Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบหมุนเวียนเลือด และระบบน้ำเหลือง - Coggle Diagram
ระบบหมุนเวียนเลือด
และระบบน้ำเหลือง
การลำเลียงสารในร่างกายของสัตว์
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด
พบใน หอย แมลง กุ้ง
เลือดไม่ได้ไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดตลอดเวลา
ระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด
เลือดมีการไหลเวียนในหลอดเลือดตลอดเวลา
พบใน ไส้เดือนดิน สัตว์มีกระดูกสันหลัง
ระบบน้ำเหลือง
น้ำเหลือง - เป็นของเหลวที่อยู่ในหลอดน้ำเหลืองและ
ต่อมน้ำเหลือง เกิดจากของเหลวที่ออกจากหลอดเลือดฝอย
มาอยู่ระหว่างเซลล์ และลำเลียงเข้าสู่หลอดน้ำเหลืองฝอย
หลอดน้ำเหลือง - หลอดน้ำเหลืองฝอยจากบริเวณต่างๆ
จะมาเชื่อมรวมกันเป็นหลอดน้ำเหลืองขนาดใหญ่ขึ้น
มีการนำน้ำเหลืองกลับเข้าสู่ระบบบหมุนเวียนเลือด
จะมีทิศทางการไฟลเข้าสู่หัวใจ
ต่อมน้ำเหลือง - น้ำเหลืองจะผ่านเข้าไปในต่อมน้ำเหลือง
ซึ่งจะมีหลอดน้ำเหลืองจำนวนมากเข้ามายังต่อมน้ำเหลือง
ภายในมีลิมโฟไซต์อยู๋อย่างหนาแน่น ทำหน้าที่กรอง
น้ำเหลือง และทำลายสิ่งแปลกปลอมที่มากับน้ำเหลือง
การลำเลียงสารในร่างกายของมนุษย์
หัวใจ
ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย
โดยมีเอเทรียมทำหน้าที่รับเลือดเข้าสู่หัวใจ
และเวนทริเคิลทำหน้าที่บีบตัวสูบฉีดเลือดออกจากหัวใจ
โดยมีลิ้นกั้นระหว่างเอเทรียมกับเวนทริเคิล และระหว่าง
เวนทริเคิลกับหลอดเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ
มีเยื่อหนาเรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ
ภายในแบ่งเป็น 4 ห้อง บน 2 ล่าง 2
อยู่ภายในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ค่อนไปทางซ้ายเล็กน้อย ภายในถุงเยื่อหุ้มหัวใจมีของเหลวที่สร้างจากเยื่อหุ้มหัวใจ ทำหน้าที่หล่อลื่นและป้องกันการเสียดสีระหว่างหัวใจกับปอด
หัวใจนำเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายทางเอออร์ตา
แล้วลำเลียงไปตามอาร์ทอรี อาร์เทอริโอล หลอดเลือดฝอย
และนำเลือดกลับเข้าสู่หัวใจทาง เวนูล เวน และเวนาคาวา
ขณะที่หัวใจบีบตัวสูบฉีดเลือด ทำให้เกิดความดันเลือดและชีพจร
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือดและชีพจร เช่น อายุ เพศ และสภาพร่างกาย
หลอดเลือด
มีลักษณะเป็นท่อสำหรับให้เลือดไหลเวียนเพื่อลำเลียงสารต่างๆ
เลือดในหลอดเลือดเวนจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ในขณะที่เลือดใน
หลอดเลือดอาร์เทอรี่จะไหลออกจากหัวใจ ความเร็วในการเคลื่อนที่
ของเซลล์เม็ดเลือดในหลอดเลือดอาร์เทอรี่เร็วกว่าในหลอดเลือดเวน
หลอดเลือดอาร์เทอรี
นำเลือดออกจากหัวใจไปปอดและส่วนต่างๆ
แบ่งเป็น เอออร์ตา อาร์เทอรี่ และ อาร์เทอริโอล
หลอดเลือดฝอย
มีขนาดเล็กที่สุด แตกแขนงมาจากอาร์เทอริโอล
มีการแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเนื้อเยื่อ
และหลอดเลือดเวน
นำเลือดออกจากปอดและส่วนต่างๆ กลับสู่หัวใจ แบ่งเป็น เวนูล เวน และ เวนาคาวา
เลือด
เพลตเลต - หรือเกล็ดเลือด มีขนาดเล็กมาก รูปร่างไม่แน่นอน เพลตเลตไม่ใช่เซลล์ แต่เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาสซึมของ
เซลล์ชนิดหนึ่งในไขกระดูก ที่หลุดเป็นชิ้นๆ เข้าสู่เลือด
เพลตเลตมีอายุประมาณ 10 วัน ช่วยให้เลือดแข็งตัว
จำแนกตามหมู่เลือดระบบ ABO ได้เป็น เลือดหมู่ A B AB O ซึ่งจำแนกตามชนิดของแอนติเจนที่ผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง และจำแนกตามหมู่เลือดระบบ Rh ได้เป็น เลือดหมู่ Rh+ และ Rh- การให้และรับเลือดมีหลักว่า แอนติเจนของผู้ให้ต้องไม่ตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ และการให้และรับเลือดที่เหมาะสมที่สุดคือ ผู้ให้และผู้รับควรมีเลือดหมู่ตรงกัน
เซลล์เม็ดเลือดแดง - ทำหน้าที่ลำเลียง O2 และ CO2
รูปร่างกลมแบน ตรงกลางบุ๋ม ไม่มีนิวเคลียสและไมโทคอนเดรีย
เซลล์เมือดเลือดขาว - ทำหน้าที่ป้องกันและทำลาย
เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมในระบบภูมิคุ้มกันของ
ร่างกาย มีจำนวนน้อยกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง
สร้างและเจริญที่ไขกระดูก
แกรนูโลไซต์ เป็นเซลล์ที่นิวเคลียสมีรูปร่างหลายแบบ มีลักษณะเป็นพู จำนวนมากกว่า 1 พู
สร้างจากไขกระดูก มีไซโทพลาสซึมค่อนข้างมาก และมีแกรนูลกระจายอยู๋ทั่วไปใน
ไซโทพลาสซึม แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ อีโอซิโนฟิล เบโซฟิล และ นิวโทรฟิล
อะแกรนูโลไซต์ เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ๋ จำนวน 1 พู นิวเคลียสมีลักษณะกลม
หรือคล้ายรูปไต อะแกรนูโลไซต์มี 2 ชนิด คือ โมโนไซต์ และ ลิมโฟไซต์
พลาสมา - เป็นของเหลวค่อนข้างใส มีสีเหลืองอ่อน ประกอบด้วยน้ำ 90% และสารอื่นๆ 10% โปรตีนที่พบในพลาสมาที่สำคัญคือ ไฟบริโนเจน ซึ่งจะเปลี่ยนไปเป็นไฟบริน