบแพทย์
ควรระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants)
และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
ควรระวังการใช้ร่วมกับยาลดความดันเลือดเพราะอาจเสริมฤทธิ์กันได้
อาการไม่พึงประสงค์ของยาฟ้าทะลายโจร
อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้
ยาขมิ้นชัน
การใช้ยาขมิ้นชัน
ข้อบ่งใช้ :
บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ขนาดและวิธีใช้ :
รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม - 1 กรัม
วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อห้ามใช้ของยาขมิ้นชัน
ห้ามใช้กับผู้ที่ท่อน้ าดีอุดตัน หรือผู้ที่ไวต่อยานี้
ข้อควรระวังการใช้ยาขมิ้นชัน
ควรระวังการใช้กับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
ควรระวังการใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ยกเว้นภายใต้การดูแลของแพทย์
ควรระวังการใช้กับเด็ก เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิผลและความ
ปลอดภัย
ควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulants) และยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelets)
ควรระวังการใช้ร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด เช่น doxorubicin,
chlormethine, cyclophosphamide และ camptothecin เนื่องจาก อาจมีผลต้านฤทธิ์ยาดังกล่าว
ยาแผนโบราณหรือยาแผนไทย เป็นตำรับยาที่มีการ
ใช้กันมาดั้งเดิม จำนวน 50 ตำรับ