Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต -…
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดหวังมีผลกระทบต่อความรู้สึกการดำเนินชีวิตและอนาคตของบุคลลนั้น ข้อมูลที่ได้รับจะเป็นข่าวร้ายรุนแรงเพียงใดขึ้นอยู่กับการแปลผลข้อมูลของผู้ป่วยและญาติ ซึ่งสัมพันธ์กับความหวังและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ความเชื่อ และวัฒนธรรม
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวัง หรือข่าวร้ายที่ได้รับการต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย
ระยะซึมเศร้า (Depression)
เมื่อผ่านระยะปฏิเสธ เสียใจ หรือระยะต่อรองไปสักระยะ ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้นระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของแต่ละบุคคล และสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคล
ระยะโกรธ (Anger)
ความโกรธเป็นภาวะธรรมชาติ ครอบครัว ญาติ เพื่อน และทุกอย่างรอบตัว ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นปฏิกิริยาระยะสุดท้าย เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูลจะรู้สึกตกใจ ช็อค และปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้ไม่เชื่อ ไม่ยอมรับความจริง ไม่เชื่อผลการรักษา
หลังจากที่แพทย์แจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ปวยและญาติ โดยการประชุมครอบครัว (Family meeting) แล้วพยาบาลมีบทบาทดังนี้
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เปิดโอกาสให้ได้ซักถามข้อสงสัย
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจให้ผ่านระยะเครียดและวิตกกังวล
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติว่า แพทย์และทีมสุขภาพทุกคจะให์การดูแลอย่างดีที่สุด
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป็นภาวะที่บุคคลได้รับความต้องการทันทีเพื่อบรรเทา สงบ ผ่อนคลาย และควบคุมสถานกาณ์ได้หรืออยู่เหนือปัญหา ครอบคลุมบริบทด้านร่างกาย ด้านจิตใจ-จิตวิญญาณ ด้านสังคมวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม
ความสุขสบายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
บรรเทา (relief) หมายถึง ความไม่สุขสบายที่มีอยู่ทุเลาเบาบางลง
ความสงบผ่อนคลาย (ease) หมายถึง ความไม่สุขสบายหายไปหรือสงบผ่อนคลาย
เหนือปัญหา (transcendence) หมายถึง ความสุขที่อยู่เหนือความไม่สุขสบายทั้งปวงแม้ว่าจะไม่สามารถขจัดหรือหลีกเลี่ยงได้
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตมักใช้รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่เป็นการดูแลผู้ป่วยที่มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆของชีวิต
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวม โดยครอบคลุมทั้ง 7 ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ดดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของผู้ป่วย และครอบครัวเป็นสำคัญ เป็นการทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ โดยมีผู้ป่วยและครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล
ใหัความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน
ผู้แจ้งข่าวร้าย
ผู้ที่แจ้งข่าวร้ายต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษา และการดำเนินโรค รวมถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎ
การสอนแนะนำเป็นพี่เลี้ยง (coaching)
อาหารด้านจิตวิญญาณ (comfort food for the soul)
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย เพื่อรักษาความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis)
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือตายดี (Good death)
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
ภาวะใกล้ตาย หมายถึง ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น จากการทำหน้าที่ของอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลงหรือล้อเหลว
การดูแลแบบประคับประคอง หรือการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย หรือ Palliative care คือ วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมาย เพื่อเพิมคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต โดยการประคับประคองและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว
การเจ็บปวยระยะท้าย หมายถึง ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บปวยที่คุกคามต่อชวีติ มีการดําเนินโรคลุกลามอย่างมาก ทําให้การทําหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติ
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
เป็นกระบวนการดูแลผู้ป่วยและตั้งเป้าหมายของการดูแลตั้งแต่วันแรก สนับสนุนให้มีการทำ Family meeting เพื่อทราบความต้องการและสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือ palliative care ในหอผู้ป่วยวิกฤต
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว;าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้นๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินระดับ Palliative Performance Scale (PPS)
ใช้ประเมินสภาวะของผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลรักษาแบบประคับประคอง
การให้คะแนนใช้เกณฑ์วัดจากความสามารถ 5 ด้านของผู้ป่วย
การดูแลตนเอง
การกินอาหาร
ความรู้สึกตัว
กิจกรรมและความรุนแรงของโรค
ความสามารถในการเคลื่อนไหว
การประเมินสภาพ
การประเมินด้านจิตใจ
ภาวะวิตกกังวล (Anxiety)
ภาวะสับสน (Delirium)
ภาวะซึมเศร้า (Depression)
การประเมินด้านสังคม
ความต้องการของครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย (Care giver)
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม ที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ
การประเมินอาการทางรางกาย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบหายใจ
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบประสาท
ระบบการควบคุมหูรูด
ระบบขับถ่าย
การประเมินด้านจิตวิญญาณ
ความต้องการของผู้ป่วยในด้านจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิต
เป้าหมายชีวิต หรือคุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อทางศาสนา
การสื่อสารในผู้ปวยวิกฤติมีความสําคัญเป็นอย่างมาก การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสามารถลดความไม่สุขสบายใจ ลดการเกิดความไม่พอใจของครอบครัว และยังสามารถเพิ่มความพึงพอใจในการให้บริการ
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่างๆ หัวใจหลักของการดูแลแบบ palliative care คือ การใส่ใจประเมินอาการ และจัดอาการไม่สุขสบายอย่างเต็มที่
การดูแลทั่วไปประกอบด้วยการดูแลความสะอาดร่างกายให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
Psychosocial care เป็นการช่วยเหลือดูแลด้านจิตใจ อารมณ์
และจิตวิญญาณ
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ปวยระยะสุดท้ายและครอบครัว และ Family meeting