Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 20-21 - Coggle Diagram
ทฤษฎีการเรียนรู้ในทศวรรษที่ 20-21
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)
นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ ผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล มนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)
เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง
นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น
ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman) การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)พัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง
ทฤษฎีสนาม (Field Theory)การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel) การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย
ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
พฤติกรรมนิยม
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง ไม่ดี ไม่เลว
การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข(Conditioning Theory)
4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinners Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล
2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watsons Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน
1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlovs Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthries Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ
ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์(Thorndike) มีความเชื่อว่าเป็นการเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยกระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์(Hulls Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้า การเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagnes eclecticism)
ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง
ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities)
ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
สร้างความสนใจ(Gaining attention)