Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตในระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะหัวใจล5มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF])
ความหมาย
การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวาย กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน โรคหัวใจใดๆที่ทรุดลงตามการดำเนินโรค ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความผิดปกติอื่นๆ หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
อาการและอาการแสดง
Pulmonary edema
Cardiogenic shock
Hypertensive acute heart failure
High output failure
Acute decompensated heart failure
Right heart failure
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่พบบ่อย
หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย บวมตามแขนขา ความดันโลหิตปกติหรือ ต่ำ/สูง ท้องอืดโต แน่นท้อง ปัสสาวะออกน้อย/มาก หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง ฟังได้ยินเสียงปอดผิดปกติ(Lung crepitation)
การรักษา
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย
การใช้ยา
การลดการทำงานของหัวใจ (Decrease cardiac workload)
การรักษาสาเหตุ ได้แก่ การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่
การประเมินสภาพ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, biochemical cardiac markers, ABG
การตรวจพิเศษ ได้แก่ CXR, echocardiogram, CT, coronary artery angiography (CAG)
การซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมการพยาบาล
การลดการทำงานของหัวใจ เช่น ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะเป็นต้น
การลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย เช่น ดูแลให้ได้รับยาลด/ควบคุม จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจ
การเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล7ามเนื้อหัวใจ
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ดูแลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับการไหลเวียนเลือด
ดูแลการทำงานของเครื่องกระตุ้นจังหวะหัวใจ
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับการตอบสนองตามความต้องการพื้นฐาน
ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ประเมินสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง
ดูแลติดตามและบันทึกค่า CVP, PCWP
สังเกต/บันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง (keep urine output >= 0.5 ml/kg/hr.)
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อน
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย
สอนและแนะนำเทคนิคการผ่อนคลายที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ป่วย
กระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้นไปในทางที่ดี
ภาวะช็อก (Shock)
ความหมาย
ภาวะช็อกเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการต่างๆ หรือความผิดปกติจากทางสรีรวิทยาเป็นผลให้เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ
ระยะของช็อก
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการ
วินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย
ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย๋างมาก การรักษาในระยะนี้มักจะไม่ได้ผล ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น
ประเภทของช็อก
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ (Hypovolemic shock)
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock)
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว
3.2 ภาวะช็อกจากการแพ้(Anaphylactic shock)
3.3 ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต
3.1 ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข5าสูAหัวใจ (Obstructive shock)
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท (Neurogenic shock)
อาการและอาการแสดง
ประสาทส่วนกลาง กระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
ไตและการขับปัสสาวะ ปัสสาวะออกน้อย
หัวใจและหลอดเลือด ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ
หายใจ หายใจเร็วลึก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลว
ต่อมไร้ท่อ น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ ภาวะร่างกายเป็นกรด
เลือดและภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกาย
ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ขาดเลือด
การรักษา
การแก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ
การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะช็อก เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ
การแก้ไขความผิดปกติของภาวะกรดด่าง
การประเมินสภาพ
การตรวจร่างกาย ได้แก่ การประเมินทางเดินหายใจ การประเมินลักษณะและอัตราการหายใจ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น CBC, BUN, Cr, electrolyte, lactic acid, arterial blood gas,
coagulation, specimens culture
การซักประวัติ เพื่อหาสาเหตุของภาวะช็อกที่เกิดจากการเจ็บป่วย
การตรวจพิเศษ เช่น x-ray, CT, echocardiogram, ultrasound.
กิจกรรมการพยาบาล
การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะช็อก
การป้องกันเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เช่น ประเมินภาวะขาดออกซิเจน โดยการติดตามสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
ส;งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัวต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น