Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเตรียมสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอางและยา - Coggle Diagram
การเตรียมสมุนไพรสำหรับเครื่องสำอางและยา
แบบสารสกัด
การสกัดสมุนไพร
การต้ม
สารสกัดที่ได้จากวิธีการนี้เรียกว่า สารสกัดน้ำ หรือน้ำสกัด
1.ให้ชั่งสมุนไพรสด หรือแห้ง (ตามข้อแนะนําของแผนโบราณ) ย่อยสมุนไพรให้มีขนาดเล็กพอประมาณห้ามบดละเอียด
2.เติมน้ำ 3-5 เท่า ของน้ำหนัก ถ้าเป็นสมุนไพรสดจะใช้น้อยกว่า โดยให้น้ําท่วมสูงเกินสมุนไพรประมาณ 5 นิ้ว จดบันทึกน้ําหนักของน้ําที่ใช้ ถ้าเป็นสมุนไพรแห้งให้แช่ในน้ํา 20 นาที ก่อนนําขึ้นตั้งไฟปานกลางจนเดือด จับเวลาเมื่อเริ่มเดือด ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที หากน้ําแห้งให้เติม เมื่อสีน้ําสกัดไม่เข้มจากเดิมให้ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง 3 ชั้น
3.นำกากมาต้มซ้ำเช่นเดิม และรวมน้ําสกัด 2 ครั้ง เข้าด้วยกัน ตั้งไฟเคี่ยวต่อจนได้ น้ําหนักที่ต้องการ การเคี่ยวอาจไม่ใช้ไฟตรง เพื่อหลีกเลี่ยงการไหม้ ส่วนใหญ่จะนิยมให้น้ําหนักน้ําสกัดเท่ากับน้ําหนักสมุนไพรที่นํามาสกัด เช่น สมุนไพร 1 กก. เมื่อสกัดเสร็จแล้วได้น้ําสกัด 1 กก. ซึ่งง่ายต่อการคํานวณสัดส่วนในเครื่องสําอาง
ข้อเสีย
กรณีที่จะเตรียมเก็บไว้นานๆอาจมีเชื้อแบคทีเรีย หรือราทําให้บูดเน่าเสียได้ง่าย สามารถแก้ไขได้ 2 วิธี คือ เติมสารกันเสีย หรือเคี่ยวให้เข้มข้นมากที่สุดเท่าที่จะทําได้ เช่น เคี่ยวจนเหลือน้ําหนัก 1 ใน 5 แต่ต้องระวังไม่ให้ไหม้และจดน้ําหนักสุดท้ายที่ได้ หลังจากนั้นให้ สรุปการสกัด และเก็บข้อมูลไว้เป็นเทคนิคในการสกัดครั้งต่อไป
ปัจจัยที่ต้องควบคุมในการสกัดแบบต้ม
อัตราส่วนระหว่างน้ําและสมุนไพร
เวลาที่ใช้ต้ม
รายละเอียดอื่นๆ เช่น น้ําก่อนต้ม เวลาที่ใช้แช่สมุนไพรก่อนนําขึ้นตั้งไฟ น้ําหนัก สารสกัดที่ได้ต้องเท่าเดิม และจดรายละเอียดทุกครั้งที่สกัด
การคั้นน้ำสด
สารสกัดที่ได้อาจเรียกว่า น้ําสกัด หรือน้ําคั้น
ต้องใช้สมุนไพรสด บีบเอาแต่น้ํา ซึ่งเหมาะสมกับสมุนไพรที่ทนความร้อนไม่ได้
วิธีที่ 1 น้ำคั้นผลไม้
เช่น น้ําคั้นผลส้ม น้ําคั้นผลมะเฟือง
เครื่องมือ เครื่องคั้นน้ําผลไม้
วิธีทำ ล้าง ทําความสะอาดผิวด้านนอก ของผลไม้ ผ่า ซีก บีบด้วยเครื่อง
วิธีที่ 2 น้ำคั้นใบหรือเหง้า
เช่น ขมิ้น
เครื่องมือ เครื่องปั่นน้ําผลไม้
วิธีทำ ปั่นสมุนไพรสดกับน้ําจํานวนครึ่งเท่าของน้ําหนักสมุนไพร ในเครื่องปั่นน้ําผลไม้ กรอง ด้วยผ้าขาวบาง
ข้อเสีย
การสกัดแบบนี้สารสกัดสมุนไพรไม่ค่อยคงตัว มักต้องใช้สารกันบูด ควรเตรียมแล้วผลิตเครื่องสําอางทันที หรือแช่เย็นไว้ 1 วัน ก่อนใส่ในเครื่องสําอาง
กาาควบคุมคุณภาพ
คัดเลือกสมุนไพรที่มีอายุและขนาดเท่าเดิม
เครื่องมือที่ใช้ต้องทําความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ และทิ้งให้แห้งก่อนใช้ทุกครั้ง
จดน้ําหนักพืชสมุนไพรที่ใช้ครั้งแรก จํานวนน้ําที่ใช้และน้ําหนักน้ําที่ได้ ภายหลังกรอง
เติมน้ําภายหลัง ให้ได้น้ําหนัก ประมาณ 30-50% ของน้ําหนักสด (ต้องให้ได้น้ําเท่าเดิมทุกครั้งที่สกัด เช่น น้ําสกัดน้ําหนักเป็นหนึ่งเท่า หรือเท่าครึ่งของสมุนไพรสด)
การเคี่ยวในน้ำมันหรือการหุงน้ำมัน
น้ํามันที่ใช้ควรเป็น น้ํามันปาล์ม หรือน้ํามันมะพร้าว สัดส่วนสมุนไพรที่ใช้ ให้ใช้สมุนไพร สด หรือแห้ง 1-2 เท่า ของน้ําหนักน้ํามันพืช
วิธีทำ
1.ชั่งน้ําหนักสมุนไพร
2.ชั่งน้ําหนักน้ํามันพืช ยกขึ้นตั้งไฟปานกลาง
3.เมื่อน้ํามันพืชร้อน ประมาณ 100-150 องศาเซลเซียส ใส่สมุนไพรลงไปที่ละน้อย ทอดจนกรอบตักกากสมุนไพรทิ้ง เติมลงไปที่ละน้อย ทําซ้ําจนหมด
4.กรองน้ํามันพืชด้วยผ้าขาวบาง 3 ชั้น จึงนําน้ํามันไปใช้
การสกัดด้วยแอลกอฮอล์
ตัวทําละลายที่ใช้ คือ เอทิลแอลกอฮอล์ ( ethyl alcohol)
เป็นการสกัดที่ได้สารเคมีจากพืชในปริมาณมากที่สุด
ข้อเสีย คือ ได้สารที่ไม่ต้องการติดมาด้วย และในการทําให้เข้มข้น ต้องใช้เครื่องมือที่มีราคาแพง จึงเหมาะสมสําหรับการสกัดในระดับอุตสาหกรรมเท่านั้น
การหมัก ( Maceration)
เหมาะสําหรับสารที่ไม่ทนต่อความร้อนตัวอย่าง เช่น การสกัดพญายอ การสกัดยานอนหลับ จากใบขี้เหล็ก หรือยาดองเหล้าของไทยเกือบทุกชนิด
เครื่องมือที่ใช้
ถังหมักคล้าย คูลเลอร์ มีก๊อกไขเอาสารละลายออก
เครื่องระเหยแห้งสุญญากาศ
วิธีทำ
ชั่งผงสมุนไพรสดหรือแห้งใส่ในถุงผ้า
แช่แอลกอฮอล์ 2-3 เท่าตัวในภาชนะปิดสนิททิ้งไว้ 7 วัน คนทุกวัน
กรองเอาส่วนน้ํา บีบสารละลายออกจากกาก
แล้วเติมสารละลายเพื่อล้างกาก ทําซ้ําอีกครั้งเป็นการหมักซ้ํา เพื่อให้ได้สารสกัดมากที่สุด
เอาสารสกัด 2 ครั้งรวมกัน นําไปทําให้เข้มข้นด้วยเครื่องระเหยแห้งสุญญากาศ เพื่อป้องกันอันตรายต่อคนทํางานและป้องกันการทําลายสิ่งแวดล้อม ห้ามนำไปทำให้เข้มข้นด้วยการตั้งไฟตรง หรือตุ๋นในลังถึงหรือเครื่องไอน้ำ เพราะแอลกอฮอล์ที่ระเหยออกมาขณะทํางาน จะกระจายในอากาศบริเวณนั้น ผู้ทํางานจะมีอาการเหมือนคนเมาเหล้าและสิ่งแวดล้อมจะเสียไป จึงไม่แนะนําการสกัดวิธีนี้ในชุมชน นอกจากสามารถพัฒนาเครื่องมือกักเก็บแอลกอฮอล์ที่ระเหยออกมาและนํากลับไปใช้ใหม่ได้
การสกัดแบบต่อเนื่อง
การสกัดแบบชง (โดยใช้ Percolator)
แบบผงแห้ง
วิธีเตรียมสมุนไพรแบบผงแห้ง
1.การเก็บสมุนไพรสด
เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สําคัญมาก เพราะมีผลต่อปริมาณสารสําคัญและสรรพคุณทางยาของสมุนไพร เพื่อให้การเตรียมสมุนไพรมีความถูกต้องตามหลักวิชาการและภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผู้แปรรูปสมุนไพรควรมีความรู้ในการเก็บสมุนไพรสด ดังต่อไปนี้
อายุพืช
ให้เก็บเกี่ยวสมุนไพรที่มีอายุโตเต็มที่
ช่วงระยะเวลาที่เก็บ
พืชที่ใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยา
เมื่อพืชโตเต็มที่แล้วสามารถเก็บได้ทั้งปีให้เก็บใบที่โตเต็มที่โดยวิธีเด็ด ยกเว้นพืชบางชนิดที่ใช้ใบ หรือยอดอ่อน
พืชที่ใช้ดอกเป็นยา
เก็บในช่วงที่ดอกเริ่มบาน บางชนิดจะเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู สําหรับดอกที่มีน้ํามันหอมระเหยปริมาณมาก และต้องการกลิ่นหอมด้วย ควรเก็บในช่วงหัวค่ําประมาณ 18.00-19.00 น. หรือเก็บในช่วงเช้ามืดขณะที่พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น เพราะปริมาณน้ํามันหอมระเหยจะมากกว่า
พืชที่ใช้เปลือกต้นหรือเปลือกรากเป็นยา
เก็บในช่วงปลายฤดูร้อนต่อกับฤดู ฝน เพราะเปลือกจะลอกออกง่าย การเลือกกิ่งที่ลอกควรเป็นกิ่ง หรือแขนงย่อยที่โตเต็มที่ไม่ลอก จากลําต้นใหญ่ เพราะอาจทําให้พืชตายได้ง่าย วิธีลอก ควรลอกออกครึ่งลําต้น อย่าลอกรากลําต้น เพราะจะกระทบกระเทือนต่อระบบการลําเลียงอาหารของพืช
พืชที่ใช้แก่นเป็นยา
มักเก็บในฤดูร้อนควรเก็บกิ่ง หรือแขนงย่อยที่โตเต็มที่ และไม่ควรโค่นลําต้น
พืชที่ใช้รากหรือหัว
เก็บช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบร่วงหมด (เรียก ช่วงเวลานี้ว่า ลงหัว) ซึ่งมักเป็นช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เช่น กระชาย กระทือ ข่า เป็นต้น
2.การล้างสมุนไพรให้สะอาด
โดยเฉพาะส่วนที่ขุดจากดิน เช่น เหง้า หรือราก ต้องล้างดินออกให้หมด และผึ่งในถาด ตะแกรงโปร่ง ที่มีรูขนาดกลางเพื่อระบายน้ําให้สะเด็ดน้ํา หั่นให้มีขนาดเล็กลงวัสดุที่ใช้เป็นถาด ได้แก่ ถาดสแตนเลสเจาะรู กระด้งที่มีรูขนาดกลาง หรือแคร่ไม้ไผ่ที่สะอาด
3.อบหรือตากแห้ง
ใช้อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
ผึ่งให้แห้ง
เหมาะสําหรับพืชที่มีน้ํามันหอมระเหย เช่น กะเพรา โหระพา มักใช้วิธีผูกเป็นมัดเล็กๆ แขวนที่เชือกหรือใส่กระด้ง กระจาดที่มีรูวางไว้ในที่โปร่งไม่โดนแดดส่องถึงโดยตรง มีลมพัดผ่านเกือบตลอดเวลา (ไม่สามารถทําได้ในภาคใต้เนื่องจากความชื้นในอากาศสูง พืชแห้งช้าจะขึ้นราได้ง่าย) ใช้อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส
ตู้อบแสงอาทิตย์ประหยัดพลังงาน
มีข้อเสีย คือ ต้องได้รับแสงแดดโดยตรง ซึ่งอาจทําลายสารสําคัญบางชนิด
ตู้อบลมร้อนพลังงานไฟฟ้า แก๊ส ถ่าน ไม้ หรือแกลบ
ข้อดี คือ อุณหภูมิสม่ําเสมอ แต่ราคาตู้อบค่อนข้างแพง
4.การบดเป็นผง
อาจใช้เครื่องมือบดได้หลายชนิด เช่น ครกหิน ครกบดยาชนิดบดด้วยมือ หรือเครื่องบด ไฟฟ้าขนาดเล็ก ระดับอุตสาหกรรม หลังจากผ่านเข้าเครื่องบดแล้วให้นําไปผ่านแร่ง เพื่อแยกผง ยาที่มีความละเอียดสม่ำเสมอไปดําเนินการต่อ ความละเอียดของผงยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ใช้เป็นผงในเครื่องสําอางผ่านแร่งเบอร์ 60 ขึ้นไป ใช้สําหรับสกัดให้บดหยาบ ไม่จําเป็นต้องผ่าน แร่ง หากใช้เครื่องบดที่มีตะแกรง ต้องใช้ตะแกรงหยาบที่สุด โดยใช้ตะแกรงขนาดไม่เกินเบอร์ 20