Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานภายใน, unnamed (2), รูปแบบ (Model)…
บทที่ 9 พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานภายใน
หลักคิดในการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามหลักคิดจีน การจัดการเรียนรู้ตามหลักคิดของจีนที่น่าสนใจคือขงจื๊อซึ่งเป็นครูคนแรกของประวัติศาสตร์จีน ขงจื๊อยึดหลักความคิดในการสอนที่ว่า “สอนตามความถนัดโดยธรรมชาติ”
การจัดการเรียนรู้ตามหลักอินเดีย
หลักการจัดการเรียนรู้ตามหลักคิดอินเดียที่น่าสนใจคือหลักคิดของรพินทรนาถ ฐากูร โดยเขามีความเห็นเกี่ยวกับการศึกษาว่าการศึกษาคือการพัฒนาคุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์และการศึกษาที่สมบูรณ์แบบอยู่ที่ “การรู้แจ้งถึงภาวะสูงสุดของการมีชีวิต”
การจัดการเรียนรู้ตามหลักคิดของพระพุทธศาสนา
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเพื่อเข้าถึงความจริงของชีวิตซึ่งจะก่อให้เกิดวิชาหรือความรู้แจ้งแห่งความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงและสอนให้รู้จักวิธีการดับทุกข์ให้ผลจากความไม่รู้จริงในธรรมชาติ ยังให้ความสำคัญของการเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
การจัดการเรียนรู้ตามหลักคิดไทย
1.แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้
2.แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่มและการเรียนรู้แบบร่วมมือ
3.แนวความคิดเกี่ยวกับความพร้อมในการเรียนรู้
4.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้กระบวนการ
5.แนวความคิดเกี่ยวกับการถ่ายโอนการเรียนรู้
หลักการพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้
หลักการใช้จิตวิทยาการเรียนรู้
การจะจัดการเรียนรู้อย่างไรกับกลุ่มผู้เรียนใด ครูผู้สอนต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาพัฒนาการ ทฤษฎีสมอง จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา เพื่อประกอบการตัดสิ้นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การที่ครูผู้สอนจะเลือกรูปแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้รูปแบบใด ต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการวัดและประเมินผลว่ามีวัตถุประสงค์อย่างไร เช่นต้องการวัดองค์ความรู้และทักษะปฏิบัติเบื้องต้นว่ามีเท่าใด ควรใช้รูปแบบการวัด (Test)ต้องการรู้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากน้อยแค่ไหนจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ใช้การประเมิน(Assessment) เทียบกับเกณฑ์ทีกำหนดต้องการทราบว่าผู้เรียนได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จนเกิดประโยชน์ด้วยการประเมินแบบมีส่วนร่วมจากการยอมรับ ชื่นชมและให้รางวัล
หลักการวางแผนและเตรียมจัดการเรียนรู้
ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความสามารถในการวางแผนการจัดการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนแต่ละศักยภาพ ทั้งนี้กระบวนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องต่อการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มผู้เรียน เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วย
หลักการพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสติปัญญาปานกลาง
กลุ่มนี้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ต้องได้รับคำชี้แนะ รูปแบบ วิธีการ จากครูผู้สอนภายใต้การให้กำลังใจการเรียนรู้จึงจะประสพผลสำเร็จ ความต้องการเรียนรู้เพื่อ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและเอื้อแก่ผู้อื่นรอบข้างได้
กลุ่มสติปัญญาสูง
กลุ่มนี้เป็นความหวังของสังคมประเทศชาติในการช่วยให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพในอนาคต กลุ่มนี้มีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยต่อยอดจากการเรียนรู้จากครูแต่ต้องการความเป็นอิสระในการเรียนรู้ การใช้ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ จินตนาการ ฉะนั้นจึงต้องการโอกาสและการให้ความสะดวกในการเรียนรู้อย่างหลากหลายรูปแบบไม่มีขีดจำกัด กลุ่มนี้มีเป้าหมายการเรียนที่ทำให้เกิดประโยชน์กับตนเองแล้วยังเพื่อผู้อื่นประเทศชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อม ใช้องค์ความรู้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นความหวังของทุกสังคม
กลุ่มสติปัญญาค่อนข้างอ่อน/เรียนรู้ช้า
กลุ่มนี้สามารถเรียนรู้ได้ต่อเมื่อได้รับการช่วยเหลือหรือสอนจากครูอย่างค่อยเป็นค่อยไปจึงจะเรียนรู้สำเร็จเป้าหมายการเรียนรู้เพียงช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่ต้อง
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
ผู้สอน
จำเป็นจะต้องศึกษาจากข้อมูลหลายประการ เพื่อนำมาช่วยเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้ของตน และการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ไม่ว่าระดับใด จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการดังต่อไปนี้
1.ผู้เรียน
2.บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน
ผู้เรียน
ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ครูผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถของสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ศักยภาพผู้เรียน
รูปแบบการจัดการเรียนรู้
การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่สู่ปัญญาภิวัฒน์ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หลากหลาย (Transactional Approach)
ผลการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิตอลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์และวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างยิ่งและรวดเร็ว ศักยภาพของประชาชนต้องได้รับการพัฒนาทักษะและวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ ในสังคมแห่งชีวะคุณธรรม (Bio-Ethic) การศึกษาถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยน มุมมอง วิธีคิด รูปแบบการให้การศึกษาแนวใหม่ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพของตนสู่ขีดจำกัดของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะผู้เรียนที่มีศักยภาพสูงเพื่อเป็นที่พึ่งของสังคมให้มีโอกาสเรียนรู้เต็มศักยภาพ โดยรูปแบบที่พัฒนาเน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่สังคม 4.0
การถ่ายทอดความรู้ (TransmissionApproach)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กันมานานเป้าหมายเพื่อสืบทอดความรู้ อารยะธรรม วัฒนธรรมประเพณี ทักษะฝีมือเพื่อให้คงอยู่ต่อไป ประกอบกับต้องการกำลังคนในระบบอุตสาหกรรมจึงเน้นความเก่ง คนเก่ง การถ่ายทอดใช้รูปแบบวิธีสอน (Teaching) การฝึกฝน (train) การกล่อมเกลาให้เกิดศรัทธาและเชื่อฟัง(Tame) ครูจะเป็นศูนย์กลางการจัดการเรียนรู้ (Teacher Centered Development) สำนักไหน โรงเรียนไหน หรือครูคนไหนเก่ง นักเรียนจะหลั่งไหลไปเรียน เกิดการแข่งขันการเข้าเรียนในโรงเรียนดัง เป็นค่านิยมของสังคมมานาน
การสร้างองค์ความรู้ (Trans formational Approach)
หรือ (Constructionist)
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าจะยกระดับศักยภาพของประชาชนให้พึ่งพาตนเองได้หลังจากที่พึ่งพาผู้อื่นโดยเฉพาะเจ้าของกิจการ รัฐบาล ฯลฯ มานานจนเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน การว่างงาน เกิดปัญหาสุขภาพ ฯลฯ โดยพยายามจะให้ผู้เรียนลดการเรียนรู้ที่ต้องพึงพาครู โรงเรียน หรือสถาบันไปสู่การพึ่งพาตนเองในการแสวงหาความรู้ โดยเน้นการเรียนรู้ผ่าน สื่อ (Media) นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี ( Technology)การเรียนรู้จะเน้นการเรียนรู้ด้วยตัวผู้เรียนเอง ภายใต้การอำนวยความสะดวกของครูผ่านสื่อและนวัตกรรมแต่อำนาจการจัดการยังเป็นอำนาจของครูแต่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทและส่วนร่วมมากขึ้น
บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้อต่อการเรียนรู้
บรรยากาศใฝ่รู้ใฝ่เรียนถือเป็นบรรยากาศทางจิตวิทยาที่สำคัญที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนครูผู้สอนต้องมีทักษะ ประสบการณ์และจิตวิทยาในการสร้างบรรยากาศ
ความหมายของการเรียนรู้
ดร.วิทยา พัฒนเมธาดา (2554:27-28)
“การเรียนรู้นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรของบุคคลอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต ทั้งจากการฝึกฝน การปฏิสัมพันธ์กับประสบการณ์รอบตัวและมีปริมาณองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น”
สิริอร วิชชาวุธ (2554:2)
ได้กล่าวว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ
1.มนุษย์ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงจากไม่รู้ เป็นรู้ ทำไม่ได้ เป็นได้ไม่เคยทำเป็นทำ
2.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างถาวร
3.การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น เกิดจากประสบการณ์การฝึกฝนและการฝึกหัด
สุรางค์ โค้วตระกุล (2550:186)
"การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน"
ประเภทของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง (Teacher-Centered Method)
วิธีสอนที่ครูเป็นผู้สอน ครูเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น ครูจะเป็นผู้ตั้งจุดมุ่งหมาย ควบคุมเนื้อหา จัดกิจกรรมและวัดผล เป็นต้น วิธีสอนแบบนี้ได้ แก่ วิธีสอนแบบบรรยาย วิธีสอนแบบสาธิต วิธีสอนโดยการทบทวน
วิธีสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child-Centered Method)
วิธีสอนที่ให้นักเรียนได้มีโอกาสเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้วางแผนบทเรียน ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ ครูเป็นเพียงผู้แนะแนวไปสู่การค้นคว้า แนะนำสื่อการเรียนจนนักเรียนได้ความรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ วิธีสอนแบบอภิปราย วิธีสอนแบบบทบาทสมมติ วิธีสอนแบบมอนเตสเชอรี่และวิธีสอนแบบเรียนปนเล่น
จุดมุ่งหมายของการศึกษาของ Benjamin Bloom
พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย (COGNITIVE DOMAIN)
เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น6 ระดับ
พฤติกรรมด้านจิตพิสัย (AFFECTIVE DOMAIN)
เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดในจิตใจความเชื่อ ความซาบซึ้ง ประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (PSYCHOMOTOR DOMAIN)
เป็นความสามารถในการปฏิบัติประกอบด้วยพฤติกรรม 5 ระดับ
รูปแบบ
(Model)
วิธีการ
(Innovation
เครื่องมือ
(Media)
เทคโนโลยี
(Technology)