Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภูมิปัญญาด้านที่อยู่อาศัย - Coggle Diagram
ภูมิปัญญาด้านที่อยู่อาศัย
การเลือกทำเลที่อยู่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นภาคที่มีความเเห้งเเล้งกว่าภาคอื่น เเละดินในภาคนี้ส่วนใหญ่เป็นดินปนทรายที่ไม่อุ้มน้ำ จึงไม่สามารถเก็บน้ำได้ เเต่บางปีก็เกิดน้ำท่วม ดั้งนั้นจึงมีการเลือกสถานที่ตั้งบ้านเรือนเเตกต่างกันไปตามสถานที่ คือ มีทั้งที่ราบลุ่ม ใกล้เเหล่งน้ำ ที่ดอนมีน้ำซับ หรือชายป่า
ภาคเหนือ
นิยมตั้งถิ่นฐานบริเวณที่ราบลุ่มริมเเม่น้ำระหว่างหุบเขา เมื่อเมืองขยายตัว จึงต้องมีการจัดการระบบชลประทานที่เรียกว่า ฝาย เพื่อให้มีน้ำพอใช้ในการเกษตร
ภาคกลาง
เป็นที่ราบลุ่มที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีเเม่น้ำไหลผ่านหลายสาย การตั้งบ้านเรือนจึงมักสร้างตามริมเเม่น้ำเป็นเเนวยาวไปตลอดทั้งสองฝั่งของลำนำ
ภาคใต้
ชาวใต้อาศัยน้ำบ่อ หรือน้ำพัง(ตระพัง)ในชีวิตประจำวัน เหตุที่ไม่นิยมใช้น้ำจากเเม่น้ำลำคลอง เนื่องจากเเม่น้ำภาคใต้ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากน้ำเค็มเมื่อน้ำทะเลหมุน
ลักษณะของเรือนไทย
หลักการ
เป็นเรือนสำเร็จรูปชั้นเดียว ที่สร้างเสร็จเป็นส่วนๆ เเล้วมาประกอบเป็นเรือนโดยใช้ระบบเข้าลิ่มเข้าเดือยเป็นตัวยึดไม้ให้เข้ากันเเทนตะปู ตัวเรือนมีลักษณะสูงโปร่ง มีใต้ถุนสูง
โครงสร้าง
เรือนเครื่องผูก
สร้างจากวัสดุที่หาได้ง่ายตามท้องถิ่นทั่วไทย เช่น ไม้ไผ่ หวาย ใบตอง ฝีมือการสร้างไม่ประณีตนัก
เรือนเครื่องสับ
เป็นเรือนที่พัฒนามาจากเรือนเครื่องผูก เเต่ใช้ไม้จริงเพื่อให้มีความมั่นคง เเข็งเเรง ในการสร้างเสาเรือนมักใช้เนื้อเเข็ง ฝาเรือนไม้ประดิษฐ์ พื้นใช้ไม้กระดาน หลังคาใช้กระเบื้องดินเผาหรือไม้ ผู้ที่จะสามารถครอบครองเรือนเครื่องสับได้ จึงมักเป็นผู้ที่มีฐานะดี เเละมีตำเเหน่งทางสังคม
ประโยชน์ของเรือนไทย
ป้องกันน้ำท่วนเเละอันตรายจากสัตว์ร้าย
การมีใต้ถุนสูงมีประโยชน์หลายประการ เช่น ป้องกันน้ำท่วม เเละสัตว์อันตราย
รับลมเเละระบายความร้อน
เรือนไทยนิยมปลูกเรือนตามเเบบตะวันตก การวางเรือนทำให้เรือนไม่ถูกเเสงเเดดส่องทั้งเวลาเช้าเเละบ่าย
ป้องกันฝนสาดหรือน้ำนอง
หลังคาทรงสูงช่วยระบายน้ำฝนลงสู่พื้นได้เร็ว ไม่เกิดน้ำขังบนเพดานหรือรั่วเข้ามาภายในเรือน
การเพิ่มประโยชน์ของรั้วเเละชานเรือน
เรือนไทยมีชานเรือนที่กว้าง สามารถใช้ประกอบกิจกรรมได้ทั้งวัน บนชานเรือนมันปลูกต้นไม้ เเละข้างรั้วมักปลูกพืชผักสวนครัว
ป้องกันความร้อนอบอ้าวของอากาศหรือเเสงเเดด
เนื่องจากเป็นหลังคาทรงสูง ช่วยให้ตัวเรือนมีอากาศที่เย็นสบาย อีกทั้งหลังคาที่มุงด้วยฉนวนธรรมชาติ ช่วยไม่ให้ความร้อนถ่ายเทเข้ามาในตัวเรือน เเละยังช่วยระบายความร้อน
สนองการใช้ประโยชน์ได้ง่าย
เนื่องจากตัวเรือนเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใต้ถุนสูงจึงมีที่โล่งใต้ถุนเรือน เเละยังมีเฉลียง มีชานเรือนที่โล่ง สามารถใช้ทำกิจกรรมได้ทั้งวัน
คติความเชื่อเรื่องการปลูกเรือนไทย
เริ่มจากการเลือกพื้นที่ ระยะเวลาในการปลูกเรือน ความเชื่อเรื่องเสา เเละการประกอบพิธีบูชาเจ้าต่างๆ เพราะเรือนหลังหนึ่งใช้เวลาอาศัยนาน ผู้อยู่ก็ปราถนาจะอยู่เรือนอย่างเป็นสุข เจริญหน้าที่การงาน
ประเภทเรือนไทยทั้ง4ภาค
ภาคกลาง
เรือนครอบครัวขยาย
เมื่อลูกเเต่งงาน พ่อเเม่มักปลูกเรือนให้ลูกกับลูกเขยต่างหาก
เรือนคหบดี
เป็นเรือนขนาดใหญ่ ผู้สร้างฐานะดี
เรือนครอบครัวเดี่ยว
เป็นเรือนขนาดเล็ก มีเรือนนอก1หลัง เรือนครัว1หลัง
ตัวอย่างเรือนภาคกลาง
หอไตร วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
ตำหนักเเดง
ตำหนักเขียว
ภาคเหนือ(เรือนกาเเล เรือนล้านนา)
ภาคเหนือมีอากาศเย็น เรือนที่อาศัยจึงต้องมีชายคาที่ลาดคลุมลงมาต่ำถึงตัวเรือน มีหน้าต่างน้อยเพื่อให้ความอบอุ่น
ลักษณะเด่น ที่ยอดปั้นลมนิยมประดับไม้กาเเลที่เเกะสลักอย่างงดงาม มีชานกว้างโล่งหรือเติ๋น เหนือประตูห้องนอนมักประดับยันต์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เรือนดั้งต่อดิน
เป็นเรือนที่มีสัดส่วนเเละเเข็งเเรง นิยมปลูกเป็นเรือนเเฝดใต้ถุนสูง มีเรือนไฟเเละร้านน้ำ
เรือนถาวร
เรือนเครื่องสับไม้จริง รูปทรงเรียบบง่าย หลังคาจั่วมีหน้าต่างบานเล็กๆ
เรือนกึ่งถาวร
เป็นเรือนเครื่องผูกหรือผสมเรือนเครื่องสับ เป็นเรือนของเขยที่พึ่งเเยกตัวออกจากพ่อเเม่
ภาคใต้
เรือนยกพื้นสูงเช่นเดียวกับภาคอื่นๆ เเต่เนื่องจากภาคใต้มีฤดูฝนที่ยาวนาน จึงนิยมเอาท่อนไม้ หิน ปูนหล่อเป็นฐานรองรับเสาไม้ โดยให้เสาเเละฐานเเข็งเเรง เพื่อความมั่นคง
การปลูกต้นไม้ในบริเวณบ้านของคนไทย
การปลูกตามคติความเชื่อ
นิยมปลูกต้นไม้มงคลรอบบ้านทั้ง 8 ทิศ เช่นต้นมะยม จะทำให้คนยกย่อง
การปลูกพืชผักพื้นบ้าน
เพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น ทำอาหารหรือเครื่องปรุงรส - กระเพรา โหระพา ทำขนมหรือย้อมผ้า - ขมิ้น เป็นต้น
การปลูกไม้หอม
การปลูกเครื่องหอมเช่น กระดังงา จำปา ตกเเต่งสถานที่ เช่น กุหลาบ