Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ, image, image, image, image, image,…
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
-
-
-
-
-
-
เป็นโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)ประกอบด้วย ประเทศสมาชิกตามแนวแม่น้ำโขง ได้แก่
เขตเศรษฐกิจสามฝ่ายเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่าง 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ซึ่งต่างเป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีอาเซียน โครงการนี้เริ่มต้นในช่วงเดือน มกราคม-เมษายน 2536 โดยทั้ง 3 ประเทศเห็นชอบให้ขอความร่วมมือจากธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ให้ศึกษาความเป็นไปได้และกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ
เป็นความร่วมมือที่ไม่ได้ครอบคลุมทั้งประเทศ แต่เป็นความร่วมมือเฉพาะเขตที่กำหนดขึ้นและมีจุดเด่นคือ เอกชนจะเป็นผู้ระบุความต้องการและให้รัฐบาลให้การสนับสนุนตามความต้องการของเอกชน
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ (ค.ศ. ๑๙๖๗) อาเซียนเป็นการรวมตัวกันของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค สร้างเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมือง สนับสนุนความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสามเสาหลัก
สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เป็นชื่อโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทย พม่า ลาว และจีน ริเริ่มโดยภาคเอกชนของทั้ง ๔ ประเทศ เพื่อร่วมมือกันทางด้านการค้าการท่องเที่ยว และคมนาคม สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจครอบคลุมอาณาบริเวณของ ๔ ประเทศ ได้แก่ ตอนเหนือของไทย พม่าและลาว กับตอนใต้ของจีน ซึ่งได้แก่ส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ ยุทธศาสตร์ ๕ เชียง ” อันหมายถึง เชียงใหม่ - เชียงราย - เชียงตุง - เชียงรุ่ง - เชียงทอง เชียงตุงอยู่ในพม่า เชียงรุ่งหรือเชียงรุ้ง เป็นชื่อเมืองในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ส่วนเชียงทองก็คือหลวงพระบาง เมืองหลวงเก่าของลาว ส่วน สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ นั้นเป็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ ๓ ประเทศ อยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย ตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซีย และภาคเหนือของเกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย “ ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม สำนักพิมพ์สารคดี ”
จุดประสงค์สำหรับการจัดตั้งธนาคารของกลุ่ม BRICS นั้น ก็เพื่อเป็นเงินทุนให้ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย รวมถึงประเทศสมาชิกได้กู้ยืมไปใช้ ในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในประเทศ และยังนำไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย โดยก่อนหน้านี้ กลุ่ม BRICS ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ธนาคารโลก และไอเอ็มเอฟว่า ให้สิทธิ์ประเทศกำลังพัฒนาน้อยจนเกินไป ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาตกอยู่ในภาวะเสียเปรียบ
เป็นสถาบันการเงินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก ผ่านการให้เงินกู้ และความสนับสนุนด้านเทคนิค ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509 โดยความช่วยเหลือของสหประชาชาติ มีประเทศเข้าร่วมก่อตั้ง 32 ประเทศ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 68 ประเทศ เป็น 49 ประเทศในภูมิภาค และ 19 ประเทศจากพื้นที่อื่น
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่าง ๆ เพื่อให้มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกัน ในอัตราที่น้อยที่สุด หรือ ในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งประเทศที่มีการรวมกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้น จะได้เปรียบทางการค้ามากกว่า ประเทศที่อยู่นอกกลุ่มในเรื่องของอัตราภาษี โดยการเปิดเสรีทางการค้านั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะด้านสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านบริการ และการลงทุนด้วย เช่น เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก กรอบความร่วมมือนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2532 เพื่อตอบสนองต่อภาวะการพึ่งพาซึ่งกันและกันของเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิกที่ เพิ่มมากขึ้น จาก จุดเริ่มต้นด้วยการหารืออย่างไม่เป็นทางการในระดับรัฐมนตรีด้วยสมาชิกเพียง 12 ราย เอเปคได้พัฒนาจนกลายมาเป็นเวทีในระดับภูมิภาคที่มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเอเปคได้เริ่มจัดการพบปะระหว่างผู้นำเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 เป็นต้นมา ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ มีประชากรรวมกันประมาณ 2,500 ล้านคน (ประมาณ ร้อยละ 42 ของประชากรโลก) มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติรวมกันกว่า 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2544 และการค้าระหว่างประเทศกว่า ร้อยละ 69 ของไทยเป็นการค้ากับสมาชิกเอเปค ด้วยศักยภาพข้างต้น เอเปคได้กลายมาเป็นพลังผลักดันการค้าแบบเปิดและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ วิชาการอย่างแท้จริง
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-