Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
100-400 การคิดเชิงคํานวน - Coggle Diagram
100-400 การคิดเชิงคํานวน
บทที่ 1 เเนวคิดเชิงคํานวน
ขั้นตอนวิธี
การเเยกส่วนประกอบเเละการย่อยปัญหา
การหารูปเเบบ
การคิดเชิงนามธรรม
แนวคิดเชิงคำนวณมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่
แนวคิดการแยกย่อย(Decomposition) การแตกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย ให้ปัญหานั้นมีขนาดเล็กลงเพื่อให้สามารถจัดการปัญหาในแต่ละส่วนได้ง่ายขึ้น
แนวคิดการหารูปแบบ(Pattern Recognition) การกำนดแบบแผนหรือรูปแบบที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันจากปัญหาแต่ละส่วนย่อยต่าง ๆ กล่าวคือ ปัญหาย่อยแต่ละปัญหานั้นสามารถใช้รูปแบบในการแก้ปัญหาที่คล้ายคลึงกันได้
แนวคิดเชิงนามธรรม(Abstraction) การหาแนวคิดเชิงนามธรรมหรือแนวคิดรวบยอดของปัญหา ซึ่งเป็นการกำหนดหลักการทั่วไป มุ่งเน้นเฉพาะส่วนที่สำคัญของปัญหำ โดยไม่สนใจรายละเอียดที่ไม่จำเป็น
แนวคิดการออกแบบขั้นตอนวิธี(Algorithm Design) การออกแบบลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาด้วยการใช้แนวคิดการออกแบบขั้นตอนวิธี เป็นแนวคิดที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่มีลักษณะแบบเดียวกันได้
บทที่ 2 การเเก้ปัญหาเเละขั้นตอนวิธี
การเเก้ปัญหาด้วยคอมพิวเตอร์
การระบุข้อมูลเข้า ข้อมูลออกเเละเงื่อนไขของปัญหา
การออกเเบบขั้นตอนวิธี
การทําซํ้า
การจัดเรียงเเละค้นหาข้อมูล
บทที 3 ข้อมูล การเเก้ปัญหาเเละขั้นตอนวิธี
การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือจัดระเบียบข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน ข้อมูลโดยทั่วไปเกิดขึ้นอย่างไม่เป็นระเบียบจากขบวนการนับหรือการวัด ไม่สามารถสื่อความหมายให้เข้าใจหรือใช้ประโยชน์ได้ การประมวลผลจึงเป็นวิธีการนำข้อมูล (Data) กลายสภาพเป็นสารสนเทศ
ลักษณะของข้อมูลที่ดี
มีความถูกต้อง ความถูกต้องของข้อมูลนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะข้อมูลที่ถูกต้องย่อมทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลข้อมูลถูกต้องด้วย และถ้าข้อมูลผิดพลาดก็จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลผิดพลาดด้วย อาจส่งผลให้การวางแผนหรือตัดสินใจของผู้บริหารผิดพลาดไปด้วย
มีความสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้จะทำให้เราสามารถประมวลผลแล้งได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่มีความสมบูรณ์ด้วย เช่น ในระบบการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ถ้าเราสนใจเฉพาะผลการเรียนหรือเกรดของนักเรียน ดดยลืมที่จะเก็บข้อมูลว่านักเรียนแต่ละคนที่มาลงทะเบียนเป็นนักเรียนที่มาจากคณะวิชาใดบ้าง อาจทำให้เราไม่สามารถสรุปได้ว่านักเรียนส่วนใหญ่ที่มีผลการเรียนดีในรายวิชาต่างๆ เป็นนักเรียนที่มาจากคณะวิชาใด เป็นต้น
ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ข้อมูลที่ดีจะต้องสามารถนำไปประมวลผลแล้วได้ผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการ สามารถนำผลลัพธ์นั้นไปใช้เพื่อการวางแผนและตัดสินใจของผู้บริหารได้ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลชุดหนึ่งเคยประมวลผลแล้วได้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่ต่มาผู้ใช้ได้เปลี่ยนความต้องการใช้ผลลัพธ์หรือสารสนเทศนั้น ทำให้เดิมข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้อีกต่อไป
ทันต่อความต้องการใช้งาน การได้รับสารสนเทสที่ทันต่อการใช้งานของผู้ใช้หรือผู้บริหาร จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนหรือตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ดังนั้น การได้รับข้อมูลที่ทันต่อความต้องการใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะข้อมูลที่ได้รับอย่างทันเวลาจะถูกนำไปประมวลผล เกิดเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันเวลาด้วย
มีความทันสมัย ความทันสมัยของข้อมูลเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนำผลลัพธ์หรือสราสนเทศที่ได้จากการนำข้อมูลนั้นมาประมวลผล แล้วนำสารสนเทศนั้นไปใช้งานต่อไปเพราะข้อมูลที่ล้าสมัยไม่เป็นปัจจุบัน อาจทำให้สารสนเทศที่ได้ไม่ทันสมัย มีผลให้ผู้ใช้หรือผู้บริหารที่นำสารสนเทศนั้นไปใช้เกิดความเข้าใจผิด คาดการณ์ในเรื่องต่างๆผิดพลาดได้