Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พัฒนาการทางแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม ขององค์กรธุรกิจในบริบท…
พัฒนาการทางแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
ขององค์กรธุรกิจในบริบทของศาสตร์ต่างๆ
ความเป็นมาของแนวคิด CSR
แนวคิดเรื่อง CSR เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในช่วงต้นทศวรรษ 1970 หลัง จากการก่อตัวของบรรษัทข้ามชาติ ซึ่งได้ทำให้ความหมายของ “ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย” (Stakehoder)
ในแนวคิดแรก เชื่อว่า CSR เป็นเรื่องของการพัฒนาบนพื้นฐานของ ชุมชน กล่าวคือ การดำเนินธุรกิจต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชุมชน ไม่ว่า จะเป็นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การไม่เอาเปรียบชุมชน CSR จึงถูกตีความ ไปในเรื่องของการบริจาคเพื่อการพัฒนาชุมชน
แนวคิดอีกกลุ่มหนึ่ง เขื่อว่า CSR เป็นเรื่องของกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อการ แข่งขันมากกว่า โดยการประชาสัมพันธ์ผลประโยชน์เพื่อสังคมเพื่อผล ประโยชน์ขององค์กรธุรกิจ
จากข้อความข้างต้น พอจะสรุปได้ว่า CSR เป็นเรื่องการคำนึงถึงประโยชน์ ของสาธารณะ ในขณะที่องค์กรธุรกิจต้องดำเนินการควบคู่กับเป้าหมายของ องค์กรซึ่งคือการแสวงหากำไรสูงสุดด้วยเช่นกัน
ความหมายของ CSR
องค์กรระดับนานาชาติให้นิยามเกี่ยวกับ CSR ว่าเป็นเรื่องการ พัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยองค์กรธุรกิจต้องมีจิตอาสาในการ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสังคมโดยรวม
กล่าวว่า CSR คือ แนวคิดที่ยริษัทผสานความห่วงใยต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมไว้ในกระบวนการดำเนิน ธุรกิจ และการมี ปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใต้พื้นฐานการกระทำด้วย ความสมัครใจ
โดยผู้บริหารจะต้องมีบทบาทเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ โดย สามารถวัดผลได้ใน 3 มิติ คือ การวัดทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่ง แวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
สรุปองค์ประกอบของ CSR จากนิยามทั้งหลายได้ 3 องค์ ประกอบ คือ
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกขั้นตอนของการดำเนินธุรกิจ
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงกว้าง
เป็นเรื่องของความสมัครใจที่จะรับชอบต่อสาธารณะ
ทฤษฎีเกี่ยวกับ CSR
โคลนอสกี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มทฤษฎีแนวหลักการเคร่งครัด
กลุ่มทฤษฎีทางศีลธรรม
กลุ่มทฤษฎีทางการเมืองและจริยธรรม
วินด์เซอร์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ
กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบขององค์กรธุรกิจในฐานะพลเมือง
กลุ่มทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบทางจริยธรรม
แกรีการ์และเมอเล่ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มมทฤษฎีที่เน้นด้านการเมือง
กลุ่มทฤษฎีที่เน้นด้านบูรณาการทางสังคม
กลุ่มทฤษฎีที่เน้นด้านเศรษฐกิจ
กลุ่มทฤษฎีที่เน้นด้านจริยธรรม
เมอเล่ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
ทฤษฎีการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม
จุดเด่นที่การศึกษาวิจัยแบบบูรณาการ และกลไกลการควบคุมทางสังคม
ทฤษฎีขาดการบูรณาการระหว่างหลักจริยธรรมกับกิจกรรมทางธุรกิจให้เป็น
รูปธรรม
ทฤษฎีผู้มีส่วนได้เสีย
จุดเด่นคือเน้นหลัก
จริยธรรมสูงสุด
จุดอ่อนคือองค์กรธุรกิจไม่สามารถกำหนดเป้าหมายขององค์กรเพื่อ
รองรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
ทฤษฎีคุณค่าของผู้ถือหุ้น
มีจุดเด่นที่การมุ่งเน้นประสิทธิภาพของการจัดการเพื่อสร้างความมั่นคงในสังคม
จุดอ่อนคือการกระ ทำทางธุรกิจไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของสาธารณะทั้งหมด
ทฤษฎีองค์กรธุรกิจในฐานะพลเมือง
จุดเด่นคือ การทำหน้าที่ขององค์กรที่ตอบสนองความต้องการของกระแสโลก
จุดอ่อนจากการตีความในมุมมองที่ค่อนข้างแคบ
บทวิเคราะห์
การศึกษาในเรื่อง CSR มีความสัมพันธ์และพัฒนาขึ้น จากศาสตร์ อย่างน้อย 4 สาขาสิชา คือ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา จริยศาสตร์และรัฐศาสตร์
องค์กรต่างๆ ที่นำแนวคิดไปใช้ต่างมั่งเน้น CSR ที่ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้องค์กร หรือการสร้างกิจกรรม เพื่อสังคมในรูปแบบที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจกรรมธุรกิจของ องค์กร
องค์ความรู้ทางด้านสังคมวิทยา ควรจะเข้ามามีบทบาท ในการสร้างความเข้าใจแก่สังคมว่า การทำงานตามแนวคิด CSR นั้น ไม่ใช่เพียงการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม หากแต่ แนวคิด CSR เป็นสิ่งที่สมาชิกในองค์กรทุกคนควรตระหนัก ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน