Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย - Coggle…
บทที่ 5 แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
แนวคิด หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
Anglo-American Model (AAM)
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
แคนาดา
นิวซีแลนด์
ออสเตรเลีย
ค่าใช้จ่ายสูงกว่า FGM
มีทีมเวชกิจฉุกเฉินให้การดูแลโดยมีแพทย์กำกับ
องค์การที่เกี่ยวข้องการบริการความปลอดภัยของสาธารณะ เช่น ตำรวจ สถานีดับเพลิง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการนำส่งไปยังโรงพยาบาล
มีเพียงจำนวนน้อยที่ได้รับ การดูแล ณ จุดเกิดเหตุ
รถ Ambulance เป็นหลัก
ใช้ Aero-medical หรือ Coastal ambulance
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเป็น ส่วนหนึ่งของ
องค์การความปลอดภัยสาธารณะ
ลำเลียงผู้ป่วยส่งตรงห้องฉุกเฉิน
นำผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
“Scoop and run” เวลาสำหรับการประคับประคองอาการในสถานที่เกิดเหตุสั้นและนำผู้ป่วยส่งยังสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด
Franco-German Model (FGM)
“Stay and Stabilize” ให้เวลานานในการดูแลอาการในสถานที่เกิดเหตุและนำการรักษาไปยังสถานที่เกิดเหตุ
นำบริการโรงพยาบาลมาหาผู้ป่วย
แพทย์ให้การดูแลโดยมีทีมเวชกิจฉุกเฉินช่วย อาจนำเทคโนโลยีรวมไปให้การดูแลในขั้นสูง
Ambulance
Helicopter
Coastal ambulance
องค์การที่เกี่ยวข้อง อยู่ภายใต้บริการจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพ
ค่าใช้จ่ายต่ำกว่า AAM
เยอรมนี
ฝรั่งเศส
กรีซ
มอลต้า
ออสเตรีย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรับ การรักษา ณ จุดเกิดเหตุ
เพียงจำนวนน้อยที่นำส่งโรงพยาบาล
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเป็นส่วนหนึ่งขององค์การสาธารณสุข
การเจ็บป่วยวิกฤต
Crisis care
เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยการรักษา
มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏอันตรายระบบของร่างกายที่มีการล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว หรือรักษา สภาพการทำงานของระบบนั้น
Critical Care
เพื่อดำรงรักษาชีวิต
มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏในครั้งแรกและ
ป้องกันไม่ให้เข้าสู่สถานการณ์คับขัน
Crisisในการประคับประคองให้ความสำคัญกับ
ทุกระบบไม่ให้นำสู่สภาวะที่เป็นปัญหาต่อไป
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต
การบันทึกเหตุการณ์อาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว ต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่โรงพยาบาล เพื่อทำการรักษาต่อทันที พร้อมทั้งข้อมูลผู้ป่วย และข้อมูลการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
ต้องมีหลักในการพยาบาล ดังนี้
มีหลักในการอุ้มยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากยานพาหนะไปยังห้องพยาบาล อย่างรวดเร็วปลอดภัย
มีการซักประวัติการเจ็บป่วยและอาการสำคัญอย่างละเอียด ในเวลาที่รวดเร็ว
ทำการคัดกรองผู้ป่วยอย่างรวดเร็วแม่นยำ
ให้การรักษาพยาบาลภายใต้นโยบายของโรงพยาบาล และภายในเขตการรับรองของกฎหมาย
ให้การช่วยฟื้นคืนชีพอย่างถูกต้อง
ให้การดูแลจิตใจของผู้ป่วยและญาติ ต้องอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงปัญหาการเจ็บป่วย การพยาบาล
ที่จะได้รับ และแนวทางการรักษาต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้เกิดความร่วมมือในการให้การรักษาพยาบาล
มีการนัดหมายผู้ป่วยที่ไม่ได้นอนโรงพยาบาลเพื่อให้การรักษาต่อเนื่อง
มีการส่งต่อเพื่อการรักษาทั้งในหอผู้ป่วยในแผนกผู้ป่วยหนัก และภายนอกโรงพยาบาล
แนวทางปฏิบัติในระบบทางด่วน
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
เป็นแนวทางของระบบบริการสุขภาพที่ช่วยนำผู้ป่วยให้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างทันเวลา และลดระยะเวลาการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน
พิจารณาจากเกณฑ์และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต ทุพพลภาพ และความพิการ
ระบบทางด;วนสำหรับผู้ป่วยอุบัติเหตุ (Trauma fast track)
ระบบทางด่วนสำหรับผู้ป่วยเจ็บหน้าอก (Chest pain fast track)
ระบบทางด่วนสำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทาง
หลอดเลือดสมอง (Stroke fast track)
อาศัยหลักการ ดังนี้
การจัดทำควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่
จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
จัดทำแนวปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงประตูโรงพยาบาล
จัดทำรายการตรวจสอบ
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ
กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผล
บทบาทพยาบาลกับ Fast track
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
EMS (accessibility)
Triage/ Specific triage/ Assessment
Activate system
Flow (purpose-process-performance)
Investigation
Care delivery
Monitoring: early warning signs & E-response
Risk management (general & clinical)
Co-ordination, Communication, Handover
Inter & Intra transportation
Evaluation, output, outcome
Improvement, Innovation, Integration
Trauma life support
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey)
การประเมินเพื่อหาภาวะคุกคามแก่ชีวิต ให้ประเมินเป็นระบบ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
A Airway maintenance with cervical spine protection
B Breathing and ventilation
C Circulation with hemorrhagic control
D Disability (Neurologic Status)
E Exposure / environmental control
Definitive care
เป็นการรักษาหลังจากผู้ป่วย
ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว
การผ่าตัด Craniotomy
การผ่่าตัดหน้าท้อง Exploratory Laparotomy
การนอนรักษาตัวในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (Intensive care unit)
Resuscitation
เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤต
ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
การดูแลทางเดินหายใจ
การช่วยหายใจ
การใส่ท่อช่วยหายใจ
การให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ
การห้ามเลือด
Secondary survey
เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียด
หลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
การซักประวัติ
การตรวจ Head to toe
การตรวจทางรังสีรักษา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษต่างๆ
การกู้ชีพ (Resuscitation)
การประเมิน เป็นลำดับของ ABC
A : Airway
ภายหลังจากการประเมิน การทำ Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจสามารถรักษาได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ และควรกระทำแต่เริ่มต้นหลังจากที่ช่วยหายใจด้วยออกซิเจน หากใส่ไม่ได้ อาจพิจารณาการใส่ท่อด้วยวิธีการทางศัลยกรรม
B : Breathing
ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริมหากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้บาดเจ็บควรได้รับออกซิเจนผ่าน reservoir face mask ที่เหมาะสมกับหน้าพอดีด้วย flow rate 11 L/min เพื่อให้ได้ปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอร่วมกับการติดตามระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
C : Circulation
การห้ามเลือดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บโดยทำร่วมกับการให้สารน้ำทดแทน
เมื่อทำการเปิดเส้นเลือดแล้วควรเก็บเลือดส่งตรวจ เพื่อช่วยในการประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การให้สารน้ำในปริมาณมากอาจไม่ได้ทดแทนการห้ามเลือดได้
ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ
(Trauma care system)
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access)
การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้ง
เมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ประเทศไทยโทร 1669
การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care)
ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ สิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก (scene safety) และภายหลังการช่วยเหลือสามารถนำส่งผู้บาดเจ็บไปสู่โรงพยาบาลได้รวดเร็วและเหมาะสม
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care)
การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย การรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วย การฟื้นฟู ซึ่งทุกขั้นตอนจะต้องกระทำถูกต้องตามหลักวิชาชีพและมีประสิทธิภาพ
การฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer)
การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ด้านการส่งต่อ อาจแบ่งเป็นการส่งต่อในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงเกินความสามารถในการรักษา จำเป็นต้องส่งต่อไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าหรือมีความเชี่ยวชาญกว่า อีกกรณีหนึ่งคือการส่งกลับไปยังโรงพยาบาลเดิมหรือต้นสังกัดเมื่ออาการดีขึ้น