Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การละครไทย - Coggle Diagram
การละครไทย
ละครในและละครดึกดำบรรพ์
ละครใน
เรื่องที่ใช้แสดงละครในนั้นมีอยู่ ๔ เรื่อง ได้แก่ รามเกียรติ์ อุณรุท อิเหนา และตาหลัง เข้าใจกันว่าละครในสมัย เริ่มแรกเล่นกันแต่เรื่องรามเกียรติ์ และอุณรุทเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับนารายณ์อวตาร ใช้สำหรับเฉลิม พระเกียรติพระมหากษัตริย์ ผู้อื่นจึงไม่สามารถนำไปเล่นได้ ต่อมาละครในไม่ค่อยได้เล่น ๒ เรื่องนี้ เหลือแต่โขนและ หนังใหญ่ที่เล่นเรื่องรามเกียรติ ส่วนเรื่องดหลังไม่ค่อยนิยมแสดงนัก เพราะชื่อตัวละครเรียกยาก ยาก เนื้อเรื่องก็ สับสนไม่สนุกสนานเท่าเรื่องอิเหนา ต่อมาพวกละครนอกและลิเกจึงนำไปแสดงบ้าง ดังนั้นในสมัยรัตนโกสินทร์ นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ ละครในจึงนิยม แสดงอยู่เพียงเรื่องเดียวนาน ๆ จึงจะมีผู้จัดแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุทสักครั้งหนึ่ง
จากรูปแบบของละครนอกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวละครในวัง ผู้แสดงหญิงล้วน แบบอย่างละครในนี้ได้สงวนไว้ เฉพาะในวังหลวงเท่านั้น เพราะว่าผู้ชายนั้นจะถูกห้ามให้เข้าไปในพระราชฐานชั้นใน บริเวณตำหนักของ พระมหากษัตริย์ ซึ่งจะประกอบไปด้วยดนตรีที่มีเสียงไพเราะอ่อนหวาน ใช้บทร้อยกรองได้อย่างวิจิตรบรรจง รวมทั้ง จะมีท่าทางสง่างาม ไม่มีการสอดแทรกหยาบโลนหรือตลก และอนุรักษ์วัฒนธรรมและคุณลักษณะที่เป็นประเพณีสืบ ทอดกันมา
บทละครในที่แต่งได้ดีเยี่ยมได้แก่เรื่องรามเกียรติและอิเหนา ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย การแสดงละครในมุ่งที่ความประณีตสวยงามเป็นหลัก ทั้งศิลปะการที่มีลีลาท่าทางงดงาม นุ่มนวล เครื่องแต่งกายสวยประณีต ดนตรีและเพลงที่ไพเราะ
ละครดึกดำบรรพ์
เป็นการแสดงละครแบบหนึ่งในประเภทละครเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องมาจากในสมัยรัชกาลที่ ๕ มี เจ้านายชาวต่างชาติเข้าเฝ้าอยู่หลายครั้ง จึงโปรดให้มีการละเล่นให้แขกบ้านแขกเมืองได้รับชม โดยเจ้าพระยาเทเวศ รวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) ได้คิดการแสดงในรูปแบบคอนเสิร์ตโดยเนื้อเรื่องตัดตอนมาจากวรรณคดีไทย โดยมี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเลือกเพลงและอำนวยการซ้อม จึงถือว่าการแสดง ในครั้งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของละครดึกดำบรรพ์ ต่อมาภายหลังเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ได้มีโอกาสชมละคร โอเปร่า จึงเกิดความชอบใจและนำปรับปรุงให้เข้ากับละครดึกดำบรรพ์ของไทย ละครดึกดำบรรพ์ที่นิยมเล่นได้แก่เรื่อง สังข์ทอง คาวี ฯลฯ
การแสดงละครดึกดำบรรพ์แสดงในโรงปิดขนาดเล็ก ดนตรีประกอบการแสดงใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ดัดแปลงมาจาก วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ระนาดเอกไม้นวม ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก . ละครพันทางและละครเสภา
ละครพันทาง
ละครพันทาง หมายถึงละครแบบผสม คือ การนำเอาลีลาท่าทีของชนต่างชาติเข้ามาปรับปรุงกับท่ารำแบบ ไทย ๆ การแสดงละครชนิดนี้แต่เดิมเป็นการริเริ่มของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง เป็นผู้คิดค้นนำเอาเรื่องของ พงศาวดารของชาติต่าง ๆ มาแต่งเป็นบทละครสำหรับแสดง
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ได้กำหนดชื่อนี้และทรงปรับปรุงให้มีฉากประกอบ การแสดงเพื่อให้ แลเห็นสมจริงสมเนื้อร้องซึ่งยังปรับปรุงลีลาท่ารำของชนชาติกับท่าทางอิริยาบถของสามัญชนเข้ามาผสมกัน เพลงร้อง ประกอบการแสดงนั้นส่วนมากต้นเสียงกับลูกคู่เป็นผู้ร้อง แต่ก็มีบ้างที่กำหนดให้ตัวละครเป็นผู้ร้อง ปี่พาทย์ ประกอบการแสดงใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม บทที่ใช้มักเป็นบทที่กล่าวถึงตัวละครที่มีเชื้อชาติต่าง ๆ เช่น พม่า มอญ จีน ลาว บทที่นิยมนำมาเล่นในปัจจุบันมีเรื่อง พระลอ และราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา ลักษณะการแต่งตัวของ ละครพันทางจะแต่งตามเชื้อชาติ และความเป็นจริงของตัวละครในบทนั้น ๆ
ละครเสภา
ละครเสภา คือละครที่มีลักษณะการแสดงคล้ายละครนอก รวมทั้งเพลงร้อง ทำนองดนตรี และการแต่ง กายของตัวละคร แต่มีข้อบังคับอยู่อย่างหนึ่งคือต้องมีขับเสภาแทรกอยู่ด้วยจึงจะเป็นละครแนว
ก่อนที่จะเกิดละครเสภาขึ้นนั้น เข้าใจว่าจะมีการขับเสภาเป็นเรื่องราวก่อน เรื่องที่นาขับเสภาและนิยมกันอย่าง แพร่หลายคือ เรื่องขุนช้างขุนแผน การขับเสภาตั้งแต่โบราณนั้นไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใดประกอบ นอกจากครับที่ผู้ขับ ขยับประกอบแทรกในทำนองขับของตนเท่านั้น ครั้นเวลาต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่ง ทรงโปรดสดับการขับเสภาได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดวงปี่พาทย์เข้าประกอบเป็นอุปกรณ์ขับเสภา โดยให้แทรกเพลงร้องส่ง ให้ปี่พาทย์รับและบรรเลงเพลงหน้าพาทย์เหมือนอย่างการแสดงละครนอก ตอนใดดำเนินเรื่องก็ขับเสภา ตอนโตเป็น ถ้อยคำรำพันหรือข้อความอื่นที่ควรแก่การร้องส่งก็ร้อง จะเป็นเพลงช้าปีหรือโออย่างละครนอกก็ได้ ตอนโตเป็นบท ไปมาหรือรบกัน ปี่พาทย์ก็บรรเลงเพลงเชิดประกอบ ต่อมาได้วิวัฒนาการให้มีผู้แสดงออกมาแสดงตามบทเสภาและบท ร้อง ครั้งแรกก็อาจจะเป็นเพียงตอนใดตอนหนึ่ง ครั้นต่อมาก็เลยปรับปรุงให้เป็นการแสดงทั้งหมด และเรียกการแสดง
นี้ว่า “เสก”
ละครเสภาที่นิยมเล่นกันมาก คือ ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก พระวัยแตกทัพ ขุนแผน เข้าห้องนางแก้วกิริยา เป็นต้น
ละครชาตรีและละครนอก
ละครชาตรี
ละครชาตรี เป็นรูปแบบละครร าที่เก่าแก่ของไทยที่ได้รับการฟื้นฟูจนถึงทุกวันนี้ เรื่องของละครชาตรีมีกำเนิดมาจากเรื่องมโนราห์ การแสดงโนราเป็นที่นิยมอยู่ทางภาคใต้ ส่วนละครชาตรีมีความนิยมทางภาคกลาง ซึ่งมักหาดูได้ในงานแก้บน แบบแผนการแสดงโนราชาตรีคล้ายคลึงกับละครของทางมลายูที่เรียกกันว่า “มะโย่ง” แต่ต่างกันที่ภาษา
และทานองดนตรี
ละครโนราชาตรีอาจจะมีผู้นำมาแสดงในภาคกลางตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ที่มีหลักฐานแน่ชัด คือในสมัยที่ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปปราบก๊กเจ้านครครั้งหนึ่ง และต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อีก 5 ครั้ง ในครั้งหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดให้ชาวภาคใต้ที่อพยพเข้ามาในกรุงเทพ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลสนามกระบือ ได้ จัดตั้งคณะละครแสดงกันแพร่หลาย
ละครชาตรี แต่เดิมผู้แสดงเป็นชายล้วนมีเพียง ๓ คนเท่านั้น ได้แก่ นายโรง ซึ่งแสดงเป็นตัวพระ อีก ๒ คน คือ ตัวนาง และตัวจำอวด ซึ่งแสดงตลก และเป็นตัวเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น ฤาษี พราน สัตว์ แต่เดิมนิยมแสดงเพียง ไม่กี่เรื่อง เช่น เรื่องมโนราห์ นายโรงจะแสดงเป็นตัวพระสุธน ตัวนางเป็นมโนราห์ และตัวจำอวดเป็นพรานบุญ และ อีกเรื่องหนึ่งที่นิยมแสดงไม่แพ้กัน คือ เรื่องพระรถเสน นายโรงเป็นตัวพระรถ ตัวนางเป็น เมรี และตัวจำอวดเป็นม้า พระรถเสน ในสมัยหลังละครชาตรี เพิ่มผู้แสดงให้มากขึ้นและใช้ผู้หญิงร่วมแสดงด้วย
ละครนอก
ละครนอก มีการดำเนินท้องเรื่องที่รวดเร็ว กระชับ สนุก การแสดงมีชีวิตชีวา ส่วนมากใช้ผู้ขายแสดง และมีมา ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เข้าใจว่าละครนอกมีวิวัฒนาการมาจากละครชาตรี เพราะมุ่งที่จะให้คนดูเกิดความขบขัน ผู้ แสดงละครนอกแต่เดิมมีผู้แสดงอยู่เพียง ๒-๓ คน เช่นเดียวกับละครชาตรี ละครนอกไม่คำนึงถึงขนบธรรมเนียม ประเพณีเกี่ยวกับยศศักดิ์และฐานะของตัวละครแต่อย่างใด ตัวละครที่เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ก็สามารถโต้ตอบตลก กับเสนากำนัลหรือไพร่พลได้ ละครนอกที่นิยมเล่นได้แก่เรื่อง สังข์ทอง ไกรทอง สุวรรณหงส์ พระอภัยมณี เป็นต้น
ละครร้องและละครเพลง
ละครร้อง
ละครร้องเป็นศิลปะการแสดงแบบใหม่ที่กำเนิดขึ้นในตอนปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ละครร้องได้ปรับปรุงขึ้นโดยได้รับอิทธิพลจากละครต่างประเทศ ละครร้องนั้นต้นกำเนิดมาจากการแสดงของ ชาวมลายู เรียกว่า “บังลาวัน” (Malay Opera) ได้เคยเล่นถวายรัชกาลที่ ๕ ทอดพระเนตรครั้งแรกที่เมืองไทรบุรี และ ต่อมาละครบังสาวันได้เข้ามาแสดงในกรุงเทพฯ โรงที่เล่นอยู่ข้างวังบูรพา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์ ทรงแก้ไขปรับปรุงเป็นละครร้องเล่นที่โรงละครปรีดาลัย (เดิมสร้างอยู่ในวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ นราธิปประพันธ์พงศ์ ถนนตะนาว) ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนเรียกชื่อว่า "ละครหลวงนฤมิตร” บางครั้งคนยังนิยมเรียกว่า ละครปรีดาลัย” อยู่ ต่อมาเกิดคณะละครร้องแบบปรีดาลัยขึ้นมากมายเช่น คณะปราโมทัย ปราโมทย์เมือง ประเทือง ไทย วิไลกรุง เป็นต้น ละครนี้ได้นิยมกันมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ ๙ โรงละครที่เกิดครั้งหลังสุด คือ โรง ละครนาคบันเทิงของแม่บุนนาค กับโรงละครเทพบันเทิงของแม่ช้อย
นอกจากนี้ได้เกิดละครร้องขึ้นอีกแบบหนึ่ง โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยาม มกุฎราชกุมาร ทรงดัดแปลงละครของชาวตะวันตก จากละครอุปรากรที่เรียกว่า "โอเปอเรติก ลิเบรคโต" (Operatic Libretto) มาเป็นละครในภาษาไทย และได้รับความนิยมอีกแบบหนึ่ง ละครร้องจึงแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด
๑.ละครร้องสลับพูด ใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ละครร้องสลับพูด ใช้ผู้หญิงแสดง ล้วน ยกเว้นตัวตลกหรือจำอวดที่เรียกว่า "ตอกตามพระ” ซึ่งใช้ผู้ชายแสดง มีบทเป็นผู้ช่วยพระเอกแสดงบทตลกขบขัน จริงๆ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวมหรืออาจใช้วงมโหรีประกอบ เพลงที่ใช้เป็นเพลงชั้นเดียว หรือเพลง ๒ ชั้น ในขณะที่ตัวละครร้องใช้ขอคลอตามเบาๆ เรียกว่า “ร้องคลอ"
๒.ละครร้องล้วนๆ ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามกุฎราชกุมาร (รัชกาลที่ 5) ละครร้องล้วนๆ ใช้ผู้ชายและผู้หญิงแสดงจริงตามเนื้อเรื่อง บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้เป็นเพลงชั้นเดียวหรือเพลง ๒ ชั้น ที่ ห้านาทํานองไพเราะ
ละครเพลง
เป็นละครของเอกชนที่เกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ละครที่มีชื่อเสียงนี้คือ "คณะจันทโรภาส” เป็นละครของนายจวงจันทน์ จันทร์คณา (พรานบูรณ์) สิ่งหนึ่งที่พรานบูรณ์ทำเป็นหลักคือ ปรับปรุงเพลง ไทยเดิมที่มีทำนองร้องเอื้อน มาเป็นเพลงไทยสากลที่ไม่มีทำนองเอื้อน นับเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงเพลง ไทยเดิมมากทีเดียว มักใช้ผู้แสดงทั้งผู้ขาย และผู้หญิง แสดงจริงตามบทบาทในเรื่อง การแต่งกาย แต่งตามสภาพความ เป็นจริงของเนื้อเรื่องที่แสดง เรื่องที่แสดง ได้แก่ จันทร์เจ้าขา โจ๊ะโจ้ซัง ฝนสั่งฟ้า คืนหนึ่งยังจำได้ ฯลฯ การแสดงจะ ดำเนินเรื่องด้วยบทเพลงที่ปรับปรุงขึ้นใหม่จากเพลงไทยเดิมเป็นเพลงไทยสากล ใช้ท่าทางที่เป็นธรรมชาติประกอบบท ร้อง ผู้แสดงจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการร้องเพลงเป็นอย่างดี
ละครพูดและละครเวที
ละครพูด
ละครพูด คือละครที่ใช้ศิลปะการพูดในการดำเนินเรื่อง เป็นละครแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก แบ่ง
ได้เป็น 2 ประเภท คือ
๑. ละครพูดล้วน ๆ ในสมัยโบราณใช้ผู้ชายแสดงล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน ต่อมานิยมใช้ผู้แสดงชายจริงหญิงแท้ การแต่งกายจะแต่งกายตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงของตัวละคร เรื่องที่แสดงเรื่องแรก คือ เรื่องโพงพาง" เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ เรื่องต่อมาคือ "เจ้าข้าลารวัด” ทั้งสองเรื่อง เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การแสดงจะดำเนินเรื่องด้วยวิธีพูดใช้ทำทางแบบสามัญชนประกอบ การพูดที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของละครชนิดนี้คือ ในขณะที่ตัวละครคิดอะไรอยู่ในใจ มักจะใช้วิธีป้องปากพูดกับผู้ดู ถึงแม้จะมีตัวละครอื่นๆ อยู่ใกล้ๆ ก็สมมติว่าไม่ได้ยิน การบรรเลงดนตรีจะบรรเลงโดยวงดนตรีสากลหรือวงพาทย์ไม้นวม แต่จะบรรเลงประกอบเฉพาะเวลาปิดฉากเท่านั้น
๒. ละครพูดสลับ ใช้ผู้แสดงทั้งชายและหญิง เหมือนละครพูดแบบร้อยกรอง การแต่งกายจะการแต่งกายเหมือนละครพูดล้วนๆ หรือแต่งกายตามเนื้อเรื่อง เรื่องที่ใช้แสดง ได้แก่ เรื่องชิงนาง และปล่อยแก่ ซึ่งเป็นของนายหัว ทองอินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทร้องแทรก โดยใช้พระนามแฝงว่า "ศรีอยุธยา และทรงแสดงเป็นหลวงเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ การแสดงจะยึดถือบทพูดมีความสำคัญในการดำเนินเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว บทร้องเป็นเพียงสอดแทรกเพื่อเสริมความ ความ การบรรเลงดนตรีจะบรรเลงดนตรีคล้ายกับละครพูดล้วนๆแต่บางครั้งในช่วงดำเนินเรื่อง ถ้ามีบทร้อง ดนตรีก็จะบรรเลงร่วมไปด้วย
ละครเวที
ละครเวที จะเน้นการร้องมากกว่า คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีกเริ่มต้นขึ้นจากการกล่าวคำบูชาเทพเจ้าไดโอนีซุส เทพเจ้าแห่งไวน์และความอุดมสมบูรณ์
จุดเด่นของละครเวทีคือ การสื่อสารระหว่างผู้ชมกับนักแสดง การสื่อสารระหว่างผู้ชมและนักแสดงเกิดขึ้นไปพร้อม ๆกัน วอลเตอร์ เคอร์ นักวิจารณ์ชาวอเมริกันพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า "ความสัมพันธ์ระหว่างคนดูกับนักแสดงเช่นนี้ไม่มีในภาพยนตร์ เพราะภาพยนตร์เป็นสิ่งที่สร้างมาสำเร็จรูปแล้ว มันไม่สามารถตอบสนองเราได้ เพราะนักแสดงในภาพยนตร์ไม่สามารถได้ยินเรา รู้สึกถึงตัวตนของเราและไม่ว่าเราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรก็ไม่มีผลใดๆ องค์ประกอบของละครเวทีคือ การแสดงสดบนเวที ที่มีฉาก แสง เสียง ประกอบ และบทละคร
ละครวิทยุและละครโทรทัศน์
ละครวิทยุ
ละครวิทยุ เป็นการนำการแสดงที่มีอยู่มาออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง ดังนั้นลักษณะของบทละครวิทยุจึงแตกต่างจากบทละครทั่วไป ผู้ประพันธ์จะต้องหาวิธีสร้างจินตนาการให้แก่ผู้ฟัง ให้สามารถเข้าใจและนึกถึงภาพความเป็นไปของเรื่องได้ นับตั้งแต่บุคลิกลักษณะ กิริยาท่าทาง อุปนิสัยใจคอของ ตัวละคร อารมณ์และความรู้สึกต่างๆจะต้องแสดงออกทางคำพูดของตัวละคร ใส่ความรู้สึกทางคำพูด การเจรจาบทต้องใส่อารมณ์เป็นพิเศษ เพราะผู้ฟังมองไม่เห็น ภาพตัวละคร บทละครวิทยุต้องมี บทบรรยาย แทรกเพื่อช่วยให้การดำเนินเรื่องกระชับ เป็นการเล่าประวัติเหตุการณ์ต่างๆ เสริมจาก บทละคร ผู้ประพันธ์อาจใช้วิธีบรรยายโดยสอดแทรกไว้ในบทสนทนาของตัวละคร ผู้ควบคุมการแสดง จะต้องมีความสามารถเข้าใจ ตอนไหนจะให้ตัวละครใช้เสียงอย่างไร เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศของเรื่อง ตัวละครสำหรับบทละครวิทยุต้องมีตัวสำคัญประมาณ ๓-๔ ตัวและต้องเลือกผู้แสดงที่มี เสียงแตกต่างกันมากๆ มิฉะนั้นผู้ฟังจะแยกเสียงไม่ออกว่าเป็นบทของตัวละครตัวไหน
ั้นตอนการดำเนินเรื่อง แต่ละคณะมีวิธีการนำเสนอที่เป็นสูตรคล้ายๆกัน คือ เริ่มต้น ผู้บรรยายทักทายผู้ฟังบอกชื่อคณะละคร วัน เวลาที่ออกอากาศ ชื่อเรื่อง ชื่อเจ้าของบทประพันธ์ ชื่อผู้เขียนบทละครวิทยุ เล่าถึงความเดิมตอนที่แล้ว ผู้ฟังบางคนอาจไม่ได้ฟัง เพื่อเตือนความทรงจำของผู้ฟังอีกครั้ง
ละครโทรทัศน์
ละครโทรทัศน์ คือรายการทางโทรทัศน์ที่มีบทละครและเรื่องราว ไม่รวมถึงรายการจำพวก กีฬา ข่าว เรียลลิตี้โชว์ เกมโชว์ สแตนอัพคอเมดี้ และวาไรตี้โชว์ โดยละครโทรทัศน์โดยมากจะมีหลายตอน เน้นความบันเทิงเป็นหลัก เพื่อการรับชมภายในเคหะสถาน
นักแสดงที่แสดงในละครโทรทัศน์จะใช้หลายมุมกล้อง บางครั้งนักแสดงจะไม่ทราบว่าเมื่อไรกล้องจะจับภาพ ทางด้านบทละครโทรทัศน์ ต้องมีความละเอียดทุกขั้นตอนกว่าละครเวที เพราะบทโทรทัศน์เป็นตัวกำหนดมุมกล้อง กำหนดฉากการแต่งกายของผู้แสดง ดนตรี เสียงประกอบ และบางเรื่องยังมีคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาเพื่อความสมจริงอีกด้วย
หลังจากที่ประเทศไทยเปิดสถานีช่อง 4 บางขุนพรหม ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรก หลังจากนั้น 2 เดือนจึงมีละครโทรทัศน์เรื่องแรก คือ เรื่อง สุริยานี้ไม่ยอมแต่งงาน ของนายรำคาญ (ประหยัด ศ. นาคะบาท) นำแสดงโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และ โชติรสสโมสร(๑) ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.๒๔๙๙ ละครโทรทัศน์ในยุคนี้เป็นการแสดงสด ส่วนละครพูดที่แต่งขึ้นใหม่สำหรับแสดงทางโทรทัศน์โดยเฉพาะ เป็นละครสั้นจบในตอน เนื่องจากห้องส่ง (สตูดิโอ) มีขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องใช้ฉากจำกัด นอกจากนี้นักแสดงยังจำบทละครไม่ได้ จึงต้องมีการบอกบทขณะแสดงด้วย ในปีแรก ๆ มีละครโทรทัศน์เพียง 6 เรื่อง