Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิ…
บทที่ 4
ประเด็นทางจริยธรรมในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต และการดูแลระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking a bad news)
ข่าวร้าย
ข้อมูลที่ทำให้เกิดความรู้สึกหมดความหวัง มีผลกระทบต่อความรู้สึก การดำเนินชีวิต และอนาคตของบุคคลนั้น
ข้อมูลที่เป็นข่าวร้าย : การลุกลามของโรคไม่ตอบสนองต่อการรักษา ความพิการ การสูญเสียภาพลักษณ์ของตัวเอง
ข่าวร้ายที่พบได้ในผู้ป่วยวิกฤต : การได้รับการเจาะคอ การใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ผลเลือดเป็นบวกหรือติดเชื้อ HIV
การแจ้งข่าวร้ายมีความสำคัญ เนื่องจากมีผลกระทบต่อผู้ป่วยและญาติ
ผู้ที่แจ้งข่าวร้าย : ต้องได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์วิธีการแจ้งข่าวร้าย มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับแผนการรักษา ผลการรักษาและการดำเนินโรค รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ปฏิกิริยาจากการรับรู้ข่าวร้าย
แบ่งเป็น 5 ระยะ ตามทฤษฎีของ Elisabeth KublerRoss
ระยะปฏิเสธ (Denial)
เป็นระยะแรกหลังจากผู้ป่วยและญาติรับทราบข้อมูล จะปฏิเสธสิ่งที่ได้รับรู้
ระยะโกรธ (Anger)
เป็นภาวะธรรมชาติ และเป็นการเยียวยาความรู้สึกที่เกิดจากสูญเสีย ปฏิกิริยาอาจออกมาในลักษณะ อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว และต่อต้าน
ระยะต่อรอง (Bargaining)
เป็นระยะที่ต่อรองความผิดหวังหรือข่าวร้ายที่ได้รับ การต่อรองมักจะแฝงด้วยความรู้สึกผิดไว้ด้วย อาจจะรู้สึกว่าตนเองมีความผิดที่ยังไม่ได้ทำบางอย่างที่ค้างคา
ระยะซึมเศร้า (Depression)
ผู้ป่วยและญาติจะเริ่มรับรู้ว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ความรู้สึกซึมเศร้าจะเริ่มเกิดขึ้น
การแสดงออก : ออกห่างจากสังคม รอบข้าง เบื่อหน่าย เก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุย
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เริ่มยอมรับสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง อารมณ์เจ็บปวดหรือซึมเศร้าดีขึ้น
และมองเหตุการณ์อย่างพิจารณามากขึ้น
ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งซับซ้อน
อาจไม่ตรงไปตรงมา บางระยะอาจจะสั้นหรือนานไม่แน่นอน ระยะต่างๆ อาจเกิดเรียงตามลำดับหรือสลับไปมา สิ่งสำคัญภายหลังจากการแจ้งข่าวร้ายคือ การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนผู้ป่วยและครอบครัว ให้สามารถตัดสินใจเลือกแนวทางการดูแลผู้ป่วย การให้ความร่วมมือและวางแผนร่วมกับทีมดูแล ไปสู่การวางแผนการดูแลล่วงหน้า
พยาบาลมีบทบาทดังนี้
สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
รับฟังผู้ป่วยและญาติด้วยความตั้งใจ เห็นใจ เป็ดโอกาสให้ได้ซักถาม
ให้ความช่วยเหลือประคับประคองจิตใจ
ในระยะโกรธ ควรยอมรับพฤติกรรมทางลบของผู้ป่วยและญาติโดยไม่ตัดสิน ให้โอกาสในการระบาย
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อมูล การดำเนินโรค แนวทางการรักษา
อธิบายให้ทราบถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ให้ข้อมูลที่เป็นความจริง
สะท้อนคิดให้ครอบครัวค้นหาเป้าหมายใหม่ในชีวิตอย่างมีความหมาย
จัดการกับอาการที่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับความสุขสบาย
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยและญาติ
ทำหน้าที่แทนผู้ป่วยในการเรียกร้อง ปกป้องผู้ป่วยให้ได้รับประโยชน์ และปกป้องศักดิ์ศีรความเป็นมนุษย์ตามหลักจริยธรรม
10.1 ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ได้รับหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิต
กรณีแพทย์รับหนังสือแสดงเจตนาฯ ไว้ประกอบแผนการรักษาพยาบาล ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ บันทึกไว้ในบันทึกทางการพยาบาล
กรณีแพทย์ไม่รับหนังสือแสดงเจตนาฯ แพทย์จะเป็นผู้ชี้แจงเหตุผลการคืนหนังสือแสดงเจตนาฯ
10.2 ผู้รับบริการขอทำหนังสือแสดงเจตนาฯ ให้ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลฯ ดำเนินการ
จัดให้ผู้รับบริการพบแพทย์ผู้ให้การรักษา
บันทึกข้อมูลไว้ในบันทึกทางการพยาบาล
ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการรักษา
ช่วยเหลือในการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาตามความเชื่อ
ให้การช่วยเหลือในการจัดการสิ่งที่ค้างคาในใจ เพื่อให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ
การดูแลระยะท้ายของชีวิต
มโนทัศน์เกี่ยวกับการเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การเจ็บป่วยระยะท้าย : ภาวะบุคคลอยู่ในภาวะความเจ็บป่วยที่คุกคามต่อชีวิต
ภาวะใกล้ตาย : ผู้ที่เข้าสู่ช่วงใกล้เสียชีวิต มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายมากขึ้น
การดูแลแบบประคับประคอง : วิธีการดูแลที่มุ่งเน้นเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยที่มีโรคหรือภาวะคุกคามต่อชีวิต
การดูแลระยะท้าย : การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้ายของโรค โดยใช้หลักการดูแลแบบประคับประคอง
แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
แนวคิดการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)
มักใช้รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองที่เป็นการดูแลผู้ป่วย
มุ่งเน้นในช่วงของการเจ็บป่วยในช่วงปีหรือเดือนท้ายๆ ของชีวิต
เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบองค์รวมโดยครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ โดยยึดตามความเชื่อทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียม ประเพณีปฏิบัติของผู้ป่วยและครอบครัวเป็นสำคัญเป็นการทำงานเป็นทีมแบบสหวิชาชีพ
จุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญและผ่านพ้นช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตอย่างสงบ สบาย
แนวคิดการดูแลตามทฤษฎีความสุขสบาย (comfort theory)
เป้าหมายของทฤษฎีเน้นความสุขสบายที่เป็นผลลัพธ์ของการพยาบาล
ความสุขสบาย : บรรเทา (relief), ความสงบ ผ่อนคลาย (ease), อยู่เหนือปัญหา (transcendence)
กิจกรรมการดูแลที่ส่งเสริมความสุขสบายของผู้ป่วยและครอบครัวตามทฤษฎี
มาตรฐานการพยาบาลเพื่อความสุขสบาย รักษาความสมดุลของร่างกาย
การสอน แนะนำ เป็นพี่เลี้ยง
อาหารด้านจิตวิญญาณ เป็นสิ่งที่พยาบาลกระทำแสดงถึงการดูแลใส่ใจ เอื้ออาทร และสร้างความเข้มแข็ง
การดูแลแบบประคับประคองมุ่งให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบหรือ ตายดี
ประเด็นจริยธรรมที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะวิกฤต การเจ็บป่วยระยะท้ายและภาวะใกล้ตาย
การุณยฆาต
เป็นการทำให้ผู้ป่วยที่หมดหวังจากการรักษาไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติและต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคร้ายได้พบกับความตายอย่างสงบ
การทำการุณยฆาตโดยความสมัครใจ (Voluntary euthanasia)
การที่ผู้ป่วยตระหนักรู้เข้าใจถึงอาการ การดำเนินของโรค และทนทุกข์กับความทรมานต่อความเจ็บปวด แพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนาตามความประสงค์ของผู้ป่วย
การทำการุณยฆาตโดยผู้ป่วยไม่สามารถตัดสินใจได้เอง (Involuntary euthanasia)
การทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตโดยเจตนา โดยปล่อยให้เกิดการตายตามธรรมชาติ
แพทย์จะต้องมีข้อพิจารณา 3 ประการ : ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส, สิทธิส่วนบุคคลที่จะยุติชีวิตลง, บุคคลไม่ควรจะถูกบังคับให้ยืดชีวิตออกไปในสภาพที่ช่วยตนเองไม่ได้และไร้การรับรู้ทางสมอง
ประเด็นทางจริยธรรม
เป็นการผิดศีลธรรมหรือไม่ และเป็นการฆาตกรรมผู้ป่วยหรือไม่ สำหรับในประเทศไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับและไม่อนุญาตให้กระทำ เกี่ยวกับการกระทำที่เป็น Active euthanasia และ Passive euthanasia เนื่องจากเป็นเสมือนการเร่งให้ผู้ป่วยตาย แม้ว่าผู้ป่วยจะอยู่ในสภาวะ
ผักถาวร
การยืดหรือการยุติการรักษาที่ยืดชีวิต
การยับยั้งการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา : การไม่เริ่มต้นใช้เครื่องมือช่วยชีวิต
การเพิกถอนการใช้เครื่องมือช่วยชีวิตในการบำบัดรักษา
การฆ่าตัวตายโดยความช่วยเหลือของแพทย์
การฆ่าตัวตายโดยเจตนา และได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์
การจัดสรรทรัพยากรที่มีจำนวนจำกัด
มักจะเกิดความล้มเหลวของอวัยวะต่าง ๆ ในหลายระบบจึงต้องอาศัยเครื่องมือทางการแพทย์และทรัพยากรอื่นๆ ทางการแพทย์มาช่วยชีวิตไว จึงมีผู้ป่วยวิกฤตหลายรายและเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีค่อนข้างจำกัด
การบอกความจริง (Truth telling)
ควรบอกให้ผู้ป่วยและญาติทราบเพื่อการเตรียมตัวเตรียมใจ จัดการภาระค้างอยู่ให้เรียบร้อย และผู้ป่วยอาจจะยังมีสติและเวลาในการทำพินัยกรรมก่อนตาย รวมถึงการแสดงเจตนาในการปฏิเสธการรักษา
การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ (Organ transplantation)
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาทางจริยธรรม
ให้ความรู้แก่พยาบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเชิงจริยธรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม : การประชุมก่อนและหลังการพยาบาล
รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพยาบาล : สิทธิและความรับผิดชอบที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของตน
จริยธรรมสำหรับการทำงานของทีมสุขภาพ โดยมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักขอบเขตหน้าที่ของตน
การดูแลผู้ป่วยวิกฤตในระยะท้ายของชีวิต (End of life care in ICU)
มีการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤตน้อยกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่สุขสบายและไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมมากกว่าหอผู้ป่วยอื่นๆ
มีการสื่อสารในหัวข้อแผนการรักษาน้อยกว่าผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล
ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤตและทั่วไป
Professional culture ทีมสุขภาพที่ทำงานอยู่ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติจะคุ้นชินกับการรักษาผู้ป่วยเพื่อมุ่งให้มีชีวิตรอดพ้นจากภาวะวิกฤต
ความคาดหวังของผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมักขาดการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะสุขภาพที่ทรุดลงอย่างเฉียบพลัน ส่งผลให้มีความคาดหวังสูง
ความไม่แน่นอนของอาการ การรักษาในไอซียูผู้ป่วยมีโอกาสที่จะดีขึ้นแล้วกลับไปทรุดลงได้หลายครั้ง
Multidisciplinary team ในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤติมีทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาร่วมกันมากกว่า 1 สาขา ส่งผลให้แพทย์แต่ละสาขามุ่งเน้นในการรักษาอวัยวะที่ตนรับผิดชอบ
ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยวิกฤติมีอาการไม่สุขสบายหลายอย่างและมีแนวโน้มลูกละเลย เนื่องจากทีมสุขภาพมักมุ่งประเด็นไปที่การหายของโรคมากกว่าความสุขสบายของผู้ป่วย
ทรัพยากรมีจำกัด
สิ่งแวดล้อมในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต สิ่งแวดล้อมในไอซียูส่วนใหญ่มักจะพลุกพล่าน วุ่นวาย มีเสียง ไม่เหมาะกับการเป็นสถานที่สุดท้ายก่อนผู้ป่วยจะจากไป
หลักการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในหออภิบาลผู้ป่วยวิกฤต
ทีมสุขภาพที่ทำงานในไอซียูเป็นผู้เริ่มลงมือด้วยตนเอง
การปรึกษาทีม palliative care ของโรงพยาบาลนั้น ๆ มาร่วมดูแลในผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์
การดูแลแบบผสมผสาน
ระบบการแพทย์เฉพาะ : แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน
การผสมผสานกายจิต : สวดมนต์ ทำสมาธิ
อาหารและสมุนไพร
พลังบำบัด : สัมผัสบำบัด โยเร
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การประเมินสภาพ
การประเมินอาการทางร่างกาย
ระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส์ อาเจียน กลืนลำบาก ไอ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตต่ำลง ผิวหนังจะเริ่มเย็น ชื้น ซีด
ระบบหายใจ อัตราการหายใจเปลี่ยนแปลง ลักษณะการหายใจแบบ Cheynesstrokes
ระบบประสาท มีความไวต่อแสงจ้ามากขึ้น ระดับความรู้สึกตัวลดลง ง่วงซึมมาก ปลุกตื่นยาก สับสน
ระบบการควบคุมหูรูด ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและอุจจาระได้
ระบบขับถ่าย ปัสสาวะออกน้อยหรือไม่ออก ปัสสาวะสีคล้ำ ถ่ายเหลวหรือท้องผูก
การประเมินด้านจิตใจ ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีความผิดปกติทางด้านจิตใจ
ภาวะซึมเศร้า
ภาวะวิตกกังวล
ภาวะสับสน
การประเมินด้านสังคม
บทบาทของผู้ป่วยในครอบครัว
ความรักความผูกพันของผู้ป่วยกับสมาชิกในครอบครัว
ความต้องการของครอบครัว
ผู้ดูแลผู้ป่วย
การประเมินเรื่องที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดความพร้อมในการรับผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน
เครือข่ายทางสังคมและการสนับสนุนทางสังคม
การประเมินด้านจิตวิญญาณ ความต้องการของผู้ป่วยในด้านจิตวิญญาณเกี่ยวข้องกับปรัชญาชีวิตเป้าหมายชีวิต หรือคุณค่าทางด้านจิตใจ ความเชื่อทางศาสนา
การประเมินระดับPalliative Performance Scale (PPS)
จุดประสงค์ของการใช้ PPS
เพื่อสื่อสารอาการปัจจุบันของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรในทีม
เพื่อประเมินพยากรณ์โรคอย่างคร่าวๆและติดตามผลการรักษา
ใช้เป็นเกณฑ์การัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้าดูแลในสถานที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ใช้บอกความยากของภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์และครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
ใช้ในการวิจัย
หลักการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายใกล้ตาย
การสื่อสาร
ควรมีแผ่นพับแนะนำครอบครัวถึงการเตรียมตัวก่อนทำการประชุมครอบครัว
ปิดเครื่องมือสื่อสารทุกครั้งที่พูดคุยกับครอบครัว
หลีกเลี่ยงคำศัพท์แพทย์
ให้เกียรติครอบครัว
มีความเห็นใจครอบครัวที่ต้องประเชิญเหตุการณ์นี้
บทสนทนาควรเน้นที่ตัวตนของผู้ป่วยมากกว่าโรค
ปล่อยให้มีช่วงเงียบ เพื่อให้ญาติได้ทบทวน
บอกการพยากรณ์โรคที่ตรงจริงที่สุด
เนื้อหาที่จะพูดคุยนั้นอาจแบ่งตามช่วงเวลาที่ผู้ป่วยเข้ารักษาในไอซียู
การจัดการอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
การช่วยเหลือดูแลทางกาย
อาการปวด : การทำสมาธิ ฟังบทสวด การนวด
อาการท้องผูก : จัดอาหารให้มีใยอาหาร ให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน : จัดอาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
อาการปากแห้ง เจ็บในปาก : ดูแลทำความสะอาดในช่องปากทุกวันอย่างน้อยวันละสองครั้ง
อาการท้องมาน นอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง
อาการไอ : ให้ได้รับน้ำในปริมาณมาก ในรายที่ไม่มีข้อจำกัด และดูแลให้ได้รับยาบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษา
อาการหอบเหนื่อย : จัดให้ผู้ป่วยพักให้ท่าศีรษะสูงเล็กน้อย ดูแลให้ได้รับออกซิเจน
อาการกลั้นปnสสาวะไม่ได้ : จัดหาอุปกรณ์ให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้สะดวก ใช้ผ้ารองซับ
อาการบวม ควรดูแลอย่าให้เกิดแผลต่างๆ
อาการคัน
ควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น หลีกเลี่ยงการเกา
ควรใช้สบู่อ่อนๆ และอูณหภูมิของน้ำไม่ควรอุ่นจัด
ดูแลให้ความชุ่มชื้นของผิวหนังโดยใช้น้ำมันสำหรับเด็กอ่อน
การเกิดแผลกดทับ ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง และจัดหาเตียงลม
การดูแลทั่วไป
การดูแลความสะอาดร่างกาย
ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอ
การพักผ่อนนอนหลับ
จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด สงบ
การดูแลด้านอารมณ์และสังคมของผู้ป่วยและครอบครัว
ช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับความตายที่จะมาถึง
ช่วยให้จิตใจจดจ่อกับสิ่งดีงาม
การช่วยปลดเปลื้องสิ่งที่ค้างคาใจ
แนะนำให้ผู้ป่วยปล่อยวางสิ่งต่างๆ
สร้างบรรยากาศที่สงบและเป็นส่วนตัว
การดูแลด้านจิตวิญญาณผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว
ประเมินและบันทึกความต้องการทางจิตวิญญาณในระหว่างการดูแลเป็นระยะ
สนับสนุนให้มีสถานที่หรือกิจกรรมส่งเสริมด้านจิตวิญญาณ
สอบถามและส่งเสริมให้เกิดการปฏิบัติตามศรัทธาความเชื่อ
ดูแลให้ได้รับการประชุมครอบครัว (Family meeting)
ข้อมูลที่ควรมีการบันทึกไว้
วัน เวลา สถานที่
ผู้ป่วยเข้าร่วมในการประชุมหรือไม่
สมาชิกที่เข้าร่วมประชุม
ผู้ป่วยมีพินัยกรรมชีวิต
สมาชิกครอบครัวที่เข้าร่วมประชุม
ครอบครัวและผู้แทนทางสุขภาพ
อะไรคือคุณค่าการดำรงชีวิตของผู้ป่วย
เป้าหมายการรักษา
การวางแผนการรักษา
การดูแลให้ผู้ป่วยและญาติเข้าถึงการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
ผู้ที่สามารถทำการวางแผนการดูแลล่วงหน้า
อายุครบ 18 ปีขึ้นไป
กรณีเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติที่ปกครองดูแลสามารถตัดสินใจแทนได้
การดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะเสียชีวิต
การเตรียมตัวผู้ป่วย
ทำการปิดเครื่องติดตามสัญญาณชีพต่าง ๆ
ยุติการเจาะเลือด
ควรปิดประตูหรือปิดม่านให้มิดชิด
ทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วย
ยุติการรักษาที่ไม่จำเป็น
นำสายต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นออก
ให้คงไว้เพียงการรักษาที่มุ่งเน้น
ให้คุมอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ
ควรทำการยุติการให้ผู้ป่วยได้รับยาหย่อนกล้ามเนื้อ
ให้ยาที่มักจำเป็นต้องได้
อธิบายครอบครัวถึงอาการต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย
การดูแลจิตใจครอบครัวผู้ป่วยต่อเนื่อง
หลังจากที่ผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้วทีมสุขภาพอาจทำการแสดงความเสียใจต่อการสูญเสีย ดังนั้นไม่ควรพูดคำบางคำ เช่น “ไม่เป็นไร” “ไม่ต้องร้องไห้”