Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเตรียมสมุนไพร - Coggle Diagram
การเตรียมสมุนไพร
วิธีเตรียมสมุนไพรแบบผงแห้ง
1 การเก็บสมุนไพรสด
มีผลต่อปริมาณสารสำคัญและสรรพคุณของสมุนไพร
ให้เก็บสมุนไพรที่มีอายุโตเต็มที่
พืชที่ใช้ใบ/ต้น🍃🪵 เก็บได้ทั้งปีโดยเด็ดใบที่โตเต็มที่ ยกเว้นพืชบางชนิดที่ใช้ใบ/ยอดอ่อน 🌱
พืชที่ใช้ดอก เก็บในช่วงที่ดอกเริ่มบาน บางชนิดเก็บช่วงดอกตูม สำหรับดอกที่มีน้ำมันหอมระเหยมากและต้องการกลิ่นหอมด้วย ควรเก็บในช่วงหัวค่ำ (18.00-19.00) หรือช่วงเช้ามืด เพราะน้ำมันหอมระเหยจะมากกว่า
พืชที่ใช้เปลือกต้น/เปลือกราก เก็บในช่วงปลายฤดูร้อน🔥ต่อกับฤดูฝน🌧 เพราะเปลือกจะลอกออกง่าย ควรเลือกกิ่งที่แยกออกจากลำต้นใหญ่ เพราะอาจทำให้พืชตายได้
พืชที่ใช้แก่น เก็บในช่วงฤดูร้อน🔥 ควรเก็บกิ่ง/แขนงย่อยที่โตเต็มที่
พืชที่ใช้ราก/หัว เก็บช่วงที่พืชหยุดการเติบโต ใบร่วงหมด/ช่วงลงหัว มักเป็นช่วงต้นฤดูหนาว❄️ถึงปลายฤดูร้อน🔥
2 การล้างสมุนไพรให้สะอาด 💧
โดยเฉพาะช่วงที่ขุดจากดิน ต้องล้างดินออกให้หมด ผึ่งในถาด/ตะแกรงสแตนเลสที่มีรูขนาดกลางให้สะเด็ดน้ำ หั่นให้มีขนาดเล็ก
3 อบหรือตากแห้ง
ใช้อุณหภูมิ 50 องศา
ผึ่งให้แห้ง ใช้กับพืชที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยผูกเป็นมัดเล็กๆ แขวนเชือก/ใส่ถาด วางไว้ในที่โปร่งไม่โดนแดดส่องโดยตรง มีลมพัด💨
ตู้อบแสงอาทิตย์ประหยัดพลังงาน ข้อเสียคือต้องได้รับแสงแดดโดยตรง ซึ่งอาจทำลายสารสำคัญบางชนิด
ตู้อบลมร้อนพลังงานไฟฟ้า แก๊ส ถ่าน ไม้ หรือแกลบ ข้อดีคืออุณหภูมิสม่ำเสมอ แต่ราคาสูง💸
4 การบดเป็นผง
อาจใช้เครื่องมือบดได้หลายชนิด หลังผ่านเครื่องบดแล้วให้นำไปผ่านแร่งเพื่อแยกผง โดยความละเอียดของผงขึ้นอยู่กับการนำใช้
แร่ง คือ ตระแกรงร่อนยา
ผ่านแร่งเบอร์ 60 ขึ้นไป ใช้สำหรับผง
ใช้สำหรับสกัดให้บดหยาบแทน ไม่จำเป็นต้องผ่านแร่ง
ถ้าใช้เครื่องบดที่มีตะแกรง ต้องใช้ตะแกรงหยาบที่สุด โดยใช้ตะแกรงไม่เกินเบอร์ 20
วิธีการเตรียมสมุนไพรแบบสารสกัด
1 การต้ม
สารสกัดที่ได้ เรียกว่า สารสกัดน้ำ/น้ำสกัด
1.1 ชั่งสมุนไพรสดหรือแห้ง ย่อยสมุนไพรให้มีขนาดเล็กพอประมาณ ห้ามบดละเอียด
1.2 เติมน้ำ3-5เท่าของน้ำหนัก ถ้าเป็นสมุนไพรสดให้ใช้น้อยกว่า โดยให้น้ำท่วมเกินสมุนไพร 5 นิ้ว ถ้าเป็นสมุนไพรแห้ง ให้แช่น้ำ 20นาทีก่อนนำขึ้นตั้งไฟปานกลางจนเดือด จับเวลาประมาณ30-45นาที เมื่อสีน้ำสกัดไม่เข้มแล้วให้ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง 3 ชั้น
1.3 นำกากมาต้มซ้ำเช่นเดิม และรวมน้ำสกัด 2 ครั้งเข้าด้วยกัน ตั้งไฟเคี่ยวต่อจนได้น้ำหนักที่ต้องการ นิยมให้น้ำหนักน้ำสกัดเท่ากับน้ำนหักสมุนไพร เพราะง่ายต่อการคำนวณสัดส่วน
1.4 ข้อเสีย ถ้าเก็บไว้นานอาจมีเชื้อแบคทีเรียหรือรา ทำให้บูดได้ง่าย แก้ไขได้2วิธี คือ เติมสารกันเสีย หรือ เคี่ยวให้เข้มข้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องระวังไม่ให้ไหม้ จากนั้นให้สรุปและเก็บข้อมูลไว้ศึกษาต่อไป
1.5 ปัจจัยที่ต้องควบคุม ได้แก่ อัตราส่วนของน้ำและสมุนไพร เวลาที่ใช้ต้ม รายละเอียดอื่นๆ เช่น น้ำหนักของสารสกัดต้องเท่าเดิม จดรายละเอียดเป็นรายงาน
2 การคั้นน้ำสด
สารสกัดที่ได้ เรียกว่า น้ำสกัด/น้ำคั้น
ต้องใช้สมุนไพรสด บีบเอาแต่น้ำ เหมากันสมุนไพรที่ทนร้อนไม่ได้
มีวิธีการเตรียมแยกเป็น 2 วิธี
น้ำคั้นผลไม้
เช่น น้ำส้มคั้น โดยใช้เครื่องคั้นน้ำผลไม้ เริ่มจากการล้างผิวนอกของผลไม้ ผ่าซีก บีบด้วยเครื่อง
น้ำคั้นใบ/เหง้า
เช่น ขมิ้น โดยใช้เครื่องปั่นน้ำผลไม้ เริ่มจากการปั่นสมุนไพรสดกับน้ำ จำนวนครึ่งเท่าของน้ำหนักสมุนไพรในเครื่อง จากนั้นกรองด้วยผ้าขาวบาง
ข้อเสีย คือการสกัดแบบนี้ สารสกัดจะไม่ค่อยคงตัว ต้องใช้สารกันบูด
การควบคุมคุณภาพ
คัดเลือกสมุนไพรที่มีอายุและขนาดเท่าเดิม
เครื่องมือที่ใช้ต้องทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ และทิ้งให้แห้งก่อนใช้ทุกครั้ง
จดน้ำหนักสมุนไพรที่ใช้,จำนวนน้ำที่ใช้ และน้ำหนักน้ำที่ได้หลังกรอง
เติมน้ำภายหลัง ให้ได้น้ำหนักประมาณ 30-50%ของน้ำหนักสด
3 การเคี่ยวในน้ำมันหรือการหุงน้ำมัน
ควรใช้น้ำมันปาล์ม/น้ำมันมะพร้าว ให้ใช้สมุนไพรสดหรือแห้ง 1-2เท่าของน้ำหนักน้ำมันพืช
3.1 ชั่งน้ำหนักสมุนไพรและน้ำมันพืช ยกขึ้นตั้งไฟปานกลาง
3.2 เมื่อน้ำมันพืชร้อน 100-150องศาเซลเซียส ใส่สมุนไพรลงไปทีละน้อย ทอดจนกรอบแล้วตักกากสมุนไพรทิ้ง ทำซ้ำจนหมด
3.3 กรองน้ำมันพืชด้วยผ้าขาวบาง 3 ชั้น จึงนำน้ำมันไปใช้
4 การสกัดด้วยแอลกอฮอล์
ตัวละลายที่ใช้ คือ เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นสารสกัดที่ได้สารเคมีจากพืชมากที่สุด
ข้อเสีย คือ ได้สารที่ไม่ต้องการติดมาด้วย และในการทำให้เข้ข้นต้องใช้เครื่องมือที่ราคาแพง จึงเหมาะสำหรับการสกัดในระดับอุตสาหกรรม
มีหลายวิธี ได้แก่
การสกัดแบบต่อเนื่อง
การสกัดแบบชง โดยใช้Percolator
การหมัก
การหมัก
เหมาะกับสารที่ไม่ทนความร้อน เช่น พญายอ ยาดองเหล้าของไทย🥃
เครื่องมือที่ใช้ = ถังหมัก เครื่องระเหยแห้งสุญญากาศ
4.1 ชั่งผงสมุนไพรสด/แห้งใส่ในถุงผ้า แช่แอลกอฮอล์ 2-3เท่าตัวในภาชนะปิด ทิ้งไว้7วัน โดยคนทุกวัน
4.2 กรองเอาส่วนน้ำ บีบสารละลายออกจากกาก แล้วเติมสารละลายเพื่อล้างกาก และหมักซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้ได้สารสกัดมากที่สุด
เอาสารสกัด 2ครั้งรวมกัน นำไปทำให้เข้มข้นด้วยเครื่องระเหยแห้งสุญญากาศ เพื่อป้องกันอันตรายต่อคนและสวล ห้ามนำไปทำให้เข้มข้นด้วยการตั้งไฟตรง เพราะแอลกอฮอล์ที่ระเหยออกจะกระจายในอากาศ
มี 2 ประเภท
แบบผงแห้ง🧺
แบบสารสกัด🧪