Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย, น.ส…
บทที่ 5
แนวคิด หลักการการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน และสาธารณภัย
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
ประเทศไทยมีการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยรูปแบบ Anglo-American Model (AAM) ซึ่งในปัจจุบันแนวคิดระบบการแพทย์ฉุกเฉินประกอบด้วยสองโมเดลที่ถูกนำมาอ้างอิงการจัดระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉินในประเทศที่พัฒนาแล้ว
Franco-German Model (FGM)
“Stay and Stabilize” ให้เวลานานในการดูแลอาการในสถานที่เกิดเหตุและนำการรักษาไปยังสถานที่เกิดเหตุ และนำบริการโรงพยาบาลมาหาผู้ป่วย
Anglo-American Model (AAM)
“Scoop and run” เวลาสำหรับการประคับประคองอาการในสถานที่เกิดเหตุสั้นและนำผู้ป่วยส่งยังสถานพยาบาลให้เร็วที่สุด และนำผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คือ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน จำเป็นต้องดำเนินการช่วยเหลือ และการดูแลรักษาทันที อาจเกิดจากภาวะต่าง ๆ
ผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน หมายถึง ผู้ที่ทีอาการหนักรุนแรงต้องการการดูแลจากเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง โดยใช้หลักและกระบวนการพยาบาลที่สมบูรณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะคุกคามชีวิต
ไม่รู้สึกตัว ชัก เป็นอัมพาต
หยุดหายใจ หายใจช้ากว่า 10 ครั้งต่อนาที หรือเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อย
คลำชีพจรไม่ได้ หรือชีพจรช้ากว่า 40 หรือเร็วกว่า 30 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต Systolic ต่ำกว่า 80 มม.ปรอท หรือ Diastolic สูงกว่า 130 มม.ปรอท
ตกเลือดเลือดออกมากซีดมาก
เจ็บปวดทุรนทุรายกระสับกระส่าย
มือเท้าซีดเย็น เหงื่อออกมาก
อุณหภูมิของร่างกายต่ำกว่า 35 เซลเซียส หรือสูงกว่า 40 เซลเซียส
ถูกพิษจากสัตว์ เช่น งู หรือสารพิษชนิดต่าง ๆ
การเจ็บป่วยวิกฤต คำว่า วิกฤต มาจากคำที่ใช้ในภาษาอังกฤษ คือ “Crisis” และ “Critical” ทั้งสองคำนี้ มีความหมายที่ใกล้เคียงกันมาก จึงนำมาใช้สับเปลี่ยนกันอยู่เสมอ แต่การนำคำทั้งสองคำนี้มาใช้ในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต จะทำให้มองเห็นความแตกต่างกันได้ ซึ่งการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงถึงขั้นที่อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิต หรือพิการได้
“Crisis” นำมาใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในสภาวะที่มีสถานการณ์คับขัน เป็นจุดวิกฤตของการเป็นโรค ทำให้มีอาการดีขึ้น หรือตายได้ในทันทีผู้ป่วยในสภาวะนี้มีโอกาสของความเป็นความตายได้เท่ากัน
จุดมุ่งหมาย
เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยการรักษา จึงมุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏอันตราย โดยเฉพาะระบบของร่างกายที่มีการล้มเหลว เพื่อแก้ไขภาวะล้มเหลว หรือรักษาสภาพการทำงานของระบบนั้น
“Critical” จะนำมาใช้ในผู้ป่วยอาการเพียบหนัก มีอาการรุนแรง หรือขั้นฉุกเฉิน มีอันตราย
จุดมุ่งหมาย
เพื่อดำรงรักษาชีวิต มุ่งเน้นแก้ไขอาการที่ปรากฏในครั้งแรก และการป้องกันไม่ให้เข้าสู่สถานการณ์คับขัน Crisis ในการประคับประคองให้ความสำคัญกับทุกระบบไม่ให้นำสู่สภาวะที่เป็นปัญหาต่อไป
ผู้ป่วยวิกฤตมีลักษณะ
ผู้ป่วยที่สามารถรักษาได้ เช่น ผู้ป่วยที่หมดสติ ผู้ป่วยที่มีระบบการหายใจล้มเหลวเป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีอัตราตายสูง เช่น ผู้ป่วย Septic Shock หากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในอัตราสูง
ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มที่จะมีอาการรุนแรง เช่น ผู้ป่วย myocardialin farction ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
ผู้ป่วยที่อัตราตายสูง แม้จะได้รับการรักษา เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย
อุบัติเหตุ (Accident) คือ อุบัติการณ์ซึ่งเกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายมาก่อน ทำให้เกิดการบาดเจ็บตายและการสูญเสียทรัพย์สินโดยที่เราไม่ต้องการ ถ้าอุบัติเหตุมีขนาดใหญ่ เรียกว่า Disaster ความรุนแรงแบ่งออกเป็น อุบัติเหตุปกติที่เกิดขึ้นทุกวัน และสาธารณภัยวินาศภัย
ผู้บาดเจ็บจากสาธารณภัย
กลุ่มอาการไม่รุนแรง หากผู้ป่วยเดินได้อาจถือว่าอาการไม่หนัก
กลุ่มอาการหนัก ต้องหามนอนหรือนั่งมาอาการแสดงยังคลุมเครือต้องใช้การตรวจอย่างละเอียด
กลุ่มอาการหนักมาก หรือสาหัสต้องการการรักษาโดยด่วนหรือช่วยชีวิตทันทีกลุ่มผู้ป่วยเสียชีวิตเป็นกลุ่มที่หมดหวังในการรักษา
หลักการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
หลักทั่วไปในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะฉุกเฉิน
เพื่อช่วยชีวิต เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจ ต้องรีบช่วยหายใจโดยการผายปอด ด้วยวิธีการที่เหมาะสม และนวดหัวใจทันที
การป้องกันและบรรเทาไม่ให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นวิกฤต
การบันทึกเหตุการณUอาการและการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
การส่งต่อรักษา หลังจากให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ป่วยแล้ว ต้องรีบเคลื่อนย้ายนำส่งโรงพยาบาล
หลักการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพงานบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของสภาการพยาบาล พ.ศ. 2552
ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่กำลังคุกคามชีวิตผู้ป่วย
ค้นหาสาเหตุและ/หรือปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ แล้วดำเนินการแก้ไข
ดูแลและรักษาสภาวะของผู้ป่วยให้อยู่ระดับปลอดภัย และคงที่โดยการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
รักษาหน้าที่ต่าง ๆ ของอวัยวะสำคัญของร่างกายให้คงไว้
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนและติดเชื้อ
ประคับประคองจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยและญาติ
การพยาบาลสาธารณภัย
ภัยพิบัติ/สาธารณภัย
"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือโดยมนุษย์อย่างทันทีและทำให้ระบบการดูแลรักษาที่มีอยู่เดิมชะงักลงหรือเพิ่มความต้องการในการปฏิบัติงานขององค์กร เหตุการณ์เช่นเดียวกันแต่เกิดในที่ห่างไกลหรือชนบทซึ่งอาจถือว่าเกินกำลังของโรงพยาบาลแห่งนั้นและต้องการความช่วยเหลือจากนอกโรงพยาบาลก็ถือว่าเป็นภัยพิบัติ"
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster)
ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใด ๆ ที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
สาธารณภัย / ภัยพิบัติ (Disaster) หมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือจากการกระทำของมนุษย์แล้วก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
ประเภทของภัยพิบัติ
ภัยที่เกิดจากธรรมชาติ (Natural Disaster)
ภัยที่เกิดจากมนุษย์ (Man-made Disaster)
การจัดระดับความรุนแรงของสาธารณภัยทางสาธารณสุข
ความรุนแรงระดับที่ 1 : สาธารณภัยที่เกิดขึ้นทั่วไปหรือมีขนาดเล็ก
ความรุนแรงระดับที่ 2 : สาธารณภัยขนาดกลาง หน่วยงานสาธารณสุขระดับอำเภอไม่สามารถจัดการได้
ความรุนแรงระดับที่ 3 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง
ความรุนแรงระดับที่ 4 : สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงยิ่ง
อุบัติภัย
ภัย (Hazard) หมายถึง เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใด ๆ ที่สามารถที่ทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตความเสียหายต่อทรัพย์สินความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
อุบัติเหตุกลุ่มชน/อุบัติภัยหมู่ (MASS CASSUALTIES)
อุบัติเหตุที่เกิดกับคนจำนวนมาก ได้รับการเจ็บป่วยจำนวนมาก เกินขีดความสามารถปกติที่โรงพยาบาลจะให้การรักษาพยาบาลได้ ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถปฏิบัติภารกิจ
ลักษณะสำคัญ
เกิดการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยของประชาชนจำนวนมาก
มีการทำลายของทรัพย์สินหรือสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรที่มีอยู่ในภาวะปกติไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้ควบคู่สถานการณ์
ระบบและกลไกปกติของสังคมถูกทำลายหรือไม่เพียงพอที่จะควบคุมสถานการณ์ได้
ประเภทของอุบัติภัยหมู่แบ่งตามขีดความสามารถของสถานพยาบาล
Multiple casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยไม่เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิต (life Threatening) จะได้รับการรักษาก่อน
Mass casualties ทั้งจำนวนและความรุนแรงของผู้ป่วยเกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลและทีมผู้รักษา ผู้ป่วยที่มีโอกาสรอดชีวิตมากที่สุด โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุดจะได้รับการรักษาก่อน
หลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บ
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ได้ประสบภัยพิบัติหรืออุบัติภัยหมู่จำเป็นต้องมีมาตรฐานความรู้ในการประเมินสถานการณ์ รายงานข้อมูล และการตอบสนองต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยหลักการบริหารจัดการในที่เกิดเหตุและรักษาผู้บาดเจ็บตาม Disaster paradigm
D – Detection คือ การประเมินสถานการณ์ว่าเกินกำลังหรือไม่
I - Incident command คือ ระบบการบัญชาเหตุการณ์และผู้ดูภาพรวมของการปฏิบัติการทั้งหมด
S – Safety and Security คือ การประเมินความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในที่เกิดเหตุ
A – Assess Hazards คือ การประเมินสถานที่เกิดเหตุเพื่อระแวดระวังวัตถุอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเหลือตกค้างในที่เกิดเหตุ
S – Support คือ การเตรียมอุปกรณUและทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในที่เกิดเหตุ
T – Triage/Treatment คือ การคัดกรองและให้การรักษาที่รีบด่วนตามความจำเป็นของผู้ป่วย
ID-me (Immediate, Delayed, Minimal, Expectant) ได้อย่างรวดเร็ว
E – Evacuation คือ การอพยพผู้บาดเจ็บระหว่างเหตุการณ์
R – Recovery คือ การฟื้นฟูสภาพหลังจากเกิดเหตุการณ์
ลักษณะของการปฏิบัติการพยาบาลในสถานการณ์สาธารณภัย
มุ่งลดความเสียหายต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนที่เกิดจากสาธารณภัย โดยใช้องค์ความรู้และทักษะทางการพยาบาลอย่างเป็นระบบ
ต้องนำความรู้และทักษะทางการพยาบาลทั่วไปและด้านการพยาบาลฉุกเฉินมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ภัยพิบัติ ทั้งในระยะก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิดภัย
เป็นการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อ
ป้องกันและลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย
มุ่งเน้นด้านการพยาบาลฉุกเฉินแก่ผู้ประสบภัยจำนวนมากในขณะเกิดภัย
การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ประสบภัยและญาติ
คุณสมบัติพยาบาลสำหรับจัดการสาธารณภัย
มีความรู้ทางการพยาบาลและมีประสบการณ์การปฏิบัติงานการพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินและวิกฤต และด้านการรักษาโรคเบื้องต้นได้
มีความรู้ด้านสาธารณภัย มีความสามารถในการประเมินสถานการณ์และคาดการณ์ถึงปัญหาสุขภาพที่จะเกิดจากสาธารณภัยชนิดต่าง ๆ รวมทั้งมีความสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุมทุกระยะของการเกิดภัย
มีทักษะในการตัดสินใจที่ดี มีความเป็นผู้นำ และสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
มีทักษะในการสื่อสาร และการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วนชัดเจน
มีวุฒิภาวะที่เหมาะสมกับสถานการณ์
แนวทางปฏิบัติในระบบทางด่วน (Fast track) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
ระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนเป็นแนวทางของระบบบริการสุขภาพที่ช่วยนำผู้ป่วยให้เขาถึงบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างทันเวลา และลดระยะเวลาการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน แต่ละสถานพยาบาล/สถาบันสามารถดำเนินการจัดทำหรือจัดการแตกต่างกัน
การจัดทำควรเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ในสวนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการ
จัดทำแผนภูมิการดูแลผู้ป่วย พร้อมกำหนดลักษณะผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วนที่เข้าระบบทางด่วน
จัดทำแนวปฏิบัติ ลำดับการปฏิบัติในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงประตูโรงพยาบาล หรือห้องฉุกเฉิน พร้อมกำหนดหน้าที่ต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้อง
จัดทำรายการตรวจสอบ (check list) สำหรับการลงข้อมูล ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ
ฝึกอบรมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีความรู้และสามารถดำเนินการตามระบบทางด่วน
แผนการปฏิบัติต้องเน้นย้ำเวลาเป็นสำคัญ ต้องมีแผนปฏิบัติการรองรับเพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
กำหนด clinical indicator เพื่อการติดตามและประเมินผลในแต่ละขั้นตอนของระบบทางด่วน (Fast track/Pathway system) สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
บทบาทพยาบาลกับ Fast track
บทบาทพยาบาลกับระบบทางด่วน (Fast track)
การประเมินเบื้องต้นโดยใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะโรค
การรายงานแพทย์ผู้รักษาเพื่อตัดสินใจสั่งการรักษา
การประสานงานผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การจัดการและดูแลขณะส่งต่อ
การให้การดูแลตามแผนการรักษาภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด
การติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง
การให้ความช่วยเหลือเมื่อมีความผิดปกติและติดตามการประเมินผลลัพธ์
การดำเนินงานเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในภาพรวม
การจัดระบบให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
บทบาทพยาบาลในระบบทางด่วน (Fast track)
EMS (accessibility)
Triage/ Specific triage/ Assessment
Activate system
Flow (purpose-process-performance)
Investigation
Care delivery
Monitoring: early warning signs & E-response
Risk management (general & clinical)
Co-ordination, Communication, Handover
Inter & Intra transportation
Evaluation, output, outcome
Improvement, Innovation, Integration
หลักการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma life support)
ระบบการดูแลผู้บาดเจ็บ (Trauma care system) เป็นระบบสำหรับการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้ได้ใช้แหล่งประโยชน์ที่เหมาะสมและคุ้มค่า ลดอัตราการเสียชีวิตที่ป้องกันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
การเข้าถึงหรือรับรู้ว่ามีเหตุเกิดขึ้น (Access) คือ การเข้าถึงช่องทางสำหรับการติดต่อในการแจ้งเมื่อมีเหตุเกิดขึ้น
การดูแลในระยะก่อนถึงโรงพยาบาล (Prehospital care) คือ การจัดให้มีการดูแลผู้บาดเจ็บ ณ จุดเกิดเหตุ
การดูแลในระยะที่อยู่โรงพยาบาล (Hospital care) คือ การดูแลรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่การคัดแยก ระบบทางด่วนฉุกเฉิน การวินิจฉัย การรักษาตามความเร่งด่วน รวมถึงการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วย การฟื้นฟู
การฟื้นฟูสภาพ และการส่งต่อ (Rehabilitation & transfer) คือ การดูแลต่อเนื่องในรายที่พบปัญหาหรือต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีภายหลังจากการได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
การดูแลผู้บาดเจ็บขั้นต้น
การประเมินผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บเบื้องต้น (Primary Survey)เป็นการตรวจประเมินพยาธิสภาพหรือการเปลี่ยนแปลง ต้องเรียงลำดับความสำคัญของการบาดเจ็บและภาวะคุกคามแก่ชีวิตให้ดี
Resuscitation เป็นการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
Secondary survey เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียดหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะวิกฤตแล้ว
Definitive care เป็นการรักษาหลังจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นแล้ว
Primary survey: ขั้นตอนและวิธีการ
Breathing and Ventilation
เป็นการประเมิน การช่วยหายใจและการระบายอากาศเพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศ เพื่อให้ได้ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์ การดูแลควรเปิดให้เห็นบริเวณคอและทรวงอกเพื่อประเมินตำแหน่งของหลอดลม
Circulation and Hemorrhage control
เป็นการประเมินในระบบไหลเวียนและการห้ามเลือด โดยประเมินจากสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัวสีผิว อุณหภูมิ รวมถึงปริมาณเลือดที่ออกจากบาดแผล
การประเมินในขั้นตอนนี้จึงหมายถึงการค้นหาภาวะ Shock
Airway maintenance with cervical spine protection เริ่มต้นจากการประเมิน Airway เพื่อหาอาการที่เกิดจากทางเดินหายใจอุดกั้น (Airway obstruction) ควรรวมไปถึงการดูดเสมหะ การหาสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ Triple airway maneuver เป็นการเปิดทางเดินหายใจในกรณีที่วิธีการดังกล่าวข้างต้นไม่มีประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่หมดสติบางคน
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ jaw-thrust maneuver เป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีความชำนาญมากขึ้น ใช้ในกรณีมีการอุดกั้นทางเดินหายใจมาก ทำให้กระดูก hyoid ถูกยกขึ้นโดยตรง และดึงลิ้นออกมาห่างจากผนังด้านหลังของลำคอ ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถ
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ modified jaw-thrust maneuver เป็นการเปิดทางเดินหายใจเช;นเดียวกับการทำ jaw-thrust maneuver without Head-tilt ใช้ในกรณีสงสัยมีการบาดเจ็บบริเวณต้นคอ
วิธีการเปิดทางเดินหายใจแบบ Head-tilt Chin-lift maneuver วิธีนี้จะทำให้คอของผู้ป่วยยืดออกได้มากที่สุดและช่วยให้ขากรรไกรล่างถูกดันมาด้านหน้าพร้อมกับกระดูก hyoid ซึ่งจะดึงลิ้นและฝาปิดกล่องเสียงให้ลอยขึ้นมา ผ่านทางกล้ามเนื้อ geniohyoid และ hyoepiglottic ligament วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดควรทำเป็นอันดับแรก
Disability: Neurologic Status เป็นการประเมินระบบประสาทต่อว่าสมองหรือไขสันหลังได้รับบาดเจ็บหรือไม่ หลังจากดูแลผู้ป่วย Airway, Breathing, Circulation ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต (Life threatening injury)
การประเมินสภาพร่างกายผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างละเอียด (Secondary Survey)
การประเมินสภาพผู้ป่วยอย่างละเอียด มักทำหลังจาก primary survey และ Resuscitation จน Vital function เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว เพื่อให้ได้ Definite diagnosis
History ประวัติและ Mechanism of Injury อาจได้จากตัวผู้ป่วยเอง หรือผู้นำส่ง ซึ่งสรุปได้เป็นคำย่อคือ AMPLE
Allergies ประวัติการแพ้ยา สารเคมีหรือวัตถุต่าง ๆ
Medication ยาที่ใช้ในปัจจุบัน
Past illness/ Pregnancy การเจ็บป่วยในอดีตและการตั้งครรภ์
Last meal เวลาที่รับประทานอาหารครั้งล่าสุด
Event/ Environment related to injury อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร รุนแรงเพียงใดสถานการณUสิ่งแวดล้อมขณะเกิดเหตุเป็นอย่างไร
การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บภายหลังได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นแล้ว (Definitive Care) เป็นการรักษาอย่างจริงจังหลังจากได้ทำ secondary survey เรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ไขพยาธิสภาพโดยตรง เป็นการรักษาจำพาะของการบาดเจ็บแต่ละอวัยวะ
น.ส.ณิชกมล พงค์กลาง 6201210989 SEC.A เลขที่ 44