Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานะทั้ง 3 สถานะ, นางสาวนิรชร ครยก
รหัส 6414901004 สาขาวิชาฟิสิกส์ -…
สถานะทั้ง 3 สถานะ
แก๊ส (gas)
-
สมบัติของแก๊ส
แก๊ส เป็นหนึ่งในสี่สถานะของสสาร ในภาวะที่อุณหภูมิและความดันเหมาะสม สารหลายชนิดสามรถเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊สได้ ธาตุที่เป็นอโลหะ เช่น ไฮโดรเจน ฟลูออรีน ออกซิเจน ไนโตรเจน แก๊สเฉื่อย และสารประกอบโคเวเลนต์ที่มีมวลโมเลกุลต่ำบางชนิด เช่น;CO , CO2;,;NH3;,;SO2;มีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้องโดยปกติ
-
-
กฎของแก๊ส (Gas Law)
ป็นกฎที่ใช้สำหรับอธิบายสมบัติต่าง ๆ ของแก๊ส ได้แก่ ปริมาตร (V);ความดัน (P) และอุณหภูมิอุณหพลวัต (T) ของแก๊สนั้น ๆ กฎของแก๊สที่เราควรรู้จัก ประกอบด้วยกฎของบอยล์;กฎของชาร์ล;และกฎของเก-ลูซัก;(บางครั้งเขียนว่า "กฎของเก-ลัสแซก" หรือ "กฎของเกย์ลูสแซก")
-
-
ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส (Kinetic Theory of Gases) เป็นทฤษฎีที่พยายามอธิบายสมบัติต่างๆ ของแก๊สโดยศึกษาจากทิศทางเคลื่อนที่ของโมเลกุลแก๊สและลักษณะของโมเลกุลแก๊ส
ของแข็ง (Solid)
-
ชนิดของของแข็ง (ผลึก)
- ผลึกโคเวเลนต์(Covalent Crystal) หน่วยอนุภาคของผลึกชนิดนี้ คือ อะตอม โดยที่อะตอมจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ยึดเหนี่ยวกันลักษณะโครงข่ายสามมิติเป็นร่างแห หรือตาข่าย การยึดเหนี่ยวกันกันระหว่างอะตอมจะมีทิศทางที่แน่นอน
- ผลึกโมเลกุล (Molecular Crystal) หน่วยอนุภาคของผลึกชนิดนี้ คือ โมเลกุล และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเหล่านี้เป็น แรงแวนเดอร์วาลส์ (van der Waals) และ/หรือพันธะไฮโดรเจน
- ผลึกไอออนิก (Ionic Crystal) หน่วยอนุภาคของผลึกชนิดนี้ คือ ไอออน ประกอบด้วยไอออนบวก (cations) และไอออนลบ (anions) พันธะระหว่างไอออนเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้า ซึ่งเรียกว่าแรงดึงดูดไฟฟ้าสถิต (Electrostatic force)
- ผลึกโลหะ (Metallic Crystal) ผลึกประเภทนี้มีโครงสร้างที่ง่ายที่สุด ในโครงผลึกจะมีไอออนของโลหะ(ไอออนบวก) ล้อมรอบด้วยกลุ่มอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระหรือทะเลอิเล็กตรอน
ลักษณะของของแข็ง
เป็นสถานะของสสารที่มีลักษณะแตกต่างจากแก๊สหรือของเหลว คือ มีรูปร่างที่แน่นอน ไม่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ เนื่องจากอนุภาคของของแข็งมีพลังงานจลน์น้อยมาก ไม่สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้
-
ระบบผลึก
ผลึกประกอบขึ้นจากการเรียงตัวของอะตอม ไอออน หรือโมเลกุล อย่างเป็นระเบียบสม่ำเสมอในสามมิติ และมีโครงสร้างเรขาคณิตที่แน่นอน โดยทั่วไปการอธิบายเกี่ยวกับผลึก เราจะใช้แนวคิดที่เรียกว่าแลตทิซ (Lattice)
การจัดเรียงอนุภาคในผลึก
- โครงสร้างชิดที่สุดแบบเฮกซะโกนอล (hexagonal closet-packed structure, hcp) เป็นการบรรจุอนุภาคโดยมีลักษณะการซ้อนของชั้นต่างๆ เป็น AB AB … หมายความว่ามีการจัดเรียงอนุภาค 2 ชั้นที่ไม่เหมือนกันซ้ำๆ กันไปเรื่อยๆ
- โครงสร้างชิดที่สุดแบบลูกบาศก์ (cubic closet-packed structure, ccp) เป็นการบรรจุอนุภาคโดยมีลักษณะเป็น ABC ABC… หมายความว่ามีการจัดเรียงอนุภาค 3 ชั้นที่ไม่เหมือนกันซ้ำๆ กันไปเรื่อยๆ
ของเหลว ( Liquids )
ลักษณะของของแข็ง
สารที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคน้อยกว่าของแข็ง ทำให้อนุภาคไม่ได้อยู่ชิดกันอย่างของแข็ง จึงมีปริมาตรที่แน่นอน แต่มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะของภาชนะที่บรรจุ เช่น น้ำ เบนซีน และปรอท
สมบัติทั่วไปของของเหลว
. ความตึงผิว
เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวมีแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน การเคลื่อนที่ของแต่ละโมเลกุลจึงอยู่ภายใต้อิทธิพลของโมเลกุลอื่นที่อยู่ใกล้เคียง โมเลกุลที่อยู่ตรงกลางได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลอื่นที่อยู่ล้อมรอบเท่ากันทุกทิศทุกทาง
-
เนื่องจากโมเลกุลของของเหลวเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแต่ละโมเลกุลเคลื่อนที่ด้วยความเร็วไม่เท่ากัน ดังนั้นการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอาจมีการขนกันและมีการแลกเปลี่ยนพลังงานกันได้ทำให้โมเลกุลหนึ่ง ๆ อาจได้รับพลังงานเพิ่มขึ้น และบางโมเลกุลสูญเสียพลังงานลงไป
ปัจจัยในการระเหย
1) อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิทำให้โมเลกุลมีพลังงานจลน์สูงขึ้น โอกาสที่จะชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลย่อมมีมากขึ้น
2) พื้นที่ผิวของของเหลว ทำให้โมเลกุลที่มีพลังงานจลน์สูงอยู่ที่ผิวมากขึ้นมีโอกาสหลุดออกจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลได้มากขึ้น
3) การที่ของเหลวอยู่ในระบบเปิด เป็นการป้องกันมิให้มีโอกาสกลับมาควบแน่นได้อีกและไม่ให้มีความดันไอต่อต้านโมเลกุลที่จะระเหยออกไปอีก
-
-
-
. ความดันไอ
เมื่อใส่ของเหลวไว้ในระบบปิด โมเลกุลของของเหลวที่มีพลังงานมากและชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลด้วยกัน ก็จะระเหยกลายเป็นไอ อยู่เหนือผิวของของเหลวนั้น
-
การเดือด ( Boiling ) เป็นขบวนการที่โมเลกุลของของเหลวได้รับพลังงานสูงมากจนกลายเป็นไอได้อย่างรวดเร็ว และโมเลกุลของของเหลวทั่วทุกบริเวณในภาชนะนั้นสามารถที่จะหลุดหนีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลได้อย่างรวดเร็ว
-