Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
image - Coggle…
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
-
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmias: Sustained AF, VT, VF)
-
-
-
-
ภาวะช็อก (Shock)
ความหมาย
ภาวะช็อก เป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสรีรวิทยาส่งผลให7ปริมาณออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกายลดต่ำลงกว่าความต้องการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อและอวัยวะ นำไปสู่ความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะต่างๆจากการขาดออกซิเจนในระดับเซลล์ (Cellular dysoxia)
พยาธิสรีรวิทยาและพยาธิสภาพ
ในภาวะปกติการไหลเวียนโลหิตและการนำออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อส่วนปลาย (DO2) ที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสรีรวิทยาของการไหลเวียนโลหิต และ ปริมาณของออกซิเจนในเลือด
ระยะของช็อก
- ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับการรักษาทั้งการให้สารน้ำและยาที่เหมาะสม ผลการรักษาจะดีและมีภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
- ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย การทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง ก่อนได้รับการรักษาที่เหมาะสม การรักษาจะใช้เวลามากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
- ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก การรักษาในระยะนี้มักจะไม่ได้ผลผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ประเภทของช็อก
- ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย (การสูญเสียมากกว่า 30-40% ของปริมาตรเลือด) ทำให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจ (Venous return หรือ preload) ลดลง
- ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่มีปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
- ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock, vasogenic / vasodilatory shock, Inflammatory shock)
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการตายในอันดับต้นๆ กลไกการเกิดจากการติดเชื้อ(pathogen) ซึ่งเชื้อโรคจะมีการหลั่งชีวพิษในตัว (endotoxin) ร่างกายจึงมีการตอบสนองโดยการหลั่งสาร Cytokines
3.2 ภาวะช็อกจากการแพร่ (Anaphylactic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดในภาวะ anaphylaxis เกิดจากปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่ได้รับ antigen กับantibody ของร่างกาย (antigen-antibody reaction) ทำให้เกิด hypersensitivity type I ซึ่ง IgE จะไปกระตุ้น mast cell และ basophil แตกตัว
3.3 ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต (Hypoadrenal / adrenocortical shock)เป็นภาวะช็อกที่ร่างกายไม่สามารถผลิต cortisol ในปริมาณมากพอกับความต้องการในการประคับประคองความดันโลหิตในขณะที่ร่างกายเกิดความเครียด
- ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock)เกิดจากการอุดกั้นการไหลเวียนของโลหิตไปสู่หัวใจห้องซ้ายจากสาเหตุภายนอกหัวใจ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
- ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock)
ภาวะช็อกนี้เป็นความผิดปกติทางพลศาสตร์การไหลเวียนโลหิต จากความบกพร่องในการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ควบคุมการขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือด (Vasomotor tone) เป็นผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงขึ้นทันใด
อาการและอาการแสดง
- ประสาทส่วนกลาง กระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
- หัวใจและหลอดเลือด ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว ผิวหนังเย็นซีด
- หายใจ หายใจเร็วลึก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลว
- ไตและการขับปัสสาวะ ปัสสาวะออกน้อย
- ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ดีซ่าน การย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ ตับวาย
- เลือดและภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำงานบกพร่อง
- ต่อมไร้ท่อ น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะร่างกายเป็นกรด
การรักษา
- การแก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ โดยกำหนดเป้าหมายให้ค่าความดันโลหิตเฉลี่ย (MAP) มากกว่าหรือเท่ากับ 65 mmHg
- การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
- การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อก
- การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
การประเมินสภาพ
- การซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของภาวะช็อก
-
-
-