Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Induction of labor การชักนำการคลอด, 1600x960_125609-induction-of-labour,…
Induction of labor การชักนำการคลอด
Induction
หมายถึง การทำให้เจ็บครรภ์คลอดด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดโดยเร็ว
เมื่ออายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ หรือน้ำหนักทารกไม่น้อยกว่า 1000กรัม
Augmentation
คือ การกระตุ้น/เร่งให้เจ็บครรภ์มากขึ้น ใช้ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการเจ็บครรภ์คลอดเพิ่มขึ้นแล้วตามธรรมชาติ หรือ ส่งเสริมให้มดลูกหดรัดตัวที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อให้การคลอดสิ้นสุดโดยเร็ว หรือดำเนินไปตามเวลาที่สมควร
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.แบบมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ถ้าปล่อยไว้จะเกิดผลเสียต่อมารดาและทารก
ข้อบ่งชี้มารดา
1.มารดามีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ เช่น PIH , Polyhydramnios, Oligohydramnios, Antepartum hemorrhage, Postterm pregnancy, PROM, chorioaminonitis, Abruptio placenta
2.มารดามีโรคทางอายุรศาสตร์ เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง และโรคมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยรังสีหรือเคมีบำบัด
ข้อบ่งชี้ทารก
1.ทารกมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ทารกในครรภ์มีภาวะ
โตช้า(Intrauterine growth retardation) IUGR , Chorioamnionitis ถุงน้ำคร่ำติดเชื้อ
2.ทารกไม่สามารถมีชีวิตรอดได้ เช่น ทารกไม่มีสมอง ทารกบวมน้ำ hydrops fetalis ,Thalassemia ชนิดรุนแรง (Bart's hydrop) ทารกหัวบาตร
3.ทารกเสียชีวิตในครรภ์
2.แบบนัดหมาย(Elective ) เพื่อความสะดวกของมารดาหรือสูติแพทย์ที่ให้การดูแล
ข้อบ่งห้าม
แบบสมบูรณ์ (Absolute contraindication)
หัวทารกกับอุ้งเชิงกรานช่องคลอดผิดสัดส่วน (Cephalopelvic
disproportion:CPD )
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ (Fetal
malpresentation) เช่น ท่าขวาง
Fetal distress เช่น
ภาวะสายสะดือย้อย (Occult prolapsed umbilical cord)
รกเกาะต่ำ (placenta previa) ชนิด Totalis Partialis
Vasa previa
ทารกหัวใจเต้นช้า
เคยผ่าคลอดแบบ classical หรือเคยผ่าเนื้องอกที่มดลูก
ปากมดลูกมีการติดเชื้อเริม
แบบสัมพันธ์ (Relative contraindication)
ชักนำได้ถ้ามีความจำเป็น
ทารกตัวโต ต้องติดตามความก้าวหน้าอย่างใกล้ชิด
เคยผ่าคลอดแบบ Low transverse
มดลูกขยายตัวผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝดน้ำ
ท่ารกท่าก้นแบบ Frank
ครรภ์4 ขึ้นไป (Grand multiparity)
การพิจารณาก่อนการชักนำ
1.อายุของทารกในครรภ์ จำเป็นต้องตรวจสอบให้ถูกต้องแน่นอน จากประจำเดือนครั้งสุดท้าย ขนาดของมดลูก U/S เพื่อป้องกันทารกอายุไม่ครบกำหนด จะเป็นอันตรายต่อทารกได้
2.ความสมบูรณ์ของระบบหายใจของทารกในครรภ์ ตรวจด้วยอัตราส่วนของ Lecithin และ Spingomyelin ถ้าไม่มีปัญหาเรื่อง Respiratory distress syndrome แพทย์อา่จชักนำแต่ถ้ายังมีปัญหาแพทย์อาจให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไป
3.สุขภาพของทารกในครรภ์ ทารกต้องแข็งแรงพอที่จะทนต่อภาวะเครียดได้
4.สภาพของปากมดลูกและระดับของส่วนนำ
ตามวิธีการให้คะแนนของ Bishop score
0-4 คะแนน ทำได้ยาก ทางเลือก3 ทาง 1.ตั้งครรภ์ต่อไปถ้าทำได้ 2.ผ่าคลอด 3.ให้ Prostageglandins
5-8 เจาะถุงน้ำคร่ำร่วมกับการใช้ Oxytocin ช่วยให้เกิดผลสำเร็จสูง
9 คะแนนขึ้นไป ปากมดลูกมีความพร้อม การชักนำที่นิยมได้แก่ การเลาะถุงน้ำคร่ำ การเจาะถุงน้ำคร่ำ การเจาะถุงน้ำคร่ำอหรือให้ Oxytocin อย่างใดอย่างหนึ่ง
การเลาะถุงน้ำคร่ำ(Stripping of membranes)
จะกระตุ้นให้มีการหลั่ง Phospholipase A2 ออกมาจาก Endocervix และทำให้ระดับของ Prostaglandin F2 alpha สูงขึ้นในเลือด 3-4 ชั่วโมง ภายหลังเลาะถุงน้ำมีผลให้มดลูกมีการหดรัดตัวและมารดามีอาการเจ็บครรภ์คลอด
ทำได้โดยสอดนิ้วเข้าไปเลาะแยกถุงน้ำคร่ำ (Chorionic membranes)ออกจากปากมดลูกและ Decidua ของมดลูกส่วนล่างโดยรอบ ก่อนเลาะ
ควรตรวจก่อนว่าไม่มีภาวะรกเกาะต่ำ เพราะถ้ามีอาจเกิดภาวะตกเลือดอย่างรุนแรงได้
การเจาะถุงน้ำคร่ำ (Amniotomy
)
เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมว่ามีประสิทธิภาพ กลไกที่ทำให้เกิดการชักนำเชื่อว่า การฉีกขาดของถุงน้ำคร่ำทำให้มีการหลั่งProstageglandin สูงภายใน 15 นาทีหลังเจาะ
ต้องตรวจภายในบริเวณ Fornixก่อนว่าไม่มีรกเกาะต่ำ
สอดนิ้วชี้นิ้วกลางคลำดูเส้นเลือด(Vasa previa) หรือสายสะดืออยู่ต่ำกว่าส่วนนำหรือไม่ ใช้นิ้วเซาะแยกเพื่อให้น้ำคร่ำไหลลงมาที่บริเวณถุงน้ำทูนหัว แล้วสอดคีมที่มีเข้าเล็กๆเข้าไประหว่างนิ้วมือทั้งสองแล้วจับถุงน้ำคร่ำบิดหรือดึงเบาๆให้ถุงน้ำคร่ำแตก ฟังเสียงหัวใจหลังเจาะทันที
การพยาบาล
1.เตรียมเครื่องมือ เช่น Allis forceps, Amnihook, Amniotomy forceps, Tenaculum forceps เป็นต้น ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วและหม้อนอน
2.เตรียมมารดาทั้งร่างกายและจิตใจ
ด้านจิตใจ อธิบายให้มารดาเข้าใจวิธีการทำ เพื่้อให้มารดาเกิดความร่วมมือและลดความกังวล ตลอดจนทราบถึงอาการหรือผลที่จะเกิดขึ้นหลังการเจาะ
ด้านร้่างกาย ให้มารดาถ่ายปัสสาวะ กั้นม่าน ปิดตา จัดท่าชันเข่า Flashing
3.ก่อนแพทย์ลงมือทำ ต้องฟังFHS และบันทึก
4.ขณะแพทย์ทำและมีน้ำคร่ำไหล ต้องสังเกตสี กลิ่น ปริมาณ สภาพปากมดลูก เวลาที่เจาะ และจดบันทึกไว้
5.ฟัง FSH ทันทีหลังเจาะทุก 15-30 นาที
6.ดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและใส่ผ้าอนามัยทุกครั้งหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่โพรงมดลูกและ เพื่อสังเกตลักษณะ ปริมาณ และสีของน้ำคร่ำที่ออกมาภายหลัง เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกครั้งเมื่อเปียกชุ่ม
หลังเจาะให้มารดานอนพัก เพราะถ้าส่วนนำยังไม่ลงในช่องเชิงกราน อาจทำให้เกิดภาวะสายสะดือพลัดต่ำได้
8.ประเมิน contraction ทุก 30-1 ชั่วโมง ตามระดับความรุนแรงและการได้รับยากระตุ้น
9.ตรวจภายในเพื่อดูความก้าวหน้าของการคลอดตามความจำเป็น
10.V/S ทุก 4 ชั่วโมง โดยเฉพาะอุณหภูมิ เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
การชักนำการคลอดโดยใช้ยา
Prostaglandins (PGs)
เพื่อทำให้ปากมดลูกพร้อมเข้าสู่ระยะคลอด (Cervical ripening )ในกรณีที่คะแนน Bishop น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4 เพื่อช่วยให้คะแนน Bishop สูงขึ้น
ไม่ควรใช้ยาในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนเช่น มีประวัติโรคหอบหืด โรคต้อหิน(Glaucoma) โรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงรุนแรงคุมไม่ได้ และ Fetal distress
ทำได้โดยสอดยาเข้าในช่องคลอดบริเวณ Posterior fornix นิยมใข้เป็นยาเหน็บที่เรียกว่า Prostin-E
การพยาบาล
เฝ้าระวังการหดรัดตัวของมดลูกที่อาจเกิดอย่างรุนแรงได้และอาการข้างเคียงอื่น ๆเช่น คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย การให้ในขนาดสูง อาจทำให้หลอดเลือดขยายตัวและมีผลทำให้ความดันโลหิตลดลง และวันรุ่งขึ้นเมื่อปากมดลูกพร้อมก็อาจจะใช้การชักนำวิธีอื่นด้วย
Oxytocin
มีฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการหดรัดตัวทำให้ระยะLatent phase สั้นลงและช่วยให้มารดาเข้าสู่ระยะคลอดเร็วขึ้น
หลักการให้
1.ให้ 10 unit ใน 5% D/W 1000 ml(หรือ 5 unit ใน 500ml )โดยเริ่มหยดเข้าไปในหลอดเลือดดำอัตรา 8-12 หยดต่อนาที (ประมาณ 5 มิลิยูนิต/นาที) นาน 30 นาทีแล้วจึงปรับขนาดยา ควรปรับหยดยาทุก 15-60 นาที หรือ 30 นาทีในทางปฎิบัติ เพิ่มหยดทุก4 หยด/นาที จนมดลูกหัดรัดตัวดี
2.ควรเจาะถุงน้ำคร่ำร่วมกับให้ยาด้วย
3.การคลอดควรเสร็จสิ้นใน12 ชั่วโมง หลังได้รับยา ถ้าไม่ได้ผลควรหยุดให้ยา และเริ่มให้ใหม่ในวันรุ่งขึ้น หรือพิจารณาผ่าคลอด
4.หลังคลอดควรให้ยาต่ออย่างน้อย 1 ชั่วโมง อาจให้เร็วขึ้นเพื่อป้องกันการตกเลือด
ผลกระทบ
ต่อมารดา
มดลูกแตก (Uterine rupture ) ระวังการหดรัดตัวอย่างรุนแรง (Tetanic contraction) จนเกิดภาวะมดลูกแตก
คลอดเร็วผิดปกติ
รกลอกตัวก่อนกำหนด
Amniotic fluid embolism
ความดันโลหิตต่ำ
ภาวะน้ำเป็นพิษ (Water intoxication)
ตกเลือดหลังคลอด
ต่อทารก
พร่องออกซิเจนของทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ภาวะนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเวลาและปริมาณของ Oxytocin ที่มารดาได้รับ
การพยาบาล
ก่อนให้ยา
1.ซักประวัติ ตรวจครรภ์ ตรวจภายใน ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ฟัง FHS วัด V/S และติดตามผลการตรวจอื่น ๆ
2.อธิบายให้มารดาทราบถึงจุดมุ่งหมายในการให้ยาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับยา
3.สวนอุจจาระ สวนปัสสาวะให้เรียบร้อย
4.เตรียมยา สารน้ำ และอุปกรณ์ในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ขณะให้ยา
1.สังเกตและบันทึกการหดรัดตัวของมดลูกทุก 30 นาที ต้องมีการหดรัดตัวทุก 2-3 นาที และหดรัดตัวนาน 45-60 วินาที
2.บันทึก FHS ทุก 15-30 นาที พร้อมสังเกตน้ำคร่ำว่ามี Meconium ปนหรือไม่เมื่อถุงน้ำแตกแล้วเป็นระยะ เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์ หากพบความผิดปกติของเสียงหัวใจหรือน้ำคร่ำ่เขียวเข้มควรทำดังนี้
1.หยุดให้ Oxytocin ทันที
2.ให้ออกซิเจน Mask with bag หรือ canular 6-8 ลิตร/นาที เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้ทารก
3.ตะแคงซ้ายหรือเปลี่ยนข้าง
4.ติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ตลอดเวลาโดย EFM
5.ตรวจภายใน
6.รายงานแพทย์และเตรียมการช่วยคลอด
3.ควบคุมอัตราการหยดของยา เริ่มให้ยาในอัตรา 8-12 หยด/นาที ปรับทุก 30 นาที ถ้ามดลูกไม่มีการหดรัดตัวทุก 2-3 นาที นาน 45-60 วินาที
4.ประเมินความก้าวหน้าของการคลอดโดยตรวจภายในเป็นระยะๆ
5.ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่าง เพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดี
6.ดูแลบรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอดให้กับมารดา
7.ให้กำลังใจและอยู่เป็นเพื่อนมารดาตลอดเวลาขณะได้รับยา
หลังให้ยา
เฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด โดยประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด ความเต็มของกระเพาะปัสสาวะ และดูแลให้ยา ต่อไปอีกอย่างน้อย 1 ชั่วโมง