Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต…
บทที่ 4 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต :bulb:
1.การแจ้งข่าวร้าย :unlock:
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย :frowning_face:
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล
จะรู้สึกตกใจ ช็อคและปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา และอาจขอย้ายสถานที่รักษา
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย หรือข่าวร้ายที่ได้รับ
ความโกรธอาจจะขยายไปยังแพทย์ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว
ลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทําบางอย่างที่ค้างคา
จะต่อรองกับตัวเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ประเมินได้จากการพูด เช่น “อยากเห็นลูกเรียนจบก่อน”
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิด
ออกห่างจากสังคมรอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย ถามคําตอบคํา ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หรืออาจร้องไห้ หงุดหงิดง่าย คิดหมกมุ่นเกี่ยวกับความตาย คิดว่าตนไร้ค่า ไม่มีความหมาย มีการบกพร่องในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน และหน้าที่การงาน
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
มองเป้าหมายในอนาคตมากขึ้น ปรับตัว และเรียนรู้เพื่อให้ดําเนินชีวิตต่อไปได้
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล :book:
มีความเครียดสูงเนื่องจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง
ไม่สามารถยอมรับสภาพความเป็นจริงเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
หมดกําลังใจในการต่อสู้กับโรคที่เป็นเนื่องจากไม่มีความหวังในการรักษา
เศร้าโศกทุกข์ใจเนื่องจากสูญเสียบุคคลที่มีความสําคัญต่อตน
หวาดกลัวต่อสิ่งต่างๆเนื่องจากขาดสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ
ความหมาย :question:
ข้อมูลที่ทําให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดําเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นข่าวร้ายรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับการแปลผลข้อมูลของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งสัมพันธ์กับ ความคาดหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ความเชื่อและวัฒนธรรม
ร้ายที่พบได้ในผู้ป่วยวิกฤต
การได้รับการเจาะคอ
การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ
ผลเลือดเป็นบวกหรือติดเชื้อ HIV
การเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจทําให้เสียชีวิ
เป็นมะเร็งระยะลุกลามไม่สามารถรักษาได
การสูญเสียญาติหรือคนเป็นที่รัก
บทบาทของพยาบาลหลังจากที่แพทย์แจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยและญาติ :princess::skin-tone-2:
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินการรับรู้ของครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบายความรู้สึก
ปรึกษาแพทยเกี่ยวกับข้อมูล การดําเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กําลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคนจะให้การดูแลอย้างดีที่สุด
ทําหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ ตามหลักจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
2.การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU) :hourglass:
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย :fountain:
การเจ็บป่วยระยะท้าย
หมายถึง ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต มีการดําเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทําให้การทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
ภาวะใกล้ตาย
หมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น
palliative care
ตามคํานิยาม WHO คือ “วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว โดยเข้าไปดูแลปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ใน ระยะแรก ๆ ของโรครวมทั้งประเมินปัญหาสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณอย่างละเอียดครบถ้วนทั้งนี้เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และทําให้ผู้ป่วยได้เสียชีวิตอย่างสงบ หรือ ตายดี”
การดูแลระยะท้าย (End of life care)
หมายถึง การดูแลผู้ป่วยที่อยู;ในระยะท้ายของโรคโดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคองเป็นแนวทางการให้บริการ
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย :check:
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสําคัญเป็นการทํางานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ สบาย พร้อมด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และสนับสนุนค้ำจุนครอบครัวผู้ป่วยให้สามารถใช้ชีวิตช่วงเวลาวิกฤติกับผู้ป่วยที่ป่วยหนักและตายจากไปอย่างราบรื่น
มีการออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12ระบุไว้ว่า “ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะขอรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ”
ซึ่งการตายเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเตรียมตัวทําได้ไม่ใช่เรื่องน่าเศร้าโศกอีกต่อไปโดยเริ่มตั้งแต่ไม่เจ็บป่วย ขณะเจ็บป่วย หรือเป็นผู้ที่ต้องเผชิญกับความตาย กําลังอยู่ในช่วงวาระท้ายของชีวิต
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
สร้างโดย โคลคาบา ปี คศ. 1990 เป้าหมายของทฤษฎีเน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาลซึ่งได้ให้ความหมายของความสุขสบายว่า เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา (relief) สงบ ผ่อนคลาย (ease) และควบคุมสถานการณ์ได้หรืออยู่เหนือปnญหา (transcendence)
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
1.มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis)
2.การสอนแนะนํา เป็นพี่เลี้ยง (coaching)
3.อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul)
4.การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี (Good death)
ประเด็นจริยธรรมที่สําคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย :eight_spoked_asterisk:
1.การุณยฆาตหรือ ปราณีฆาต หรือ เมตตามรณะ(mercy killing or euthanasia)
1.1 การทําการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntaryeuthanasia) คือ การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้ และผู้ป่วยร้องขอให้ยุติการรักษาพยาบาล
1.2 การทําการุณยฆาตโดยที่ผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntaryeuthanasia) แพทย์จะต้องมีข้อพิจารณา 3ประการ คือ 1) เมื่อผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส 2) สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง 3) บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได7และไร้การรับรู้ทางสมอง
2.การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
2.1 การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
2.2 การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบําบัดรักษา
3.การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์ (Physician-assisted suicide)
คือ การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ เช่น การให้ความรู้ เครื่องมือ หรือวิธีการอื่นใดที่อาจทําให้ผู้นั้นสามารถฆ่าตัวตายได้สําเร็จ
4.การจัดสรรทรัพยากรที่มีจํานวนจํากัด
ผู้ป่วยวิกฤตมักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่างๆในหลายระบบจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์และทรัพยากรอื่นๆทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว้ จึงมีผู้ป่วยวิกฤตหลายรายและเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจํากัด
5.การบอกความจริง(Truth telling)
โดยทางเลือกสําหรับการบอกความจริง ได้แก่ 1) การบอกความจริงทั้งหมด 2) การบอกความจริงบางส่วน 3) การหลอกลวง 4) การประวิงเวลาการบอกความจริง
6.การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับ โอกาสรอดชีวิตหลังผ่าตัด ระยะเวลาการมีชีวิตอยู่หลังผ่าตัด แหล่งที่มาของอวัยวะ ซึ่งพบว่าการซื้อขายอวัยวะเป็นประเด็นปัญหาทางจริยธรรมที่สําคัญอีกประการของโลกปัจจุบัน
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล เช่น สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน
จริยธรรมสําหรับการทํางานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU) :black_flag:
1.มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
3.มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป :left_right_arrow:
4.Multidisciplinary team
5.ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย
6.ทรัพยากรมีจํากัด
3.ความไม่แน่นอนของอาการ
2.ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว
7.สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
1.Professional culture
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติ :stars:
1.ทีมสุขภาพที่ทํางานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
2.การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้นๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
3.การดูแลแบบผสมผสาน
1) ระบบการแพทย์เฉพาะ เช่น แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน
2) การผสมผสานกายจิต เช่น สวดมนต์ ทําสมาธิ โยคะ
3) อาหารและสมุนไพร เช่น อาหารสุขภาพและ
4) พลังบําบัด เช่น สัมผัสบําบัด โยเร
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย :dart:
1.การประเมินสภาพ
1.2 การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
1.3 การประเมินด้านสังคม
1.1 การประเมินอาการทางร่างกาย
1.4 การประเมินด้านจิตวิญญาณ
การประเมินระดับ Palliative Performance Scale (PPS)
จุดประสงค์ของการใช้ PPS
ใช้เป็นเกณฑ์การัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Hospice)
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆ และติดตามผลการรักษา
ใช้ในการวิจัย
เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีมที่ร่วมกันดูแลผู้ป่วย เพื่อให้มองเห็นภาพของผู้ป่วยและการพยากรณ์โรคไปในแนวทางเดียวกัน
สามารถแยกออกเป็น 3 กลุ่ม
ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (PPS 0-30%)
ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างกลุ่มทั้งสอง (PPS 40-70%)
ผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ (PPS>70%)
หลักการพยาบาล
1.การสื่อสาร
4) ให้เกียรติครอบครัวโดยการฟังอย่างตั้งใจและให้เสนอความคิดเห็น
3) หลีกเลี่ยงคําศัพท์แพทย์
2) ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว สถานที่ควรเป็นห้องที่เป็นส่วนตัว
1) ควรมีแผ่นพับแนะนําครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทําการประชุมครอบครัว
5) มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
6) บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค เปิดโอกาสใหครอบครัวเล่ารายละเอียด
7) ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน รวมถึงฟังอย่างตั้งใจทุกครั้งที่ครอบครัวพูด
8) บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด ถ้าเป็นการแจ้งข่าวร้าย อาจจะใช้ SPIKES protocol
9) เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียูการเริ่มประชุมครอบครัวควรทําอย่างช้าที่วันที่ 3 และวันที่ 5
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
2.1 การช่วยเหลือดูแลทางกายตามอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
อาการไอการดูแล ควรปsองกันสาเหตุที่ทําให้ไอ ระวังการสําลักขณะได้รับอาหาร
อาการหอบเหนื่อย หายใจลําบาก ควรจัดให้ผู้ป่วยพักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อย
อาการท้องมานหรือบวมในท้อง ควรดูแลโดยให้ผู้ป่วยนอนในท่่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง
อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ควรจัดหาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้สะดวก และหมั่นเปลี่ยนผ้ารอง
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก กลืนลําบาก ควรดูแลทําความสะอาดในช่องปากทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง
อาการบวมควรดูแลอย่าให้เกิดแผลต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดูแลจัดท่ายกบริเวณตําแหน่งที่บวมให้สูง
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ควรจัดอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
อาการคัน ควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น หลีกเลี่ยงการเกา ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่มและหลวม คดูแลให้ความชุ่มชื้นของผิวหนัง
อาการท้องผูก ควรจัดอาหารให้มีใยอาหาร ให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
การเกิดแผลกดทับ ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
อาการปวด ควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่างๆได้ครบถ้วน ตรงตามเวลาที่แพทย์แนะนำ
การดูแลทั่วไป
ประกอบด้วยการดูแลความสะอาดร่างง่าย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้แก่ การพักผ่อนนอนหลับ ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ ลดการกระตุ้นที่รบกวนผู้ป่วย
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว (Psychosocial care)
4.2 ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
4.3 การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค่างคาใจ
4.4 แนะนําให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
4.1 ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
4.5 สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
5.2 สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญา
5.3 สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
5.1 ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
ข้อมูลที่ควรมีการบันทึกไว้
5) สมาชิกครอบครัวที่เข้าร่วมประชุม
6) ครอบครัวและผู้แทนทางสุขภาพ เข้าใจการพยากรณ์โรคของผู้ป่วย
4) ผู้ป่วยมีพินัยกรรมชีวิต
7) อะไรคือคุณค่าการดํารงชีวิตของผู้ป่วย
3) สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
8) เป้าหมายการรักษา
2) ผู้ป่วยเข้าร่วมในการประชุมหรือไม่
9) การวางแผนการรักษา
1) วัน เวลา สถานที่
ข้อควรระวัง
5)เตือนให้ญาติคํานึงถึงความปรารถนาของผู้ป่วย ให้ทุก ๆ การตัดสินใจ
3)องย้ำว่าที่ผ่านมาเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว แต่ผลการตอบสนองไม่เป็นไปตามคาดหวัง
6)ถ้าหากมีการร้องไห้ ควรให้ญาติร้องโดยมิขัดจังหวะ
2)ทําการฟังอย่างตั้งใจ มีการทบทวนสาระสําคัญเป็นระยะๆ
7)ผู้นําการประชุมครอบครัวควรทําการสะท้อนอารมณ์ของญาติเป็นระยะ ๆ
1)รู้จักตัวตนของคนไข้ ไม่ใช่เฉพาะโรค
8)เน้นย้ำกับญาติว่า แผนการรักษาทั้งหมด เป็นการตัดสินใจร่วมกันเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดสําหรับผู้ป่วย
4)ในช่วงนี้ ญาติอาจจะพยายามต;อรอง เนื่องจากความรักที่มีต่อผู้ป่วย จึงต้องการให้แพทย์ทําการรักษาต่อไป สิ่งที่ทําได้คือ รับฟังอย่างตั้ง
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning [ACP])
7.1 Living will
คือ หนังสือที่เกิดจากการพิมพ์หรือเขียน หรือแสดงเจตนาด้วยวาจาต่อแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สุขภาพ ญาติ หรือผู้ใกล้ชิด เป็นหนังสือที่เคารพสิทธิของผู้ป่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับชีวิต (the right to self-determination) อันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่นานอารยประเทศยอมรับ และเป็นสิทธิในชีวิตร่างกายซึ่งเป็นรากฐานสําคัญของ “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
7.2 Proxy
คือ บุคคลใกล้ชิดที่ผู้ป่วยมอบหมายให้มีอํานาจตัดสินใจในเรื่องการดูแลทางการแพทย์ในวาระสุดท้ายของตน
บทบาทของพยาบาล
การคอยช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยต้องการทําการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
การรวบรวมเอกสาร
การสื่อสารโดยการสื่อสารร่วมกันระหว่างทีมสุขภาพกับผู้ป่วยและญาติ
การดูแลผู้ป่วยที่กําลังจะเสียชีวิต (manage dying patient)
4)ทําความสะอาดใบหน้า ช่องปาก และร่างกายผู้ป่วย
5)ยุติการรักษาที่ไม่จําเป็น
3)ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
6)นําสายต่าง ๆ ที่ไม่จําเป็นออก
2)ยุติการเจาะเลือด
7)ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
1)ทําการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
8)ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
9)ควรทําการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
10)ให้ยาที่มักจําเป็นต้องได้ เช่น มอรฟิน
11)อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น และประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย เพื่อให้ญาติมั่นใจว่าทีมสุขภาพไม่ได้ทอดทิ้งผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง (bereavement care)
การสื่อสารที่ดี และดูแลช่วงใกล้เสียชีวิตอย่างใกล้ชิด สามารถช่วยลดการเกิดความเครียดจากการสูญเสียคนรักได้