Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) - Coggle Diagram
โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)
ความหมาย
เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ หรือร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และมีความผิดปกติทางเมตาบอลิสมอื่นๆ ตามมา ซึ่งหากไม่สามารถควบคุมความผิดปกติดังกล่าวได้ จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งหลอดเลือดขนาดเล็ก (Microvascular) เช่น โรคไต (Diabetic Nephropathy) โรคจอประสาทตาผิดปกติ (Diabetic Retinopathy) โรคเส้นประสาทผิดปกติ (Diabetic Neuropathy) และหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ (Macrovascular) เช่น โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดส่วนปลายที่ขา
พยาธิวิทยา(ทฤษฎี)
อินซูลินมีหน้าที่ควบคุมอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน การพร่องอินซูลินพบสาเหตุใหญ่ๆ อย่างน้อย 4 ปัจจัย ได้แก่ กรรมพันธุ์ ภาวะการเผาผลาญ ภาวะติดเชื้อ และปัจจัยทางภูมิต้านทานเป็นผลให้ไอสเลทบีต้าเซลล์ถูกทำลาย หรือสร้างอินซูลินไม่ได้เลย เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจอื่นอื่นๆ ซึ่งผลจากการสร้างอินซูลินไม่เพียงพอ หรือขาดหรือทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ จะทำให้กลูโคสในกระแสเลือดผ่านเข้าสู่เซลล์ได้ช้า ในขณะเดียวกันจะมีการสร้างกลูโคสจากไกลโคเจนที่ตับ และมีการดูดซึมเพิ่มจากอาหารที่รับประทานเข้าไป จึงเกิดภาวะน้ำตาลในกระแสเลือดสูง (Hyperglycemia) ระดับกลูโคสที่สูงขึ้นนี้
ถ้าเกินกว่าที่ความสามารถของไตจะดูดกลับ (Renal threshold) ก็จะถูกขับออกพร้อมกับน้ำมากับปัสสาวะ จึงตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ (Glucosuria)น้ำตาลที่เข้มข้นสูงจะพาเอาน้ำออกมาเป็นจำนวนมากทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย (Polturia) พร้อมกับเสียเกลือแร่บางชนิด โดยเฉพาะโซเดียมร่างกายจึงขาดทั้งอาหาร น้ำและเกลือแร่ จึงมีอาการหิวบ่อย กินจุ (Polyphagia) กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย (Polydipsia) และน้ำหนักลด ผอมลงบางรายอ่อนเพลีย อาการมากน้อยแล้วแต่การสูญเสียน้ำตาล น้ำ และเกลือแร่เป็นไปแบบเรื้อรัง นั่นคือลักษณะของโรคเบาหวาน
เบาหวานชนิดที่ 2 (Non-insulin dependent diabetes) มักพบในผู้ใหญ่ผู้สูงอายุ หรือมีญาติสายตรง เป็นเบาหวาน การขาดอินซูสินเนื่องจากตับสังเคราะห์กลูโคสเพิ่มขึ้นผิดปกติ โดยเริ่มที่เบตาเซลล์หลังอินซูลินบกพร่อง มักพบในคนที่ไม่อ้วน แต่ในคนอ้วนจะมีความผิดปกติที่ความไวต่ออินซูลินลดลง
เบาหวานชนิดดี 1 (Insulin dependent diabetes) มักพบในผู้ที่มีอายุน้อยและวัยวุ่น มีการขาดอินซูลินเนื่องจากเซลล์เบ้ตาในตับอ่อนถูกทำลาย โดยมีสาเหตุจากปัจจัยทางพันธุกรรมมีผลทำให้กลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อไม่ได้จากปัจจัยทางระบบภูมิคุ้มกันเนื่องจากมีแอนติบอดีต่อแอนติเจนชนิดต่างๆ มีการทำลายเซลล์เบ้ตาและรบกวนการหลั่งอินซูสิน ส่วนปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การขาดอินซูลินติดเชื้อไวส การได้รับสารอาหาร ยาสารเคมีที่ทำลายเซลล์ทำให้เกิดภาวะขาดอินซูลิน
สาเหตุ
กรรมพันธุ์ น้ำหนักเกิน ความอ้วน ขาดการเคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกาย อายุที่มากขึ้น โรคของตับอ่อน การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม ความเครียดเรื้อรัง การตั้งครรภ์
ผู้ป่วย : ผู้สูงอายุ 70 ปี น้ำหนัก 78 กิโลกรัม ส่วนสูง 165 เซนติเมตร BMI 28.65 kg/m2 อยู่ระดับอ้วน ไม่ค่อยออกกำลังกาย และรับประทานอาหารหวานไม่ควบคุมอาหาร
อาการและอาการแสดง
ถ่ายปัสสาวะมาก (polyuria) ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน ดื่มน้ำมาก (polydypsia) หิวน้ำบ่อย ผิวแห้ง เป็นแผลแล้วหายยาก ตาพร่ามัว น้ำหนักลด (weight loss)
ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า รับประทานจุ (polyphagia
ผู้ป่วย : ปัสสาวะมากและบ่อย ดื่มน้ำมาก รับประทานจุ
ภาวะแทรกซ้อน(ทฤษฎี)
เฉียบพลัน
ภาวะเป็นกรดจากคีโตน (ketoacidosis)
ภาวะเลือดมีความเข้มข้นโดยไม่เป็นกรด
ภาวะเป็นกรดจากกรดแลคติก
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
เรื้อรัง
หลอดเลือดแดงใหญ่เสื่อม เช่น หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย
หลอดเลือดแดงเสื่อม (Microangiopathy) เช่น หลอดเลือดที่ตาทำให้ตามองเห็นไม่ชัด หรือตาบอด หลอดเลือดที่ไตทำให้เกิดไตวาย หรือความดันโลหิตสูง
เส้นประสาทเสื่อม (Diabetic Neuropathy) ทำให้เกิดการชาปลายมือปลายเท้า นอกจากนี้ยังพบภาวะแทรกซ้อนที่ผิวหนัง กระดูก และตำแหน่งที่ฉีดยาอินซูลิน
การรักษา
การใช้ยารักษา
ยากลุ่ม Sulphonyluria คือ กระตุ้นเบต้าเซลล์ให้หลั่งอินซูลิน ได้แก่ Tolbutamide, Chlorpropamide, Glibenclamide, Glipizide, Gliclazide
ยากลุ่ม ไบกัวไนด์ (biquanudes)ปัจจุบัน คือ metformin ซึ่งออกฤทธิ์ลดน้ำตาลโดยลดการดูดซึมของกลูโคสในลำไส้ เซลล์ตับสร้างกลูโคสลดลง
รักษาด้วยยาฉีด
ควบคุมน้ำหนักและควบคุมอาหาร
อาหารที่ต้องงด ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง นมข้นหวาน ขนมหวานทุกชนิด และพวกผลไม้เชื่อม หรือแช่อิ่มน้ำหวาน น้ำอัดลม หรือเครื่องที่มีแอลกอฮอล์ ผลไม้บางชนิด เช่น ทุเรียน ลำไย ขนุน องุ่น มะม่วงสุก
อาหารที่ต้องจำกัด ได้แก่ ผลไม้บางอย่าง เช่น เงาะ สับปะรด กล้วย พืชที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น เผือก มัน ธัญพืช และผลิตภัณฑ์จากธัญพืช เช่น ข้าว ขนมปัง บะหมี่ ก๋วยเตี๋ยว
ตรวจเท้าและบริหารเท้าเป็นประจำ ได้แก่ การใช้เท้าฉีกกระดาษ การใช้เท้าปั้นกระดาษเป็นวงกลม
มั่นการออกกำลังกาย เช่น เต้นแอโรบิค ปั่นจักรยาน
ควบคุมระดับน้ำตาลในอยู่ในเกณฑ์ ได้แก่ 80-200 mg/dl
แนะให้ตรวจตาปีละครั้งและตรวจไตจากการสุขภาพประจำปี
แนะนำให้นอนหับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมง
แนะนำวิธีคลายความเครียด ได้แก่ การฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื่อ ฝึกสมาธิ
การวินิจฉัย
ระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากงดอาหาร
ปกติระดับน้ำตาลจะน้อยกว่า 100 มก./ดล.
อยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล. ถือเป็นภาวะที่มีความเสี่ยงเบาหวาน
ถ้าเกิน 126 มก./ดล. จะจัดว่าเป็นเบาหวาน
ค่าน้ำตาลหลังรับประทานอาหารไปแล้ว 2 ชั่วโมง ถ้าร่างกายเอาน้ำตาลไปใช้ได้ดี ค่าน้ำตาลควรน้อยกว่า 140 มก./ดล. แต่ถ้าเกิน 200 มก./ดล. จะจัดว่าเป็นเบาหวาน
ค่าน้ำตาลสะสม (HbA1c) ซึ่งเป็นค่าที่ใช้บอกระดับน้ำตาลในเลือดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ถ้าค่า HbA1c สูงแสดงว่าที่ผ่านมา 3 เดือนมีระดับน้ำตาลสูง
ปกติจะอยู่ที่ 4.3-5.6%
อยู่ระหว่าง 5.7-6.4% ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานหรือเป็นเบาหวานแฝง
ค่าตั้งแต่ 6.5% ขึ้นไปแสดงว่าเป็นเบาหวาน
ทฤษฎีระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ต่อมไร้ท่อจะทำงานลดลง ทำให้ตับอ่อนหลั่งอินซูลินน้อยลง เกิดเป็นโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุ อายุ 73 ปี เป็นโรคเบาหวานมา 20 ปี มีมารดาเป็นเบาหวาน ชอบรับประทานของหวาน มีอาการชาปลายมือปลายเช้าบางครั้ง น้ำหนัก 65 กิโลกรัม สูง 155 เซนติเมตร BMI 29.9 kg/m2 อยู่ในเกณฑ์อ้วน รอบเอว 88 เซนติเมตร ได้รับยา รับประทานยา Glipizide 1 Tab OD PC เช้า, metformin hydrochloride 1 tab pc เช้า-เย็น ไ่ม่ได้รับยาชนิดฉีด