Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Dumping Syndrome - Coggle Diagram
Dumping Syndrome
การรักษา
-
ควรหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำหรือของเหลวระหว่างรับประทานอาหาร โดยให้ดื่มน้ำได้หลังจากรับประทานอาหารอย่างน้อย 30 นาที
-
ควรลดอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (Low carbohydrates) หรือทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex carbohydrate) ก็คือคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านกรรมวิธีหรือการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง, ข้าวโอ๊ต, ธัญพืชต่างๆ, เผือก, มันเทศ, ฟักทอง เป็นต้น
-
-
-
แนะนำให้นอนราบเป็นเวลา 30นาที หลังรับประทานอาหาร เพื่อลดอาการเป็นลม (syncope) โดยสามารถเพิ่มระยะเวลาให้อาหารอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น และช่วยเพิ่มอัตราการไหลของเลือดกลับสู่หัวใจ (Venous return)
การวินิจฉัย
Oral glucose provocation and hydrogen breath test ช่วยวินิจฉัยในรายที่ยังวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจน โดยให้ผู้ป่วยดื่มกลูโคส 50 กรัม หลังจากที่ให้อดอาหาร10 ชั่วโมง ถ้าหากพบว่ามีอัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) เพิ่มขึ้น 10 ครั้ง/นาที ในชั่วโมงแรก ถือว่าผลเป็นบวก (positive) โดยการทดสอบนี้มีความไวของการทดสอบ (sensitivity) 100%และความจำเพาะของการทดสอบ (specificity) 92%
-
การวินิจฉัย late dumping โดยเก็บตัวอย่างเลือด (blood sampling) ซ้ำๆ หลังให้การทดสอบด้วยการดื่มน้ำตาลกลูโคส โดยจะพบว่ามีระดับน้ำตาลในเลือด (plasma glucose level) เพิ่มสูงขึ้นในชั่วโมงแรกและลดลงในอีก 1-2 ชั่วโมงถัดมา
การตรวจพิเศษทางรังสีของทางเดินอาหารส่วนต้น (upper GI study) ก็ช่วยยืนยันการที่มีrapid gastric emptying time
ประเภท
Early dumping
สาเหตุ เกิดจากหลังจากการทำผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ รวมไปถึงการผ่าตัดแบบบายพาส (Bypass) จะส่งผลทําให้การทำงานของอวัยวะที่ควบคุมระยะเวลาที่อาหารคงอยู่ในกระเพาะหรือ gastric emptying time ทำงานไม่ปกติและเสียสมดุลไป เป็นผลให้อาหารที่ทานเข้าไป และยังไม่ย่อย (Hyperosmolar Chyme) ผ่านลงสู่ลําไส้เล็กส่วนต้นอย่างรวดเร็ว
เกิดอาการภายใน 10-30 นาที หลังรับประทานอาหาร โดยอาการที่เกิดขึ้นจะเกิดจากการที่อาหารที่ทานเข้าไปไหลออกจากกระเพาะอาหาร เข้าไปสู่ลำไส้เล็กส่วนต้นรวดเร็วเกินไป (rapid gastric emptying time) ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็จะดึงเอาสารน้ำหรือของเหลว (fluid shift) ที่อยู่ในหลอดเลือด (intravascular compartment) เข้าไปในลำไส้ (intestinal lumen) ทำให้ลำไส้เกิดการโป่งพอง (small bowel distension) และบีบตัวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น
-
-
-
-
-
-
-
-
Late dumping
-
สาเหตุ มาจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ผ่านลงสู่ลำไส้เล็กอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคสอย่างรวดเร็ว จึงกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามาก(hyperinsulinemic response) และทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา (reactive hypoglycemia) ผู้ป่วยที่มีอาการ dumping รุนแรงจะทำให้เกิดการกลัวการทานอาหาร (Sitophobia) ทำให้น้ำหนักลด และขาดสารอาหาร (malnutrition)
ความหมาย
เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร แต่ก็ไม่ได้เป็นในทุกคนเสมอไป ซึ่งผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังการผ่าตัด เพื่อปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการรับประทานอาหารด้วย เพื่อปรับสมดุลในร่างกาย