Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิต และสิ่งแวดล้อม, นางสาวสมฤทัย แหวนวงษ์ …
ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิต
และสิ่งแวดล้อม
พลังงาน (Energy)
เป็นปัจจัยสําคัญต่อการดํารงชีวิตของมนุษย์และจําเป็นต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งมีอยู่จํากัดได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน
ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้นตามการเพิ่มของประชากรโลก
สภาพความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อม (Environmental degradation)
มีสาเหตุมาจากการผลิตและการใช้พลังงานของมนุษย์แทบทั้งสิ้น
นักสิ่งแวดล้อมได้กล่าวถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรพลังงานไว้หลายด้าน
สุขภาพอนามัย
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย
การทําลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต
การเกิดมลภาวะทั้งทางดิน น้ํา และอากาศ
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นทั้งจากขั้นตอนการผลิตและการใช้พลังงาน
ผลกระทบที่สําคัญที่สุด
การที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อน
การใช้พลังงานมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่แตกต่างกัน
ระดับปัญหาสิ่งแวดล้อม
นักสิ่งแวดล้อมแบ่งระดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามขนาดความเสียหาย และจํานวนคนที่ได้รับผลกระทบดังนี้
ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับประเทศหรือภูมิภาค (Regional environmental issues)
อาจจะเกิดปัญหาระดับท้องถิ่นมาก ๆ สะสมหรือรวมกัน
เกิดกับคนหมู่มากในบริเวณกว้าง
เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงค่อนข้างมาก
เช่น
การค้ายาเสพติด
การลักลอบค้าน้ํามันเถื่อน
ปัญหาน้ําท่วม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก (Global environmental issues)
เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีความรุนแรงมหาศาล
กระทบกระเทือนต่อสิ่งมีชีวิต คนและสภาพแวดล้อมทั่วโลก
ซึ่งเกิดจากปัญหาระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคสะสมรวมกันมากขึ้นจนยากจะแก้ไข
จะแก้ไขได้ต้องมีการร่วมมือกันของคนทั่วโลก เช่น
การเกิดภาวะโลกร้อน
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของโลก
ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่น (Local environmental issues)
เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีขนาดความรุนแรงไม่มาก
กระทบกระเทือนต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียง
แก้ไขได้ไม่ยุ่งยาก
เช่น
การปล่อยเขม่า ควัน เสียงดัง ของโรงสีข้าวในชนบท
การทิ้งขยะส่งกลิ่นเหม็นในชุมชน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากพลังงาน
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงาน (Environmental impact of energy consumption)
การคมนาคมขนส่ง
การทํางานของเครื่องยนต์ที่ใช้น้ํามันเบนซินจะปล่อยและควันเสียออกมา
เครื่องยนต์ที่มีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์
ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์
และสารไฮโดรคาร์บอน (HC)
อุตสาหกรรม
เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้น้ํามันเตาและถ่านหินลิกไนต์ซึ่งมีปริมาณกํามะถันสูง
ก่อให้เกิด
ฝุ่นละออง
ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ผลกระทบจากประเภทของพลังงานที่ใช้ (Environmenta impact of the type of energy used)
การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ
พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานได้เปล่าจากธรรมชาติ
สามารถนํามาผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีต้นทุนต่ําได้แต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
หากเป็นการตั้งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของแผ่นดินได้
สารเคมีอันตรายที่ละลายปนอยู่อาจปนเปื้อนระบบน้ําบาดาลหรือน้ําผิวดิน เช่น สารหนู ปรอท เป็นต้น
มีก๊าซอันตราย เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ และก๊าซอื่นๆ ระเหยออกมาด้วย ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
มีไอน้ําร้อนที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าจํานวนมาก จะทําให้เกิดความร้อนตกค้างในอากาศ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่อยู่ใกล้เคียง
การใช้ถ่านหินลิกไนต์
มีทั้งการทําเหมืองและการเผาไหม้แเนื่องจากสมบัติและองค์ประกอบของถ่านหินเอง
ได้แก่
เกิดน้ําเสียจากบ่อเหมือง
น้ํากระด้าง
น้ํามีสารแขวนลอย และซัลเฟตสูง
เมื่อสารในฝุ่นละอองตกลงสู่พื้นสะสมอยู่บนผิวดิน ทําให้สิ่งมีชีวิตในหน้าดินเสียสมดุล
ปลูกพืชไม่ได้
การทําเหมืองมีการทําลายป่าไม้
การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
การเผาไหม้ปิโตรเลียมจะก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ
โดยการปล่อยไอเสียออกมาจากปล่องควันของโรงงานอุตสาหกรรม
สารพิษดังกล่าวคือ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
คาร์บอนไดออกไซด์
สารไฮโดรคาร์บอน
เขม่า และฝุ่นละออง
การใช้กังหันลม
ถึงแม้การใช้พลังงานลมจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะร้ายแรงใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม
แต่ในการพัฒนาแหล่งพลังงานชนิดนี้มาใช้เป็นพลังงานทดแทนนั้นควรคํานึงถึง
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
ผลต่อทัศนียภาพเนื่องจากต้องใช้กังหันขนาดใหญ่ อาจบดบังส่วนต่าง ๆ ของพื้นที่ไป
การเกิดมลภาวะทางเสียง เมื่อใบพัดขนาดใหญ่ทํางานจะเกิดเสียงดังมากรบกวนผู้อยู่ใกล้เคียง
ค. การรบกวนคลื่นวิทยุซึ่งเกิดจากใบพัดของกังหันที่ส่วนใหญ่ทําจากโลหะเมื่อกังหันหมุนจะทําให้เกิดการรบกวนคลื่นวิทยุและโทรทัศน์ในระยะ1–2 กิโลเมตร
ผลกระทบต่อระบบนิเวศ เมื่อติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่อาจทําให้สิ่งมีชีวิตใกล้เคียงอพยพไปหาที่อยู่ใหม่
เนื่องจากแหล่งอาศัยเดิมถูกทลาย
การใช้พลังงานนิวเคลียร์
รังสีที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์อาจรั่วไหลซึ่งเป็นอันตรายมาก
ถ้าเกิดการระเบิด ฝุ่นรังสีจะฟุ้งกระจาย
ทําอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทันทีทันใด และเกิดผลกระทบระยะยาว
ผลกระทบจากขั้นตอนการผลิต (Environmental impact of energy production)
การใช้พลังน้ําเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
ถึงแม้จะจัดเป็นพลังงานสะอาด และราคาต้นทุนต่ํา
แต่การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ําต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้เพื่อใช้เป็นอ่างเก็บน้ําเหนือเขื่อน
ราษฎรในพื้นที่น้ําท่วมต้องอพยพย้ายที่ตั้งถิ่นฐานใหม่
สัตว์ป่าสูญเสียที่อยู่อาศัยหรืออาจสูญพันธุ์ไป
แร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่อาจถูกทิ้งให้จมอยู่ใต้น้ํา
โดยไม่มีโอกาสนําขึ้นมาใช้ประโยชน์อีกเลย
กระบวนการผลิตน้ํามันและก๊าซธรรมชาติ
การขุดเจาะน้ํามันและก๊าซธรรมชาติมักจะประสบปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งขุดเจาะ
เช่น การขุดเจาะที่แหล่งสิริกิติ์ ได้พบปัญหาน้ําโคลน เศษหิน ดินทราย
รวมทั้งการปนเปื้อนของน้ํามันดิบต่อพื้นที่บริเวณโครงการและพื้นที่ใกล้เคียง
มีสารพิษบางประเภทที่ใช้เป็นวัสดุหล่อลื่นในการขุด
ปะปนออกมาด้วย เช่น ปรอท (Hg) แคดเมียม (Cd) และ โครเมียม (Cr)
การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์และน้ํามันเตา
ก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศมาก
เถ้าลอยที่เกิดจากการเผาไหม้จะก่อให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงยังทําให้เกิดออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX)
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์(CO)
นอกจากนี้เหมืองลิกไนต์จะก่อให้เกิดมลภาวะต่อแหล่งน้ําใต้ดินอีกด้วย
โรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ
ซึ่งมลภาวะที่เกิดขึ้นได้ส่งผลให้สภาพอากาศแปรเปลี่ยนไปจากเดิม
กระทบต่อสุขภาพประชาชนที่อาศัยอยู่รอบโรงไฟฟ้า
และทําให้เกิดความเสียหายต่อพืชและสัตว์เลี้ยง
ภาวะโลกร้อน (Global warming)
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
ด้านเศรษฐกิจ
ธุรกิจท่องเที่ยวทางทะเลที่สําคัญจะสูญเสียรายเนื่องจากชายฝั่งเกิดการกัดเซาะ
และแนวประการับสูญหายไป ในทวีปเอเชียมีโอกาส 66-90 % ที่อาจเกิดฝนและมรสุมรุนแรง
รวมถึงเกิดความแห้งแล้งในฤดูร้อนที่ยาวนานทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2532-2545
ประเทศไทยเกิดความเสียหาย จากอุทกภัย พายุ และภัยแล้ง คิดเป็นมูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจมากกว่า 70,000 ล้านบาท
ผู้คนนับล้านจะได้รับผลกระทบจากระดับน้ําทะเลที่สูงขึ้น
และแหล่งน้ําจะถูกใช้จนหมดหรือเค็มจนไม่สามารถดื่มได้
ด้านสุขภาพ
ภาวะโลกร้อนขึ้นทําให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรค
โรคเขตร้อนที่มียุงเป็นพาหะนําโรคจะแพร่กระจายไปยังเขตอบอุ่นได้เชื้อโรคที่ฟักตัวได้ดี
โรคที่จะมีการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
โรคมาลาเรีย
อหิวาตกโรคและอาหารเป็นพิษ
นักวิทยาศาสตร์ในที่ประชุมองค์การอนามัยโลก แถลงว่า
ในแต่ละปีจะมีประชาชนราว 160,000 คน เสียชีวิตเพราะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและตัวเลขผู้เสียชีวิตนี้อาจเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตัวในอีก 17 ปีข้างหน้า
เด็กในประเทศกําลังพัฒนาจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด
ลาตินอเมริกา
และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในประเทศแถบอัฟริกา
ด้านนิเวศวิทยา
ภาวะโลกร้อนทําให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
ฤดูร้อนจะยาวนานขึ้น ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง
ภูเขาน้ําแข็งบริเวณขั้วโลกได้รับผลกระทบ น้ําแข็งละลายอย่างรวดเร็ว
ทําให้เกิดน้ําท่วม แหล่งอาศัยของสัตว์น้ําเปลี่ยนแปลง
ทําให้สัตว์น้ําบางชนิดอาจไม่สามารถอยู่รอดได้
นักวิจัยคาดว่าในปี พ.ศ. 2643
อุณหภูมิของผิวโลกจะสูงขึ้นจากปัจจุบันราว 4.5 C
เนื่องจากคาดการณ์ว่าจะมีการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทนเพิ่มขึ้นถึง 63 % และ 27 %
ปะการังในมหาสมุทรอินเดียบริเวณหมู่เกาะต่าง ๆ จะเกิดการฟอกขาวและตายลง
จะเกิดพายุเฮอริเคนบ่อยขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่า
หากอุณหภูมิโลกยังคงสูงขึ้นสิ่งมีชีวิตหลายชนิดจะต้องอพยพย้ายถิ่น
และพื้นที่หลายแห่งในโลกยังมีความเสี่ยงต่อการกลายเป็นทะเลทราย
วิธีการแก้ไขและป้องกันภาวะโลกร้อน
วิธีการแก้ไขภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือยของมนุษย์ มีวิธีแก้ไขได้หลายวิธี ซึ่งในที่นี้ได้รวบรวมข้อมูลจากหลายแห่ง
ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์
ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะช่วยลดการใช้น้ํามันลงได้20%
การใช้หลอดไฟฟ้าแบบคอมแพคฟลูออเรสเซนต์
ช่วยประหยัดไฟฟ้าได้มากกว่าหลอดไส้ถึง 80%
การใช้ฝักบัวชนิดประหยัดน้ําแทนการอาบน้ําแบบตักน้ํา
สามารถลดปริมาณน้ําได้ถึง 25-75%
ใช้วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และอาหารที่ผลิตในท้องถิ่นหรือประเทศ
เพราะการขนส่งต้องใช้น้ํามันเป็นเชื้อเพลิงและยังปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์
ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
เช่น ป้ายฉลากเขียว ป้ายประหยัดไฟเบอร์5
และมาตรฐานผลิตภัณฑ์คุณภาพสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นต้น
นางสาวสมฤทัย แหวนวงษ์
รหัสประจำตัวนักศึกษา
643450255-9