Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่2 เป้าหมายของการจัดการศึกษา - Coggle Diagram
บทที่2
เป้าหมายของการจัดการศึกษา
การจำแนกประเภทเป้าหมาย
เป้าหมายหลักของการจัดการศึกษาในทุกระดับครอบคลุมพฤติกรรม
3 ด้านดังนี้
1.ด้านพุทธิพิสัย
เป็นความสามารถด้านความรู้ ความคิด ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถทางสติปัญญา
2.ด้านจิตพิสัย
เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการที่เกิดขึ้นในจิตใจ
3.ด้านทักษะพิสัย
เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับทักษะความชำนาญหรือการปฏิบัติ
ซึ่งเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
ความสามารถด้านพุทธิพิสัย
เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจากการเรียนการสอน โครงสร้างพัฒนาการเรียนรู้ ด้านพุทธิพิสัย
พัฒนาจากง่ายไปสู่สิ่งที่ยากหรือซับซ้อนและจากรูปธรรมไปสู่นามธรรม สามารถจําแนกได้เป็น 6 ระดับ ดังนี้
1.ความรู้ ความจำ หมายถึง ความสามารถทางสมองในการจดจำหรือระลึกถึงเรื่องราวต่าง ๆ
1.1 ความรู้ในเรื่องเฉพาะ
1.1.1ความรู้เกี่ยวกับศัพท์
1.1.2ความรู้เกี่ยวกับกฎและความจริงเฉพาะเรื่อง
1.2ความรู้เกี่ยวกับแนวทางและวิธีดำเนินการ
1.2.1ความรู้เกี่ยวกับระเบียบแผน
1.2.2ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนหรือแนวโน้ม
1.2.3ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภท
1.2.4ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์
1.2.5ความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ
1.3ความรู้เกี่ยวกับความรู้รวบยอดในเนื้อเรื่อง
1.3.1ความรู้เกี่ยวกับวิชาหลักและการขยายวิชาหลัก
1.3.2ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีและโครงสร้าง
ความรู้ความเข้าใจ หมายถึง ความสามารถทางสมองในการอธิบายหรือถ่ายทอดตัวความรู้ออกมาในรูปแบบใหม่ที่มีเค้าเหมือนเดิม หรือเป็นการผสมผสานความรู้ความจำออกไปให้กว้างไกลจากความรู้เดิมอย่างสมเหตุสมผล 2.1 การแปลความ
2.2การตีความ
2.3การขยายความ
การนำไปใช้ หมายถึง ความสามารถในการนำความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องราวใด ๆ ที่ผู้เรียนเรียนรู้มาแล้วไปแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์
ใหม่ ๆ
การวิเคราะห์ หมายถึง
ความสามารถในการแยกเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเราออกเป็นส่วนย่อย ๆ ได้ว่าประกอบด้วยส่วนย่อยอะไรบ้าง แบ่งได้3ลักษณะ
4.1การวิเคราะห์ความสำคัญหรือวิเคราะห์องค์ประกอบ
4.2การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
4.3การวิเคราะห์หลักการ
การสังเคราะห์ (Synthesis)หมายถึง ความสามารถในการรวบรวมหรือ
ประกอบส่วนย่อยของสิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
5.1การสังเคราะห์ข้อความ
5.2การสังเคราะห์แผนงาน
5.3การสังเคราะห์ความสัมพันธ์
6.การประเมินค่า หมายถึง ความสามารถในการตัดสินคุณค่าของเรื่องราวต่าง ๆว่ามีคุณค่า ดี เลว เหมาะสมหรือไม่ อย่างไรในการตัดสินคุณค่าโดยพิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบ เพื่อการตัดสินคุณค่าซึ่งมี 2 ลักษณะ
6.1การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายใน
6.2การประเมินค่าโดยใช้เกณฑ์ภายนอก
คุณลักษณะด้านจิตพิสัย
เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก
อารมณ์และจิตใจของบุคคลสามารถจําแนกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้
1.การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า หมายถึง การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หริอถูกกระตุ้นให้รับรู้สิ่งเร้าหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
1.1การรู้จักสิ่งเร้า
1.2การเต็มใจหรือตั้งใจรับรู้สิ่งเร้า
1.3การคัดเลือกสิ่งเร้าที่ต้องการรับรู้
2.การตอบสนอง หมายถึง การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือถูกกระตุ้นให้รับรู้สิ่งเร้าหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
2.1การยินยอมหริอยอมรับที่จะตอบสนอง
2.2การเต็มใจที่จะตอบสนอง
2.3การพอใจในการตอบสนอง
3.การเห็นคุณค่าหรือการสร้างคุณค่า เนื่องจากบุคคลเห็นคุณค่าของการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น หรือในประสบการณ์ที่มี 3.1การยอมรับในคุณค่า
3.2การนิยมชมชอบในคุณค่านั้น
3.3การเชื่อในคุณค่าหรือสร้างคุณค่า
4.การจัดระบบคุณค่าหรือจัดระบบค่านิยม บุคคลจะนำคุณค่ามาจัดระบบ กำหนดคุณค่าที่เด่นและสำคัญ
4.1การสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับคุณค่านั้น
4.2การจัดระบบคุณค่า
5.การสร้างลักษณะนิสัย เป็นการกำหนดแนวทางหรือแนวโน้มของการกระทำบางอย่างหรือการแสดงลักษระตามค่านิยม
5.1การสร้างลักษณะนิสัยชั่วคราว
5.2การสร้างลักษระนิสัยถาวร
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
เป็นเป้าหมายอย่างหนึ่งที่กำหนดขึ้นเพื่อเน้นความสามารถในการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆของร่างกาย จำแนกเป็น 7 ระดับ ดังนี้
1.การรับรู้ของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
2.ความพร้อมที่จะปฎิบัติ
3.การปฎิบัติตามคำแนะนำ
4.การปฎิบัติจนเป็นนิสัย
5.การปฎิบัติที่สลับซับซ้อน
6.การปรับเปลี่ยนวิธีปฎิบัติการหรือการดัดแปลง
7.ความสามารถในการริเริ่มหรือสร้างปฎิบัติการใหม่
ระดับเป้าหมายที่กำหนดในการจัดการศึกษา
ในการจัดการศึกษาย่อมมีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนว่า หลังจากที่ผู้เรียนได้รับการจัดการเรียรู้ตามหลักสูตรแล้ว ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร แบ่งได้ 5 ระดับดังนี้
1.เป้าหมายการศึกษาระดับชาติ
2.เป้าหมายระดับหลักสูตร
3.เป้าหมายระดับกลุ่มวิชาหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้
4.เป้าหมายรายวิชา
5.เป้าหมายระดับการสอน
ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายการศึกษากับการประเมินผล
ดังที่กล่าวมาแล้วว่า เป้าหมายการศึกษาเป็นความคาดหวังทางการศึกษาที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนหลังจัดการศึกษา ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่หลักสูตรคาดหวัง มี 3 ประการ ดังนี้
ประการแรก การกำหนดเป้าหมายของการศึกษาระดับการสอน
ประการที่สอง การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์นั้น ๆ
ประการที่สาม การวัดและประเมินผล
การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.องค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1.1เงื่อนไขหรือสถานการณ์
1.2พฤติกรรมที่คาดหวัง
1.3เกณฑ์
2.การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย 2.1การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมขั้นความรู้ ความจํา 2.2การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมขั้น ความรู้ ความเข้าใจ 2.3การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านการนําไปใช้ 2.4การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านการวิเคราะห์ 2.5การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านการสังเคราะห์ 2.6การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านการประเมินค่า
3.การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านจิตพิสัย เป็นคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตใจของบุคคล
4.การเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมด้านทักษะด้านทักษะพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฎิบัตืโดยอาศัยการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่าง ๆของร่างกาย