Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหลายภาษาของวัยรุ่นผู้ไทในอําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม, นางสาวนิภาวรรณ…
ภาวะหลายภาษาของวัยรุ่นผู้ไทในอําเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ส่วนใหญ่แล้ววัยรุ่นผู้สามารถใช้ภาษาได้มากถึง 3 ภาษา คือ ภาษาไท ภาษาลาวอีสาน และภาษาไทย การศึกษาภาวะหลายภาษาในประเทศไทยแสดงให้เห็นว่า หลายชุมชน ในประเทศไทยเป็นชุมชนหลายภาษา (Multilingual Community) เพราะชุมชนต่าง ๆ ล้วนมีกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มอาศัยอยู่ร่วมกัน
กลุ่มชาติพันธุ์มีปฏิสัมพันธ์กัน (Interaction) ย่อมเกิดการเรียนรู้ภาษาต่างกลุ่มชาติพันธุ์ และเรียนรู้ภาษาประจำภูมิภาค ที่ใช้เป็นภาษากลางเพื่อสื่อสารกันในภูมิภาค รวมทั้งเรียนรู้ภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาราชการ และเป็นภาษาประจำชาติด้วย
การศึกษาเกี่ยวกับภาวะหลายภาษาในต่างประเทศแสดงให้เห็นว่าแนวคิด นี้ยังเป็นแนวคิดที่นักวิชาการให้ความสำคัญกับการศึกษาปรากฏการณ์ทางภาษาที่เกิดขึ้น ในสังคมทั้งในระดับรัฐ ระดับเมือง ตลอดจนภาวะหลายภาษาในห้องเรียน
จากการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะหลายภาษาทั้งในประเทศและ ต่างประเทศล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและอธิบายให้เห็นถึงความหลากหลายของ การใช้ภาษาในสังคม หน้าที่ของภาษาในแต่ละสังคม รวมทั้งความสามารถในการใช้ภาษา ของสมาชิกในสังคม
ภาวะหลายภาษา
คือ ภาวะที่บุคคลมีความสามารถใช้ภาษาได้มากกว่า 1 ภาษาขึ้นไป ซึ่งหมายรวมถึงภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ หรือภาษาย่อยอื่น ๆ ด้วย เช่น คนลาวอีสานสามารถ ใช้ได้ทั้งภาษาลาวอีสาน ภาษาไทยและภาษาไท หรือคนไทยที่สามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทย ภาษาลาวอีสาน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาอังกฤษ เป็นต้น
บุคคลพูดได้หลายภาษาอาจเป็นเพราะ ในสมาชิกในครอบครัวพูดภาษาหลายภาษา หรือเพราะการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่ต่าง ๆ รวมทั้งบุคคลได้เรียนรู้ภาษาใหม่ด้วยตนเอง การเรียนรู้ภาษาอื่นเป็นเพราะความจำเป็น กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้ บุคคลพูดได้หลายภาษาว่า มีปัจจัยหลายปัจจัย ทั้งการอพยพย้ายถิ่นฐาน (Mobilization) ชาตินิยม (Nationalism) รวมทั้งการศึกษา (Education) ศาสนา (Religious) และวัฒนธรรม (Culture)
โดยสรุปแล้วภาวะหลายภาษาคือภาวะของบุคคลที่มีความสามารถใช้ภาษา ได้มากกว่า 1 ภาษา งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เริ่มจากสมาชิกในครอบครัวมีคน พูดหลายภาษา หรืออาจเป็นเพราะบุคคลนั้นได้เรียนรู้ภาษาใหม่จากบุคคลรอบข้าง เช่น เพื่อนที่โรงเรียน เพื่อนร่วมงาน เป็นต้น
ผลการวิจัย
1.ความสามารถในการฟังของวัยรุ่นผู้ไท
ภาษาที่วัยรุ่นผู้ไทสามารถฟังเข้าใจมี 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาไท ภาษาลาวอีสาน และภาษาไทย รองลงมาคือ สามารถฟังเข้าใจ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาผู้ไท และภาษาไทย และสามารถฟังเข้าใจ 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาผู้ไท ภาษาลาว อีสาน ภาษา อ.และภาษาไทย ตามลำดับ
2.ความสามารถในการพูดของวัยรุ่นผู้ไท
จำนวนภาษาที่วัยรุ่นผู้ไทสามารถพูดได้ 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาผู้ไท ภาษาไทย และภาษาลาวอีสาน รองลงมาคือ สามารถพูดได้ 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาผู้ไท และภาษาไทย และสามารถพูดได้ 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาไท ภาษาไทย ภาษาลาวอีสาน และภาษาญ้อ
สรุปได้ว่า วัยรุ่นผู้ไทมีความสามารถในการฟังและการพูดภาษาได้ตั้งแต่ 2 ภาษาขึ้นไป ซึ่งหมายความว่า วัยรุ่นผู้ใดมีภาวะหลายภาษา และการมีภาวะหลายภาษา นี้ทำให้บุคคลนั้นต้องเลือกใช้ภาษาที่ตนเองมีความสามารถเพื่อสื่อสารกับบุคคลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อพิจารณาความ สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ของบิดามารดากับภาวะหลายภาษาของวัยรุ่นผู้ไท พบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ของบิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการฟังภาษา แต่มี ความสัมพันธ์กับความสามารถในการพูดภาษา
สรุปผลเเละอภิปรายผล
วัยรุ่นผู้ไทส่วนใหญ่ มีความสามารถในการฟังและการพูดมากที่สุดถึง 3 ภาษา จึงเป็นปรากฏการณ์ทางสังคม ที่น่าสนใจ คนผู้ไทในอำเภอกุฉินารายณ์ สามารถใช้ภาษาไค 3 ภาษา คือ ภาษาผู้ไท ภาษาลาว สาน และภาษาไทย
ภาษาที่เกิดขึ้นในสังคมหลายภาษา ผลการวิจัยนี้ สามารถอธิบายให้เห็นถึงศักดิ์ศรีของภาษาในสังคมไทยที่กลุ่มชาติพันธุ์จะต้องเรียนรู้ ภาษาอื่นที่มีศักดิ์ศรีทางภาษาสูงกว่าภาษาแม่ของตน รวมทั้งยังเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการศีกษาทัศนคติทางภาษา (Language Attitude) ของวัยรุ่นผู้ไทว่ามีทัศนคติต่อภาษา แม่ของตนอย่างไร
ชุมชนที่มีความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์จะส่งผลให้ชุมชนนั้นเป็น ชุมชนหลายภาษา และกลุ่มชาติพันธุ์เองก็เป็นบุคคลที่มีภาวะหลายภาษา เพราะต้องเรียนรู้ ภาษาอื่นนอกจากภาษาแม่ของตนเอง วัยรุ่นผู้ไทเองก็เช่นเดียวกัน
ทัศนคติต่อภาษาที่มีศักดิ์ศรีสูงกว่าภาษาแม่ของตนอย่างไร รวมทั้งสามารถมาแนวคิดการเลือกใช้ภาษา (Language Choice) มาศีกษาพฤติกรรม การใช้ภาษาของวัยรุ่นผู้ไทว่าจะตัดสินใจเลือกใช้ภาษาใดเพื่อพูดคุยกับผู้ร่วมสนทนา ในสถานการณ์หรือโอกาสต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เห็นแนวโน้มของการใช้ภาษาของคนรุ่นใหม่ ในอนาคตได้
นางสาวนิภาวรรณ ประจำ เลขที่ ๕ ห้อง ๒
รหัสนักศึกษา ๖๔๓๑๕๐๖๑๐๓๙๙