Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support) - Coggle Diagram
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma care system)
เป็นระบบสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้ได้ใช้แหล่งประโยชน์ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ลดอัตราการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
1. การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access)
คือ การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้งเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น ทุกพื้นที่ต้องสามารถเข้าถึงระบบหรือช่องทางนี้ได้ ถือเป็นการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้บาดเจ็บ และมีส่วนช่วยเหลือให้ผู้บาดเจ็บได้รับการรักษาดูแลได้ในเวลาอันรวดเร็ว
2. การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care)
คือ การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุโดยมีบุคลากรที่เป็นบุคลากรที่ได้รับการอบรมให้ความรู้ความสามารถ
โดยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของ
สิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก (scene safety)
3. การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care)
คือ การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย
4. การฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer)
คือ การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey) เป็นการตรวจประเมินพยาธิสภาพหรือการเปลี่ยนแปลง ต้องเรียงลำดับความสำคัญของการบาดเจ็บ
และภาวะคุกคามแก่ชีวิตให้ดี ประเมินสัญญาณชีพอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ให้ประเมินเปgนระบบ ตามลำดับขั้นตอนดังนี้
A Airway maintenance with cervical spine protection
B Breathing and ventilation
C Circulation with hemorrhagic control
D Disability (Neurologic Status)
E Exposure / environmental control
Resuscitation เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ ได้แก่ การดูแลทางเดินหายใจ การช;วยหายใจ
Secondary survey เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว ได้แก่ การซักประวัติ การตรวจ Head to toe การตรวจทางรังสีรักษา
Definitive care เป็นการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว เช่น การผ่าตัด Craniotomy การผ่าตัดหน้าท้อง Exploratory Laparotomy
Primary survey: ขั้นตอนและวิธีการ
Airway maintenance with cervical spine protection
เริ่มต้นจากการประเมิน Airway
เพื่อหาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Airway obstruction) ควรรวมไปถึงการดูดเสมหะ การหาสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
การเปิดทางเดินหายใจ
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ Head-tilt Chin-lift maneuver วิธีนี้จะทำให้คอของผู้ป่วยยืดออกได้มากที่สุดและช่วยให้ขากรรไกรล่างถูกดันมาด้านหน้าพร้อมกับ
กระดูก hyoid ซึ่งจะดึงลิ้นและฝาปิดกล่องเสียงให้ลอยขึ้นมา วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดควรทำเป็นอันดับแรก มีวิธีการดังนี้
ใช้มือข้างหนึ่งกดลงบนหน้าผากผู้ป่วย
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างยกกระดูกปลายคางขึ้น
ระวังอย่าให้นิ้วดันส่วนที่เป็นเนื้อใต้คางเพราะจะทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้นมากขึ้น
กรณีที่ไม่แน่ใจว่ามีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอให้ใช้วิธี jaw-thrust maneuver, modified jaw thrust
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ jaw-thrust maneuver เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีความชำนาญมากขึ้น ใช้ในกรณีมีการอุดกั้นทางเดินหายใจมากทำให้กระดูก hyoid ถูกยกขึ้นโดยตรง และดึงลิ้นออกมาห่างจากผนังด้านหลังของลำคอ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขโดการทำ Head-tilt Chin-lift maneuver ได้และเหมาะสมในกรณีที่มีผู้ช่วยฟื้นคืนชีพสองคน มีวิธีการดังนี้
ผู้ช่วยฟื้นคืนชีพอยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย
ใช้มือสองข้างจับมุมขากรรไกรล่างทั้งสองข้าง
ดึงขากรรไกรล่างแล้วยกขึ้นพร้อมกับดันไปข้างหน้าพร้อมกับดันศีรษะให้หงายไปข้างหลัง (jaw-thrust maneuver with Head-tilt)
กรณีสงสัยมีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ ให้ดึงขากรรไกรล่างแล้วยกขึ้นพร้อมกับดันไปข้างหน้าไม่ต้องหงายศีรษะไปข้างหลัง
(jawthrust maneuver without Head-tilt)
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ modified jaw-thrust maneuver เป็นการเปิดทางเดินหายใจเช่นเดียวกับการทำ jaw-thrust maneuver without Head-tilt
ใช้ในกรณีสงสัยมีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ มีวิธีการดังนี้
ผู้ช่วยฟื้นคืนชีพอยู่เหนือศีรษะผู้ป่วย
ใช้มือสองข้างจับมุมขากรรไกรล่างทั้งสองข้าง
ดึงขากรรไกรล่างแล้วยกขึ้นพร้อมกับดันไปข้างหน้าไม่ต้องหงายศีรษะไปข้างหลัง
ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งข้างกดที่ด้านหน้าของกระดูกขากรรไกลล่างบริเวณใต้มุมปาก
ออกแรงกดให้ปากอ้าออก
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ Triple airway maneuver เป็นการเปิดทางเดินหายใจในกรณีที่วิธีการดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่หมดสติบางคน มีวิธีการดังนี้
กรณีไม่มีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ ปฏิบัติตามวิธีการ
Head-tilt
jaw-thrust
open mouth
กรณีสงสัยมีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ ปฏิบัติตามวิธีการ
jaw-thrust
open mouth
ยกเว7นในกรณีฉุกเฉินที่ผู7ปYวยกำลังมีอันตรายแก;ชีวิตให7ปฏิบัติ
ตามลำดับคือ 1) Head-tilt 2) jaw-thrust 3) open mouth
Breathing and Ventilation เป็นการประเมิน การช่วยหายใจและการระบายอากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์
พยาบาลควรวินิจฉัยภาวะผิดปกติตั้งแต่ Primary survey ได้แก่ Tension pneumothorax, Flail chest with pulmonary contusion, Massive hemothorax, Open pneumothorax โดยประเมินจาก
การเปิดดูร่องรอยบาดแผลที่บริเวณทรวงอก
ดูการเคลื่อนไหวบริเวณทรวงอก
คลำ การเคาะเพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ
ฟัง Breath sound ทั้งสองข้าง
Circulation and Hemorrhage control เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว สีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล การประเมินในขั้นตอนนี้จึงหมายถึงการค้นหาภาวะ Shock ซึ่งหมายถึงภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จากการสูญเสียเลือด
Disability: Neurologic Status เป็นการประเมินระบบประสาทต่อว่าสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หลังจากดูแลผู้ป่วย Airway, Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (Life threatening injury) พยาบาลควรประเมิน เริ่มประเมินจากระดับความรู้สึกตัวซึ่งอาจประเมินได้ตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยพร้อม Airway อาจใช้ Glasgow Coma Scale
การกู้ชีพ (Resuscitation)
คือ การแก้ไขภาวะคุกคามต่อชีวิตหรือที่เป็นอันตรายเร่งด่วน โดยการกู้ชีพจะทำหลังจากการประเมิน เป็นลำดับของ ABC และสามารถทำไปพร้อมๆกับการประเมิน
Airway
ภายหลังจากการประเมิน การทำ Definitive airway ในผู้บาดเจ็บที่มีปัญหาการหายใจ สามารถรักษาได้โดยการใส่ท่อช่วยหายใจ
Breathing ผู้บาดเจ็บทุกรายควรได้รับออกซิเจนเสริมหากไม่ได้ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้บาดเจ็บควรได้รับออกซิเจนผ่านหน้ากาก (reservoir face mask) ที่เหมาะสมกับหน้าพอดีด้วย
Circulation การห้ามเลือดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในผู้บาดเจ็บโดยทำร่วมกับการให้สารน้ำทดแทน เมื่อทำการเปิดเส้นเลือดแล้วควรเก็บเลือดส่งตรวจเพื่อช่วยในการประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้น
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (Secondary Survey)
การประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างละเอียด มักทำหลังจาก primary survey และ Resuscitation จน Vital function เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เพื่อให้ได้ Definite diagnosis
History
อาจได้จากตัวผู้ป่วยเอง หรือในกรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวอาจต้องสอบถามจาก Prehospital personnel ได้แก่ ผู้เห็นเหตุการณ์ ผู้นำส่ง
Allergies
ประวัติการแพ้ยา สารเคมีหรือวัตถุต่างๆ
Medication
ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
Past illness/ Pregnancy
การเจ็บป่วยในอดีตและการตั้งครรภ์
Last meal
เวลาที่รับประทานอาหารครั้งล่าสุด
Event/ Environment related to injury
อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร รุนแรงเพียงใด
Blunt trauma
ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร พลัดตกจากที่สูง
Physical Examination
ในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ ควรตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด เพราะแรงที่มากระทำอาจทำ
Penetrating trauma
เกิดจากอาวุธปืน มีด ปัจจัยที่กำหนดชนิดและความรุนแรงของการบาดเจ็บอยู่ที่ตำแหน่งของร่างกายที่บาดเจ็บ ซึ่งจะบ่งบอกถึงอวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ
Head
ในการตรวจหนังศีรษะให้ใช้มือคลำให้ทั่วหนังศีรษะเพื่อหาบาดแผล อาจพบแผลฉีกขาด หากมีการเสียเลือดจากบาดแผลมากควรเย็บแผลชั่วคราวเพื่อป้องกันภาวะ Shock
Facial
ควรคลำกระดูกใบหน้าให้ทั่วเพื่อหา deformity ที่อาจบ่งบอก facial fracture
ได้เป็นส่วนใหญ่ บาดแผลบริเวณใบหน้าอาจมีการบาดเจ็บของกระดูกหน้าร่วมด้วย
Cervical spine and Neck
ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวทุกรายที่มีการบาดเจ็บศีรษะควรคำนึงถึง cervical spine injury พยาบาลจะใส่ Collar ให้ผู้ป่วยและไม่เคลื่อนไหวคอผู้ป่วยจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการบาดเจ็บของกระดูกคอจากการ X-ray
Chest
การตรวจจะเริ่มจากการมองหารอยช้ำ รอยยุบ คลำดูว่ามี Crepitus หรือเจ็บที่จุดใด โดยตรวจให้ทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ดูการบาดเจ็บเช่น Contusion, Hematoma
Abdomen
ในผู้ป่วยที่บาดเจ็บและเกิดภาวะ Shock ให้สงสัยการบาดเจ็บในช่องท้องและมีการเสียเลือดเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยที่บาดเจ็บอาจเกิดการบาดเจ็บหลายระบบ การตรวจประเมินทางร่างกายอาจไม่พบความผิดปกติจึงไม่ควรด่วนสรุปว่าผู้ป่วยมีการบาดเจ็บช่องท้องด้วยหรือไม่จากการตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียว
Pelvic fracture
จะตรวจพบ Ecchymosis บริเวณ Iliac wing, Pubis, Labia หรือ Scrotum และเมื่อตรวจ Pelvic compression ผู้ป่วยจะมี pain on palpation และมี sign of unstability
Re-evaluation
ในระยะแรกที่ดูแลผู้ป่วยที่บาดเจ็บ ควรมีการประเมินร่างกายซ้ำเป็นระยะๆ เพื่อประเมินหาการบาดเจ็บที่อาจตรวจไม่พบในระยะแรก และเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บภายหลังได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นแล้ว (Definitive Care)
เป็นการรักษาอย่างจริงจังหลังจากได้ทำ secondary survey เรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง เป็นการรักษาจำเพาะของการบาดเจ็บแต่ละอวัยวะ ได้แก่การผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น Intracranial hematoma,
Intra-abdominal bleeding รวมทั้ง multiple organ injury เป็นต้น