Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) - Coggle Diagram
บทที่ 10
ทฤษฎีการเรียนรู้
(Learning Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้
ความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้
1.1 ทฤษฎีหมายถึง ความคิดหรือชุดของความคิดที่ต้องการอธิบาย บรรยาย หรือทำนายปรากฏการณ์ หรือหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2555) ทฤษฎีเป็นกรอบแนวคิดที่แยก ลักษณะสำคัญออกจากสารสนเทศทั่วไปของปรากฏการณ์ และต้องผ่านการทดสอบจนเป็นที่ยอมรับ (Gredler, 1997)
1.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ คือ ข้อความรู้ที่ พรรณนา/อธิบาย/ทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบ แสวงหาความรู้ที่เหมาะกับศาสตร์แต่ละสาขาซึ่งได้รับการยอมรับ ว่าเชื่อถือได้ และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อย ๆ หรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัด กระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีโดยทั่วไปมักประกอบด้วยหลักการย่อย ๆ หลายหลักการ (ทิศนา แขมมณี, 2555)
ทฤษฎีการเรียนรู้ในอดีต
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
แนวคิด/ทฤษฎี
พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
แรงเสริมช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นจากการเรียนรู้และสามารถที่จะสังเกตได้
1.1 ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์
1.1.1 กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)สรุปได้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกายและด้านจิตใจ
1.1.2 กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Excercise) สรุปว่าการฝึกหัดหรือการ กระทำที่มีการปฏิบัติซ้ำอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนถาวร แต่ถ้าไม่กระทำอย่างต่อเนื่องการเรียนรู้ก็จะไม่คงทนถาวร
1.1.3 กฎแห่งผล (Law of Effect) สรุปว่าการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง โดยความคงทนถาวรของการเรียนรู้จะเกิดขึ้นหากได้มีการนำไปใช้อย่างต่อเนื่องหรือบ่อย ๆ และหากไม่มีการนำไปใช้อาจมีการลืมได้
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูกบ้าง เพื่อจะช่วยฝึกฝนให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหาและเข้าใจในสิ่งที่เรียนจากการกระทำของตน
ผู้สอนอาจมีการทดสอบหรือสำรวจความพร้อมของผู้เรียนก่อนจัดการเรียนรู้ เพื่อที่จะได้ช่วยปูพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนหรือเป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมและความรู้ใหม่
ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญในทักษะนั้น
เมื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนเรียบร้อยแล้ว ผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้นำสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือในสถานการณ์ต่าง ๆ บ่อย ๆ เพื่อจะได้ไม่หลงลืม
1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสิก
1.2.2 พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าทางธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
1.2.3 การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตส่วนมากเกิดจากการวางเงื่อนไข
1.2.1 พฤติกรรมการตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถนำสิ่งที่ผู้เรียนชอบมาเป็นสิ่งเร้าหรือรางวัลในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถนำเสนอเนื้อหาหรือสิ่งที่สอนไปพร้อมกับสิ่งเร้าที่ผู้เรียนสนใจ
ผู้สอนควรมีการใช้สิ่งเร้าหลายแบบอาจเป็นทั้งสิ่งของรางวัลที่เป็นรูปธรรมและไม่ใช่สิ่งของเช่น คำชมเชย การปรบมือให้กำลังใจ
1.3 ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
1.3.1 การกระทำต่าง ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่ได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มลดลงหรือหายไป
1.3.2 การลงโทษจะทำให้เรียนรู้ได้เร็วและทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้มากขึ้น
1.3.3 การเสริมแรงสามารถช่วยปลูกฝังคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ต้องการได้
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้
การเสริมแรงทางบวก เป็นการเสริมแรงที่ทำให้ความถี่ของพฤติกรรมเพิ่มขึ้น การเสริมแรง อาจเป็นการให้สิ่งของต่าง ๆ คำชมเชย และสัญลักษณ์
การเสริมแรงทางลบ เป็นการเสริมแรงที่ควรเกิดขึ้นทันที โดยผู้สอนควรให้เหตุผลเมื่อมีพฤติกรรมที่ไม่ต้องการเกิดขึ้น แต่ไม่ควรลงโทษรุนแรง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม
แนวคิด/ทฤษฎี
มนุษย์เป็นผู้มีความรับผิดชอบและเป็นผู้สร้างหรือผู้พัฒนาสังคม
การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือ การที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด
มนุษย์เป็นผู้มีอิสระสามารถที่จะนำตนเองและพึ่งพาตนเองได้
2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
1 ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs)
ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love Needs)
ความต้องการได้รับความนับถือยกย่อง ( Self Esteem Needs)
ความต้องการที่จะเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง (Self Actualization Needs)
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้
การจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและมีประสิทธิภาพ ควรจัดการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้เรียน และควรมีการเสริมแรง
ผู้สอนควรทราบความต้องการของผู้เรียนอยู่ในระดับใด เพราะจะช่วยกระตุ้นหรือจูงใจโดยใช้ความต้องการของผู้เรียนนั้นให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี
ผู้สอนควรให้อิสระแก่ผู้เรียนได้เลือกทำในสิ่งที่ตนชอบ
2.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ของโรเจอร์
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนควรเป็นที่ปรึกษาที่ดีในการจัดการเรียนรู้และสร้างบรรยากาศในการเรียนที่อบอุ่นและเป็นกัลยาณมิตรที่ดี
ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีอิสระทางความคิดและมีบทบาทหรือส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด
ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนในการเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้ในปัจจุบัน
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
แนวคิด/ทฤษฎี
การเก็บรักษา (Retention) การตีความและกำหนดความหมายของคำพูดและสัญลักษณ์ต่าง ๆ การจัดระเบียบข้อมูลในสมอง การซ้อมใช้คำพูดและสัญลักษณ์ รวมทั้งการสั่งงานทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
การสั่งงานทางระบบประสาทให้ทำซ้ำ (Motor Reproduction) ศักยภาพทางกายภาพการสังเกตการทำซ้ำของตนเอง การโต้ตอบที่แม่นยำ
การให้ความสนใจ (Attention) ประกอบด้วยกิจกรรมซึ่งเลียนแบบตัวอย่าง (เป็นสิ่งที่โดดเด่น สร้างความรู้สึกในใจ ซับซ้อน ปรากฏอยู่ทั่วไป มีคุณค่าพอที่จะนำไปใช้ต่อ) และลักษณะการสังเกต (ศักยภาพในการรับรู้ ระดับความตื่นตัว มุมมอง สิ่งที่ตอกย้ำในอดีต)
แรงจูงใจ (Motivation) เป็นเรื่องภายนอกประสบการณ์ที่เกิดจากการจินตนาการด้วยการดูหรือการอ่านเกี่ยวกับคนอื่นและตอกย้ำด้วยตนเอง
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนจะต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติตามตัวแบบและช่วยให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติหรือกระทำตามตัวแบบด้วยตนเอง
ผู้สอนควรปฏิบัติตัวเป็นตัวแบบหรือแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการซึมซับเลียนแบบสิ่งที่ดีงามจากผู้สอน
ผู้สอนสามารถนำตัวแบบที่ดีมีคุณค่ามีประโยชน์มาใช้ดึงดูดเร้าใจให้ผู้เรียนเกิดการเลียนแบบ
ทฤษฎีประมวลสารสนเทศ
คลอสเมียร์ (Klausmeier, 1985) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมองที่มีขึ้นตอนการทำงานเป็น 3 ส่วน คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ เดวิดจอห์นสัน(David Johnson) และโรเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) โดยได้สรุปสาระสำคัญว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 - 6 คนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือมีองค์ประกอบของการเรียนรู้ที่สำคัญ
ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละคน (Individual Accountability)
การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Smal Group Skills)
การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (Face to Face Interaction)
กระบวนการกลุ่ม (Group Processing)
การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน (Positive Interdependence)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ความเชื่อพื้นฐานของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของเพียเจต์ และไวก็อทสกี้ ดังนั้น ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎีดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม (Cognitive Constructivism)
ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคม (Social Constructivism)
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
แนวความคิดของทฤษฎีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะทำให้ความคิดนั้นมีคุณค่าเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลกจึงเป็นการสร้างความรู้ขึ้นในตนเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่าย และจะสามารถถ่ายถอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดีนอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด (ทิศนา แขมมณี, 2552 : 96)
ทฤษฎีพหุปัญญา
แนวคิดของ โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมากและกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปัจจุบัน