Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Cardiac dysrhythmias - Coggle Diagram
Cardiac dysrhythmias
Ventricular fibrillation (VF) หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกําเนิดการ เต้นของหัวใจตําแหน่งเดียวหรือหลายตําแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ ลักษณะ ECG จะไม่มี P wave ไม่เห็นรูปร่างของ QRS complex ระบุไม่ได้ว่าส่วนไหนเป็น QRS complex ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขผู้ป่วย จะหัวใจหยุดเต้นทันที
การพยาบาล
เตรียมเครื่งมือ อุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมและทํา CPR ทันที เนื่องจากการ รักษา VF และ Pulseless VT สิ่งที่สําคัญคือ การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที และการกดหน้าอก
-
อาการและอาการแสดง
อาการเกิดทันที คือ หมดสติ ไม่มีชีพจร รูม่านตาขยาย เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตออกมา ได้และเสียชีวิต
การพยาบาล
- ป้องกันภาวะ tissue hypoxia โดยให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา ในกรณีที่ค่าความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในเลือดแดงที่วัดจากปลายนิ้ว
- ติดตามค่าเกลือแร่ในเลือด เพื่อหาสาเหตุนําของการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- ติดตามผลข้างเคียงของยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยว่ามียาชนิดใดที่มีผลต่ออัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจ
- ติดตามและบันทึกอาการแสดงของภาวะอวัยวะและเนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยงลดลง จาก ระดับความรู้สึกตัวลดลง ความดันโลหิตลดลง สีของผิวหนังเขียว อุณหภูมิของผิวหนังเย็นลง จํานวนปัสสาวะลดลง และ capillary refill time นาน
- ติดตามและบันทึกการเปลี่ยนแปลงของ สัญญาณชีพ คลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยเฉพาะ ST segment เพื่อประเมินภาวะ Myocardial tissue perfusion และป้องกันการเกิด Myocardial ischemia
- ให้ยา antidysrhythmia ตามแผนการรักษาและเตรียมอุปกรณ์สําหรับทํา synchronized cardioversion ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดไม่รุนแรง ถ้าอัตรา การเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที ให้เตรียมอุปกรณ์สําหรับใส่temporary pacing
- ทํา CPR ร่วมกับทีมรักษาผู้ป่วย ในกรณีเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง (lethal dysrhythmias)
-
-
Atrial fibrillation (AF) คือ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้า(ectopic focus) ใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน ทําให้ atrium บีบตัวแบบสั่น พริ้ว และคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้ทั้งหมด ลักษณะ ECG ไม่สามารถบอก P wave ได้ชัดเจน จังหวะไม่สม่ำเสมอ QRS complex ไม่เปลี่ยนแปลง อัตราการเต้นของ atrial มากกว่า 350 ครั้ง/นาที
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจรูห์มาติก ภาวะหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ
-
ประเภทของ AF
- Persistent AF หมายถึงAFที่ไม่หายได้เองภายใน7วันหรือหายได้ด้วยการรักษาด้วยยาหรือ การช็อค ไฟฟ้า
- Permanent AF หมายถึงAFที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปีโดยไม่เคยรักษา
-
- Recurrent AF หมายถึงAFที่เกิดซ้ำมากกว่า1ครั้ง
- Lone AFหมายถึงAFที่เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า60ปีที่ไม่มีความผิดปกติของหัวใจโรคความดันโลหิตสูง
การพยาบาล
- ดูแลให้ได้รับยาควบคุมการเต้นของหัวใจเช่น digoxin,beta-blocker,calciumchannelblockers, amiodarone
- ประเมินการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพและคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างต่อเนื่อง
- ดูแลให้ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดตามแผนการรักษาในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ว่ามีลิ่มเลือดเกิดขึ้น
- สังเกตอาการและอาการแสดงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันสมองปอดแขนและขา
- เตรียมผู้ป่วยในการจี้ด้วยคลื่นไฟฟ้าความถี่สูง(RadiofrequencyAblation)ในผู้ป่วยที่เป็นAFและไม่สามารถควบคุมด้วยยาได้
- เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ในการทําCardioversionเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นในจังหวะปกติ
-
Ventricular tachycardia (VT) หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกําเนิดการเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมากแต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที ซึ่งจุดกําเนิดอาจมีตําแหน่งเดียวหรือ หลายตําแหน่งลักษณะ ECG ไม่พบ P wave ลักษณะ QRS complex มีรูปร่างผิดปกติกว้างมากกว่า 0.12 วินาที VT อาจเปลี่ยนเป็น VF ได้ในทันทีและทําให้เสียชีวิต
สาเหตุ
พบบ่อยในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction) โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease) ถูกไฟฟ้าดูด ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำพิษจากยาดิจิทัลลิส (Digitalis toxicity) และ กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
-
ประเภทของ VT
Sustained VTคือVTที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30วินาทีซึ่งมีผลทําให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
-
-
-
การพยาบาล
- นําเครื่องDefibrillatorมาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันทีและเปิดหลอดเลือดดําเพื่อให้ยาและ สารน้ํา
- คลําชีพจรประเมินสัญญาณชีพระดับความรู้สึกตัวเจ็บหน้าอกภาวะเขียวจํานวนปัสสาวะเพื่อ ประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสําคัญลดลง
- ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
-
- ในผู้ป่วยที่เกิดVTและคลําชีพจรได้ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลงให้เตรียมผู้ป่วยในการทํา synchronized cardioversion
- ในผู้ป่วยที่เกิดVTและคลําชีพจรไม่ได้ให้เตรียมเครื่องDefibrillatorเพื่อให้แพทย์ทําการช็อกไฟฟ้าหัวใจในระหว่างเตรียมเครื่องให้ทําการกดหน้าอกจนกว่าเครื่องจะพร้อมปล่อยกระแสไฟฟ้า
-