Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ - Coggle Diagram
ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ Sigmund Freud
วิธีการรักษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)
จิตใจทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์
จิต 3 ระดับ
จิตสำนึกหรือจิตรู้สำนึก (Conscious mind)
ภาวะจิตที่รู้ตัวอยู่
จิตกึ่งสำนึก (Subconscious mind)
ภาวะจิตที่ระลึกถึงได้
จิตไร้สำนึกหรือจิตใต้สำนึก (Unconscious mind)
ภาวะจิตที่ไม่อยู่ในภาวะที่รู้ตัวระลึกถึงไม่ได้
โครงสร้างทางจิต
อีโก้ (Ego)
ส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมที่เกิดจากความต้องการของ Id
อิด (Id)
ตัณหาหรือความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ขัดเกลา
ซุปเปอร์อีโก้ (Superego)
มโนธรรมหรือจิตส่วนที่ได้รับการพัฒนาจากประสบการณ์ การอบรมสั่งสอน
Erogenous Zones
ขั้นปาก (Oral Stage) 0-18 เดือน
ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage) 3-5 ปี
ขั้นแฝง (Latency Stage) เด็กวัยนี้อยู่ระหว่างอายุ 6-12 ปี
ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage) วัยนี้เป็นวัยรุ่นเริ่มตัวแต่อายุ 12 ปีขึ้นไป
ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) 18 เดือน – 3 ปี
กลไกการป้องกันตัว
การเก็บกด (Repression)
การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection)
การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization)
การถดถอย (Regression)
การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation)
การสร้างวิมานในอากาศหรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming)
การแยกตัว (Isolation)
การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement)
การเลียนแบบ (Identification)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Jean Piaget
ขั้นที่2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (อายุ 2 – 7 ปี)
ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด เรียนรู้ที่จะพูดและเข้าใจว่าคำศัพท์ รูปภาพ และท่าทางนั้นเป็นสัญลักษณ์สำหรับบางสิ่งบางอย่าง
ขั้นที่3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบเป็นรูปธรรม (อายุ 7 – 11 ปี)
ค้นพบเหตุผลเชิงตรรกะและเริ่มพัฒนาความคิดแบบเป็นรูปธรรม
ขั้นที่1 ประสาทการรับรู้และการเคลื่อนไหว (อายุ 0 – 2 ปี)
พัฒนาประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านประสบการณ์และการเคลื่อนไหว
ขั้นที่4 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบเป็นนามธรรม (อายุ 12 ปีขึ้นไป)
คิดแบบเป็นนามธรรมได้ เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น สามารถให้เหตุผลแบบนิรนัย
พัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg
ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre - Conventional Level)
ขั้นที่ 1 การถูกลงโทษและการเชื่อฟัง (Punishment and Obedience Orientation)
ขั้นที่ 2 กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน (Instrumental Relativist Orientation)
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม (Conventional Level)
ขั้นที่ 3 ความคาดหวังและการยอมรับในสังคม สำหรับ “เด็กดี” (Interpersonal Concordance of “Good boy , nice girl” Orientation)
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบ (“Law-and-order” Orientation)
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post - Conventional Level)
ขั้นที่ 5 สัญญาสังคมหรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา (Social Contract Orientation)
ขั้นที่ 6 หลักการคุณธรรมสากล (Universal Ethical Principle Orientation)
ทฤษฏีบุคลิกภาพของ Adler
บุคคลโดยพื้นฐานแล้วถูกจูงใจโดยปมด้อย
ความรู้สึกของตนเองจะแสดงบทบาทที่สำคัญ ในการสร้างรูปแบบของบุคลิกภาพ
โครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลเกิดขึ้นจากเป้าหมาย 2 ชนิด
พยายามปรับตัวให้เข้ากับสังคม (Social Adaptation)
พยายามทรงไว้ซึ่งอำนาจ(Attainment of Power)
ทฤษฎีบุคลิกภาพ แบบมนุษยนิยม โดย
Abraham Maslow and Carl Rogers
Abraham Maslow
จุดอ่อนในสิ่งที่บุคคลมีมาตั้งแต่แรกเกิด ควรจะจัดให้เป็นแนวทางบวก
เมื่อมนุษย์ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐานจนเป็นที่พึงพอใจแล้ว มนุษย์ก็จะมีความต้องการในลำดับขั้นที่สูงต่อไป
สังคมจะต้องให้การสนับสนุนส่งเสริมบุคคลที่มีความอ่อนแอ
Carl Rogers
ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสิ่งที่ดีและมีความสำคัญมาก โดยมีความพยายามที่จะพัฒนาร่างกายให้มีความเจริญเติบโตอย่างมีศักยภาพสูงสุด
มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ
ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept)
ตนตามที่เป็นจริง (Real Self)
ตนตามอุดมคติ (Ideal Self)
ทฤษฎีจิตสังคมของ Erik Erikson
พัฒนาการทางจิตสังคม 8 ขั้น
ระยะที่1: ไว้วางใจ และ ไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
ระยะเริ่มตั้งแต่เกิดถึงอายุประมาณ 18 เดือน
หากสำเร็จในระยะนี้จะทำให้เกิดลักษณะที่พึงมี (Virtue) คือความหวัง
ถ้าทารกไม่สามารถสร้างลักษณะนี้ได้จะทำให้เกิดความกลัวแทน
ระยะที่2: ความเป็นอิสระกับความละอายและสงสัย (Autonomy vs Shame and doubt)
ระยะ 18 เดือน ถึงประมาณ 3 ปี
หากสำเร็จในระยะนี้จะสร้างลักษณะคือ ความมุ่งมั่น
ถ้าถูกต่อว่า ถูกควบคุม จะทำให้รู้สึกขาดความภูมิใจในตนอง
ระยะที่3: ความคิดริเริ่ม กับ ความรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
เป็นระยะที่เด็กแสดงตัวตนมากขึ้น มีชีวิตชีวาและมีการพัฒนาชีวิตที่รวดเร็ว
ถ้าได้รับโอกาสตามที่ได้กล่าว เด็กจะสามารถพัฒนาทักษะความคิดริเริ่ม และมั่นใจในทักษะความเป็นผู้นำและตัดสินใจ
หากถูกจำกัด อาจโดยการถูกต่อว่าหรือถูกควบคุม เด็กจะพัฒนาความรู้สึกผิด
ระยะที่4: ขยัน กับ ความมีปมด้อย (Industry vs Inferiority)
เป็นระยะประมาณระหว่าง 5 ถึง 12 ปี
ถ้าเด็กได้รับการสนับสนุนในความคิดริเริ่ม จะทำให้เกิดความขยันและมั่นใจในความสามารถของตนเองในการทำให้ประสบความสำเร็จ
หากไม่ได้รับการสนับสนุน ถ้าจากครอบครัว หรือ ครูจำกัดความคิดริเริ่มทำให้เด็กรู้สึกต่ำต้อย ไม่มั่นใจในความสามารถของนเอง
ระยะที่5: เข้าใจอัตลักษณ์ของตนเอง กับ ไม่เข้าใจตนเอง (Identity vs Role confusion)
เป็นช่วงอายุ 12 ถึง18 ปี
หากสำเร็จจะทำให้เกิดลักษณะคือ ความจงรักภักดี
หากสร้างตัวตนในสังคมไม่สำเร็จอาจทำให้สับสน คือ ไม่เข้าใจตัวเองหรือบทบาทตัวเองในสังคม
ระยะที่6: ความใกล้ชิดสนิทสนม กับ ความรู้สึกเปล่าเปลี่ยว (Intimacy vs Isolation)
เป็นช่วงอายุ 18 ถึง 40
หากสำเร็จจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความรู้สึกผูกมัด มั่นคง และความใส่ใจในความสัมพันธ์
หากหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ลึกซึ้ง กลัวความผูกมัด และความสัมพันธ์อาจทำให้เกิดความโดดเดี่ยว เหงา และซึมเศร้าได้
ระยะที่7: ความเป็นส่วนรวม กับ ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation)
ช่วงอายุ 40 ถึง 65 ปี
ถ้าสำเร็จจะสร้างความรู้สึกเป็นประโยชน์ และประสบความสำเร็จ
หากไม่สำเร็จอาจรู้สึกว่าไม่ได้ให้ความส่วนร่วมทาง ทำให้คิดแต่ตนเองและไม่ขยันในงาน
ระยะที่8: ความมั่นคงทางจิตใจ กับ ความสิ้นหวัง (Integrity vs Despair)
เป็นช่วงอายุ 65 ปี ถึง บั้นปลายชีวิต
หากสำเร็จจะนำไปสู่ลักษณะคือ ปัญญา เพื่อให้มองย้อนหลังถึงชีวิตด้วยความรู้สึกสมบูรณ์ และยอมรับความตายโดยปราศจากความกลัว