Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความคิดสร้างสรรค์ - Coggle Diagram
ความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
1.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงจิตวิเคราะห์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในจิตใต้สํานึก ระหว่างแรงขับทางเพศ (Libido) กับความรู้สึกผิดชอบทางสังคม (Social Conscience)
ความคิดสร้างสรรค์นั้นเกิดขึ้นระหว่างการรู้สติกับจิตใต้สานึก ซึ่งอยู่ในขอบเขตของจิตส่วนที่เรียกว่า จิตก่อนสํานึก
2.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงพฤติกรรมนิยม
เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการ เรียนรู้ โดยเน้นที่ความสําคัญของการเสริมแรง การตอบสนองที่ถูกต้องกับสิ่งเร้าเฉพาะหรือ สถานการณ์
3.ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์เชิงมานุษยนิยม
ความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่เกิด ผู้ที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์ออกมาใช้ได้คือผู้ที่มีสัจการแห่งตน คือรู้จักตนเอง พอใจตนเอง และใช้ตนเองเต็มตามศักยภาพของตนมนุษย์จะสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ของตนเองมาได้อย่างเต็มที่นั้นขึ้นอยู่กับการสร้างสภาวะหรือบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ได้กล่าวถึงบรรยากาศที่สำคัญในการสร้างสรรค์ว่า ประกอบด้วยความปลอดภัยในเชิงจิตวิทยา ความมั่นคงของจิตใจ ความปรารถนาที่จะเล่นความคิดและการเปิดกว้างที่จะรับประสบการณ์ใหม่
4.ทฤษฎีอูต้า (AUTA)
ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคนและสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิกสร้างสรรค์ตามรูปแบบอูต้าประกอบด้วย 4 ขั้นตอน
1 การตระหนัก (Awareness) คือ ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเอง สังคม ทั้งในปัจจุบันและอนาคต และตระหนักถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในตนเองด้วย
2 ความเข้าใจ (Understanding) คือ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
3 เทคนิควิธี (Techniques) คือ การรู้เทคนิคในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคล และเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ (Actualization) คือ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง และพยายามใช้ตนเองและพยายามใช้ตนเองเต็มศักยภาพ รวมทั้งการเปิดกว้างรับประสบการณ์ต่างๆ โดยมีการปรับตัวได้อย่างเหมาะสม การตระหนักถึงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน การผลิตผลงานด้วยตนเอง และมีความคิดที่ยืดหยุ่นเข้ากับทุกรูปแบบของชีวิต
ความหมายของความคิดสร้างสรรค์
ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆโดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป และความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดใหม่ผสมผสานกัประสบการณ์ก็ได้
องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่คิดได้กว้างไกลหลายทิศทาง หรือเรียกว่าลักษณะการคิดแบบอเนกนัยหรือการคิดแบบกระจาย (Divergent thinking)
1.ความคิดริเริ่ม (ORIGINALITY)
ลักษณะของความคิดแปลกใหม่ แตกต่างจากความคิดเดิม จึงเป็นความคิดที่เกิดขึ้นครั้งแรก ไม่เคยมีใครนึกคิดมาก่อนแต่เป็นความคิดที่ต้องอาศัยความคิดจินตนาการประยุกต์ ที่คิดแล้วต้องคิดต่อและทำให้เกิดผลงาน
2.ความคิดคล่องตัว/หลากหลาย (FLUENCY)
ปริมาณความคิดที่ไม่ซ้ำกันเมื่อตอบปัญหาเรื่องเดียวกันความคล่องในการคิดนี้มีความสำคัญต่อการแก้ปัญหาหลายๆ วิธี และต้องการนำวิธีการเหล่านั้นมาทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้อง
3.ความคิดยืดหยุ่น (FLEXIBILITY)
ความคิดยืดหยุ่นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ด้าน คือ 1.ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) 2.ความคิดยืดหยุ่นด้านการดัดแปลง(Adaptive Flexibility) ความคิดยืดหยุ่นจะเป็นตัวหนุนเสริมความคิดคล่องแคล่ว ให้มีความแปลกแตกต่างออกไป หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนและเพิ่มคุณภาพของความคิดให้ดี และมีมากขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานของการนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์เช่นเดียวกัน
4.ความคิดละเอียดละออ (ELABORATION)
เป็นลักษณะของความพยายามในการใช้ความคิด และประสานความคิดต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความสำเร็จ