Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มารดาและทารก, image, นางสาว นิภาภัทร์ เดชพิทักษ์ ห้อง4B เลขที่ 40…
มารดาและทารก
พัฒนาการทารกในครรภ์ในแต่ละช่วงวัย
พัฒนาการของทารกในครรภ์จะเริ่มตั้งแต่เมื่อมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น แต่การนับอายุครรภตามหลักสากลนั้นจะเริ่มนับอายุครรภ์ตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบกำหนดคลอด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
อายุครรภ์ 6 สัปดาห์
อวัยวะที่มีพัฒนาการอย่างโดดเด่น คือ จมูก ปาก และใบหู
อายุครรภ์ 9 สัปดาห์
ทารกเพศหญิงจะพัฒนาขึ้นมาเป็นแคมเล็กๆ ส่วนเพศชายจะพัฒนามาเป็นลัษณะเป็นลูกอัณฑะ
อายุครรภ์ 5 สัปดาห์
หัวใจเริ่มเต้นนเป็นจังหวะสม่ำเสมอและระบบ
ไหลเวียนเลือดก็เริ่มทำงานได้แล้วเช่นกัน
อายุครรภ์ 12 สัปดาห์
สามารถแยกเพศได้อย่างชัดเจน
อายุครรภ์ 4 สัปดาห์
กลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อชั้นนอกจะพัฒนาเป็นระบบประสาท ผมและขน การเรียงตัวเป็นเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ประกอบด้วย เนื้อเยื่อชั้นนอกจะพัฒนาเป็นระบบประสาท ผมและขน ผิวหนัง และดวงตา เนื้อเยื่อชั้นกลางจะพัฒนาเป็นหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ ไต และอวัยวะสืบพันธุ์ ส่วนเนื้อเยื่อชั้นในจะพัฒนาเป็นระบบทางเดินอาหาร ตับ และปอด
อายุครรภ์ 17-20 สัปดาห์
ทารกดิ้นบ่อยมากขึ้น ให้กระตุ้นพัฒนาการด้วยการนั่งเก้าอี้โยก
อายุครรภ์ 3 สัปดาห์
ในสัปดาห์เซลล์ตัวอ่อนหรือไซโกตเดินทางจากปีกมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูกขณะเดียวกันเซลล์ตัวอ่อนก็มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ 1 เซลล์ เป็น 2 - 4- 8 เซลล์ ไปเรื่อยๆ จนประมาณวันที่ 3-4 หลังปฏิสนธิ เซลล์ตัวอ่อนจะประกอบด้วยกลุ่มเซลล์เล็กๆที่มีลักษณะเหมือนกันจำนวน 16 เซลล์ เรียกว่า โมรูลา (Morula) จะเริ่มจับกลุ่มและเบียดกันไปชิดด้านใดด้านหนึ่งของผนังหุ้มเซลล์เกิดเป็นโพรงน้ำคร่ำเล็กๆส่วนเซลล์ที่จับกันเป็นกลุ่มจะเรียงตัวซ้อนกันเป็นสองชั้น ระยะนี้เรียกเซลล์ตัวอ่อนว่า “บลาสโตซีสต" โดยเซลล์ชั้นในของบลาสโตซีสต์จะพัฒนาไปเป็นทารก
อายุครรภ์ 21-24 สัปดาห์
ทารกรับรู้เสียง ให้กระตุ้นด้วยการเรียกชื่อ พูดคุย เปิดเพลง
อายุครรภ์ 25-28 สัปดาห์
ลืมตาหลับตา ไวต่อแสง กระตุ้นด้วยการเปิดไฟฉาย
อายุครรภ์ 33-36 สัปดาห์
ร่างกายและเเขนขาเจริญเต็มที่
อายุครรภ์ 32 สัปดาห์
เล็บยาวมากขึ้น ขนอ่อนน้อยลง กระดูกเจริญเต็มที่
อายุครรภ์ 40 สัปดาห์
ขนอ่อนหายไป ศีรษะมีผมยาว ในทารกเพศชายลูก
อัณฑะจะลงมาในถุงอัณฑะ ในทารกเพศหญิงแคมนอกจะโตเต็มที่
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำในทารกแรกเกิดและการพยาบาล
ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ (Hypothermia) หมายถึงอุณหภูมิทางทวารหนัก หรือ ทางรักแร้ ต่ำกว่า 36.5 โดยวัดอย่างถูกวิธี ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำในทารกแรกเกิด เป็นภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด ถือเป็นภาวะวิกฤติอย่างหนึ่งที่จะต้องตระหนักและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด และไม่ได้รับการดูแลรักษาจะทำให้ทารก มีอุณหภูมิกายต่ำมาก (Cold stress)
ภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ภาวะกรดจากการเผาผลาญโดยไม่ใช้ออกซิเจน ภาวะหายใจลำบากอย่างรุนแรง เกิดภาวะเป็นกรดในกระแสเลือด การติดเชื้อ ซึม ไม่ดูดนม ท้องอืด อาเจียน หยุดหายใจ หายใจเร็วอาจมีอาการ Grunting ถ่ายปัสสาวะน้อย ไตวาย ชัก เกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกจากการขาดปัจจัยที่ทำให้เลือด กลายเป็นลิ่มน้ำตาลในเลือดต่ำ เลือดขาดออกซิเจน เลือดออกในปอด หรือในสมอ
การสูญเสียความร้อนที่ผิวกายให้กับสภาพแวดล้อมได้ 4 วิธี
การพาความร้อน (Convection)คือการถ่ายเทความร้อนจากผิวกายไปสู่สภาพแวดล้อมโดยมีกระแส
ลมเย็นพัดผ่านผิวกาย ถ้าทารกแรกเกิดที่อยู่ในบริเวณใกล้หน้าต่าง
การระเหย (Evaporation) ในภาวะปกติ ทารกแรกเกิดสูญเสียความร้อนโดยการระเหยได้จากการ
ระเหยของน้ำชนิดที่มองไม่เห็น การระเหยของเหงื่อ และการระเหยของความชื้นจากทางเดินหายใจ การสูญเสียความร้อนโดยวิธีนี้ได้มาจากการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิด
การนำความร้อน (Conduction) คือการสูญเสียความร้อนให้กับอากาศหรือวัตถุที่เย็นกว่าที่มาสัมผัส
กับร่างกายของทารก
การแผ่รังสี (Radiation) เป็นการสูญเสียความร้อนจากร่างกายไปยังสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าผิวกายโดยไม่มีการสัมผัสผิวกาย จากสภาพแวดล้อมที่หนาวเย็น
การพยาบาล
การใช้อุปกรณ์ช่วยจากภายนอก ถ้าอุณหภูมิแวดล้อมถูกควบคุมให้อยู่ในสภาวะที่ถูกต้องและ
เหมาะสม ทารกจะไม่ใช้ออกซิเจนและพลังงานเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างพลังงานเพิ่มเติม
การควบคุมอุณหภูมิห้อง การที่อุณหภูมิตู้อบและทารกจะคงที่ได้นั้น อุณหภูมิห้องต้องเหมาะสมและ
คงที่ตลอดเวลา ซึ่งอุณหภูมิห้องที่เหมาะสมสำหรับทารกแรกเกิด
การใช้ตู้อบทารก ( incubator )ตู้อบเป็นการป้องกันการสูญเสียความร้อนทารกมีการสูญเสียความร้อนออกมาทางผิวหนัง ซึ่งในการดูแลทารกนั้น จะต้องสอดมือผ่านช่องทางปิด – เปิดของตู้อบ และจะต้องรีบปฏิบัติกิจกรรมโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิในตู้อบเปลี่ยนแปลงมากเกินไป
ดูแลให้ตัวทารกแห้งตลอดเวลา ไม่ควรปล่อยให้ทารกเปียกหรือแฉะ
การสวมหมวก เสื้อผ้า ถุงมือ ถุงเท้า และพลาสติก
กระทำการต่างๆ ต่อทารก เช่น การเปลี่ยนผ้า การเช็ดตัว หรืออาบน้ำเด็ก ด้วยความรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวการณ์สูญเสียความร้อนออกนอกร่างกาย
สังเกตลักษณะของทารกว่ามีภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ หรือไม่ คือ ผิวเย็นซีด คล้ำ ซึม ดูดนมช้า ดูดนมน้อยลงน้ำหนักลดลง ปัสสาวะลดลง อาเจียน หรืออาจหยุดหายใจ เป็นต้น หากมีต้องรีบเพิ่มความอบอุ่นให้ทารก และแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาลทันที
อย่าให้มีลมธรรมชาติหรือกระแสอากาศจากพัดลมหรือเครื่องทำความเย็นพัดผ่านตำแหน่งที่ทารกนอน หรือตู้อบ
การบรรเทาอาการเจ็บปวดในระยะคลอดโดยไม่ใช้ยา
การลูบหน้าท้อง Effleurage
เมื่อมดลูกหดรัดตัวให้เริ่ม -หายใจเข้า ใช้อุ้งมือทั้งสองข้างลูบหรือนวดเบาๆ จากบริเวณหัวเหน่าขึ้นไป ถึงยอดมดลูก -หายใจออก ลูบผ่านตรงกลางท้องลงมาที่จุดเริ่มต้นใหม่เมื่อหายใจเข้าและออก 1 ครั้ง ก็จะลูบหน้าท้องเสร็จ 1 ครั้งไปพร้อมๆ กัน
การหายใจล้างปอด
การสูดหายใจให้ลึกช้า ๆ เข้าทางจมูก ถ้าหายใจถูกต้องท้องจะป่องออก จากนั้นค่อยผ่อนลมหายใจช้า ๆ ออกทางปากให้รู้สึกท้องยุบ
1 การหายใจแบบช้า latent (ตั้งแต่ปากมดลูกเปิด -3 cm)
-เริ่มต้นด้วยการหายใจแบบล้างปอด 1 ครั้ง
-ต่อด้วยหายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูกช้าๆ (พร้อมกับนับในใจ 1 2 3 4)
-ผ่อนการหายใจออกทางปากช้าๆ (พร้อมกับนับในใจ 1 2 3 4 5)ทำเช่นเดียวกันนี้ในอัตราเฉลี่ย 6-9 ครั้ง/นาที
-ปิดท้ายด้วยการหายใจแบบล้างปอด 1 ครั้ง
2 การหายใจแบบ ตื้น เร็ว เบา active (ปากมดลูกเปิด 4-7 cm)
-เริ่มต้นหายใจแบบล้างปอด 1 ครั้ง
-ตามด้วยขณะมดลูกเริ่มหดรัดตัว ให้หายใจแบบช้าก่อน (ตามวิธีที่ 1)
-เมื่อมดลูกหดรัดตัวเต็มที่แล้วจึงเปลี่ยนเป็นการหายใจแบบตื้นๆ เร็วๆ เบาๆ ไปเรื่อยๆ (คล้ายๆกับการหายใจเวลาเหนื่อยมากๆ คือหายใจ ถึงแค่ระดับคอ แล้วหายใจออก ทางปากถี่ๆ) จนรู้สึกว่ามดลูกคลายตัว จึงกลับไปหายใจแบบช้าอีกครั้ง
-ปิดท้ายด้วยการหายใจแบบล้างปอด 1 ครั้ง
3 การหายใจแบบตื้นเร็วและเป่าออก transition (ปากมดลูกเปิด 8-10 cm)
-เริ่มต้นหายใจแบบล้างปอด 1 ครั้ง
-ตามด้วยการหายใจทางปากแบบตื้นๆ เร็วๆ เบาๆ 4 ครั้ง แล้วเป่าลมออก 1 ครั้ง
-เมื่อมดลูกคลายตัวให้หายใจแบบล้างปอด 1 ครั้ง
4 การหายใจเพื่อเบ่งคลอด Pushing (ปากมดลูกเปิดหมด 10 cm)
-หายใจเข้าทางจมูกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ กลั้นลมหายใจ ปิดปากแน่น คางจรดหน้าอกพร้อมทั้งเบ่งลมไปทางช่องคลอด(นับในใจ 1 ถึง 12 ) แล้วหายใจออกทางปาก
-หลังจากนั้นหายใจเข้าซ้ำเช่นเดิมอีก ทำทั้งหมดประมาณ 3-4 ครั้งต่อการหดรัดตัวของมดลูก 1 ครั้ง
-เมื่อหยุดเบ่งให้อ้าปากหายใจเข้าออกทางปากตื้นๆ เร็วๆ
การเพ่งจุดสนใจ (Focal point)
โดยอาจจะใช้วิธีการหลับตาทั้งสองข้างและอยู่ในสมาธิ
ใช้วิธีการมองรูปภาพที่ช่วยให้ผ่อนคลาย จัดห้องให้มบรรยากาศที่จะให้มารดาคลอดบุตรได้เพ่งมองรูปภาพได้อย่างสงบ
นวดหลังGate control theory
การนวดและการสัมผัสนี้ส่วนใหญ่จะ ทำบริเวณก้นกบหรือตำแหน่งที่ผู้คลอดปวดโดยใช้มือนวดลึกๆ เป็นวงกลมเลข 8 ที่บริเวณก้นกบขณะมดลูกมีการหดรัดตัว น้ำหนักมือให้คงที่สม่ำเสมอ
การจินตภาพ (Imagery)
เพ่งความสนใจไปที่ทารก ทำให้มารดาคลอดบุตรผ่อนคลาย
นางสาว นิภาภัทร์ เดชพิทักษ์ ห้อง4B เลขที่ 40 รหัสนักศึกษา 61123301085