Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตใน ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต, 5A527F7C…
บทที่ 3.2 การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตใน
ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต
(Hypertensive crisis)
ความหมาย
Cardiovascular disease (CVD)
หมายถึง โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด
ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคของหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี่ โรคหัวใจล้มเหลว โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่มีอาการ รวมถึงการตรวจหลอดเลือดแล้วพบ Atheromatous plague และรวมถึง Atrial fibrillation
Hypertensive urgency
คือ ภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรงแต่ไม่มีอาการของอวัยวะเป้าหมายถูกทำลาย ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก
Target organ damage (TOD)
หมายถึง ความผิดปกติที่เกิดแก่อวัยวะในร่างกายจากความดันโลหิตสูง
ได้แก่ การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง หัวใจห้องล่างซ้ายโต ภาวะโปรตีนขับออกมากับปัสสาวะ (microalbuminuria) โรคไตเรื้อรังในระดับปานกลางถึงรุนแรง โรคของหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ยังไม่มีอาการ และ Hypertensive retinopathy
ที่รุนแรงจะมี exudates หรือเลือดออก หรือ papilledema
Hypertensive emergency
หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่า 180/120 มม.ปรอท ร่วมกับมีการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย
ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
หมายถึง ความดันโลหิตที่วัดจากสถานพยาบาล ที่มีค่าความดัน Systolic ตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอท และความดัน Diastolic ตั้งแต่ 90 มิลลิเมตรปรอท ในผู้ใหญ่ อายุ 18 ปีขึ้นไป
Hypertensive crisis หรือ Hypertensive emergency
หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลันสูงกว่า 180/120 มม.ปรอท และทำให้เกิดการทำลายของอวัยวะเป้าหมาย (target organ damage, TOD)
สาเหตุ
โรคไตเฉียบพลันหรือเรื้อรัง (Acute or chronic renal disease)
Exacerbation of chronic hypertension
หยุดยาลดความดันโลหิตทันที (Sudden withdrawal of antihypertensive medications)
การใช้ยาบางชนิดที่มีผลทำให้ความดันโลหิตสูง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
เจ็บแน่นหน้าอกแบบเฉียบพลัน/แบบไม่คงที่ (Unstable angina)
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (Acute cardiovascular syndromes)
น้ำท่วมปอด (Pulmonary edema)
ความดันโลหิตสูงขั้นวิกฤตที่ทำให้เกิดอาการทางสมอง เรียกว่า
hypertensive encephalopathy
จะมีอาการ ปวดศรีษะ มองเห็นผิดปกติ สับสน คลื่นไส้ อาเจียน
ภาวะเลือดเซาะในผนังหลอดเลือดเอออร์ต้า (Aortic dissection)
การซักประวัติ 📇
ประวัติความดันโลหิตสูงที่เป็นในสมาชิกครอบครัว ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ โรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง
สอบถามอาการของอวัยวะที่ถูกผลกระทบจากโรคความดันโลหิตสูง (target organ damage, TOD)
การสูบบุหรี่
ความสม่ำเสมอในการรับประทานยา และผลข้างเคียงของยาที่ใช้
ประวัติการเป็นโรคประจำตัว
การตรวจร่างกาย 🩺
ตรวจหาความผิดปกติ
ที่เกิดจาก TOD
โรคหลอดเลือดสมอง จะมีอาการ แขนขาชาหรืออ่อนแรงครึ่งซีก มองเห็นไม่ชัดหรือตามัวชั่วขณะ (blurred vision) ระดับความรู้สึกตัวผิดปกติ (change in level of consciousness) หมดสติ (Coma)
วัดสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิตเปรียบเทียบกันจากแขนซ้ายและขวา หากไม่เท่ากันอาจจะเป็น Aortic dissection
ตรวจจอประสาทตา
ถ้าพบ Papilledema ช่วยประเมินภาวะ increased intracranial pressure
ตรวจ retina
ถ้า พบ cotton-wool spots and hemorrhages แสดงว่า มีการแตกของ retina blood vessels และ retina nerves ถูกทำลาย
Chest pain บอกอาการของ acute coronary syndrome or aortic dissection
อาการของ oliguria or azotemia (excess urea in the blood) แสดงถึงภาวะไตถูกทำลาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
และการตรวจพิเศษ 🔬🧪
ตรวจการทำงานของไต
จากค่า Creatinine และ Glomerular filtration rate (eGFR) และคjาอัลบูมินในปnสสาวะ
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (12-lead ECG) และ chest X-ray
หาความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด
ตรวจ CBC
ประเมินภาวะ microangiopathic hemolytic anemia (MAHA)
CT, MRI
ในรายที่สงสัยความผิดปกติของสมอง
การรักษา 💊
ไม่แนะนำให้ใช้ยา Nifedipine ทั้งทางปากและบีบใส่ใต้ลิ้น เพราะความดันโลหิตอาจลดต่ำลงมากเกินไปจนไม่สามารถควบคุมได้
ยา sodium nitroprusside ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับและไตบกพร่อง
รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิด Hypertensive crisis โดยยาลดความดันโลหิตที่ออกฤทธิ์เร็วและหมดฤทธิ์เร็ว
MAP ลดลงจากระดับเดิม 20-30% ภายใน 2 ชั่วโมงแรก และ 160/100 มม.ปรอท ใน 2-6 ชั่วโมง ป้องกันอวัยวะต่างๆ ไม่ให้ถูกทำลายมากขึ้น และไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
การพยาบาล 👩🏼⚕️
การรักษาด้วย
sodium nitroprusside
ยาเปลี่ยนสีเข้มขึ้น หรือเป็นสีส้ม น้ำตาล น้ำเงิน
ห้ามใช้ยา
เนื่องจากเกิดการสลายตัวของยาซึ่งจะปล่อย cyanide ออกมา
ให้ยาทาง infusion pump เท่านั้น
เก็บยาให้พ้นแสงและตลอดการให้ยาแก่ผู้ป่วย
ติดตามอาการไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำอย่างรวดเร็ว (excessive hypotension), หัวใจเต้นช้า, ภาวะกรด (acidosis), หลอดเลือดดำอักเสบ (phlebitis)
ผสมยาใน D5W และ NSS หลังจากผสมแล้วยาคงตัว 24 ชั่วโมง
cyanide toxicity
จะมีอาการ หัวใจเต้นเต็ว ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง หายใจตื้นเร็ว มีภาวะกรด ชัก และหมดสติ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรม
ในระหว่างได้รับยา ประเมินและบันทึกการตอบสนองต่อยา โดยติดตามความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด
ให้ความรู้/ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการรักษาเพื่อควบคุมความดันโลหิต และเหตุผลที่ตเองติดอุปกรณ์ที่ใช้เฝ้าระวังต่างๆ
ในระยะเฉียบพลัน เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของระบบต่างๆ ได้แก่ neurologic, cardiac, and renal systems
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อส่วนปลายไม่เพียงพอ (Risk for ineffective cerebral tissue perfusion)
วิตกกังวล (Anxiety related to threat to biologic, psychologic, or social integrity
เสี่ยงต่อเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (Risk for ineffective cerebral tissue perfusion)
พร่องความรู้ (Deficient knowledge related to lack of previous exposure to information)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
(Cardiac arrhythmias: Sustained AF, VT, VF)
Ventricular tachycardia (VT)
ประเภทของ VT
Sustained VT
คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลานานกว่า 30 วินาที ซึ่งมีผลทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง
Monomorphic VT
คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex เป็นรูปแบบเดียว
Nonsustained VT
คือ VT ที่เกิดต่อเนื่องกันเป็นเวลาน้อยกว่า 30วินาที
Polymorphic VT หรือ Torsade
คือ VT ที่ลักษณะของ QRS complex ไม่เป็นรูปแบบเดียว
สาเหตุ
ถูกไฟฟ้าดูด
ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
โรคหัวใจรูห์มาติก (Rheumatic heart disease)
Digitalis toxicity
กล้ามเนื้อหัวใจตายบริเวณกว้าง (Myocardial infarction)
กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้นจากการตรวจสวนหัวใจ
ลักษณะ ECG 🫀📈
ลักษณะ QRS complex มีรูปร่างผิดปกติกว้างมากกว่า 0.12 วินาที
VT อาจเปลี่ยนเป็น VF ได้ในทันที และทำให้เสียชีวิต
ไม่พบ P wave
อาการและอาการแสดง
หน้ามืด
เจ็บหน้าอก
ความดันโลหิตต่ำ
หายใจลำบาก
ใจสั่น
หัวใจหยุดเต้น
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจ ในอัตราที่เร็วมาก แต่สม่ำเสมอ 150-250 ครั้ง/นาที
ซึ่งจุดกำเนิดอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง
การพยาบาล 👩🏻⚕️
ร่วมกับแพทย์ในการดูแลให้ได้รับยาและแก้ไขสาเหตุหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ผู้ป่วยที่เกิด VT และ
คลำชีพจรได้
ร่วมกับมีอาการของการไหลเวียนโลหิตในร่างกายลดลง ให้เตรียมทำ
synchronized cardioversion
คลำชีพจร ประเมินสัญญาณชีพ ระดับความรู้สึกตัว เจ็บหน้าอก ภาวะเขียว จำนวนปัสสาวะ เพื่อประเมินภาวะเลือดไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะสำคัญลดลง
ผู้ป่วยที่เกิด VT และ
คลำชีพจรไม่ได้ (Pulseless VT)
ให้เตรียมเครื่อง
Defibrillator
เพื่อให้แพทย์ทำการช็อกไฟฟ้าหัวใจ
ในระหว่างเตรียมเครื่องให้ทำการกดหน้าอกจนกว่าเครื่องจะพร้อมปล่อยกระแสไฟฟ้า
นำเครื่อง Defibrillator มาที่เตียงผู้ป่วยและรายงานแพทย์ทันที และเปิดหลอดเลือดดำเพื่อให้ยาและสารน้ำ
ทำ CPR ถ้าหัวใจหยุดเต้น
Ventricular fibrillation (VF)
สาเหตุ
Hypothermia
Tension pneumothorax
Hyperkalemia
Cardiac tamponade
Hypokalemia
Toxins
Pulmonary thrombosis
Hydrogen ion (acidosis)
Hypoxia
Coronary thrombosis
Hypovolemia
อาการและอาการแสดง
รูม่านตาขยาย
เสียชีวิต
หมดสติ ไม่มีชีพจร
ลักษณะ ECG 🫀📈
ไม่เห็นรูปร่างของ QRS complex
ระบุไม่ได้ว่าส่วนไหนเป็น QRS complex
ไม่มี P wave
ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขผู้ป่วยจะหัวใจหยุดเต้นทันที
การพยาบาล 🧑🏻⚕️
สิ่งที่สำคัญคือ การช็อกไฟฟ้าหัวใจทันที และการกดหน้าอก
เตรียมเครื่งมือ อุปกรณ์และยาที่ใช้ในการช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อมและทำ CPR ทันที
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชนิดที่ ventricle เป็นจุดกำเนิดการเต้นของหัวใจตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เต้นรัวไม่เป็นจังหวะ ไม่สม่ำเสมอ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ปริมาณเลือดออกจากหัวใจในหนึ่งนาทีลดลงเนื่องจากความผิดปกติของ อัตรา และจังหวะการเต้นของหัวใจ
เนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เนื่องจากหัวใจหยุดเต้น
Atrial fibrillation (AF)
ลักษณะ ECG 🫀📈
QRS complex ไม่เปลี่ยนแปลง
Atrial rate มากกว่า 350 ครั้ง/นาที
จังหวะไม่สม่ำเสมอ (Irregular rhythm)
อัตราการเต้นของ ventricle มากกว่า100 ครั้ง/นาที เรียกว่า
Rapid ventricular response (RVR)
ไม่สามารถบอก P wave ได้ชัดเจน
ประเภทของ AF
Permanent AF
หมายถึง AF ที่เป็นนานติดต่อกันกว่า 1 ปี โดยไม่เคยรักษาหรือเคยรักษาแต่ไม่หาย
Recurrent AF
หมายถึง AF ที่เกิดซ้ำมากกว่า 1 ครั้ง
Persistent AF
หมายถึง AF ที่ไม่หายได้เองภายใน 7 วัน หรือหายได้ดัวยการรักษาด้วยยา หรือการช็อค ไฟฟ้า
Lone AF
หมายถึง AFที่เป็นในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 60 ปี ที่ไม่มีความผิดปกติของหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
Paroxysmal AF
หมายถึง AF ที่หายได้เองภายใน 7 วันโดยไม่ต้องใช้ยา หรือการช็อคไฟฟ้า(Electrical Cardioversion)
ภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว เกิดจากจุดปล่อยกระแสไฟฟ้าใน atrium ส่งกระแสไฟฟ้าออกมาถี่และไม่สม่ำเสมอและไม่ประสานกัน
ทำให้ atrium บีบตัวแบบสั่นพริ้ว และคลื่นไฟฟ้าไม่สามารถผ่านไปยัง ventricle ได้ทั้งหมด
สาเหตุ
ความดันโลหิตสูง
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ (open heart surgery)
โรคหัวใจรูห์มาติก
hyperthyrodism
โรคหัวใจขาดเลือด
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย
เหนื่อยเวลาออกแรง
ใจสั่น
คลำชีพจรที่ข้อมือได้เบา
การพยาบาล 👨🏻⚕️
Decrease Cardiac output
ระวัง Thromboembolism เพื่อป้องกันการเกิด stroke และ pulmonary embolus
ระวัง AF with RVR
เป้าหมายในการรักษา
คือ
✏️ ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ (rate control) และจังหวะ (rhythm control) ให้กลับไปสู่ sinus rhythm และ
✏️ ให้ยา Anticoagulation เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด (thromboembolism)
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
(Acute Heart Failure; AHF)
อาการและ
อาการแสดง
Pulmonary edema
หมายถึง ภาวะที่มีอาการและอาการแสดงของปอดบวมน้ำร่วมด้วยอย่างชัดเจน สามารถเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก และมีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 90 ที่บรรยากาศห้องก่อนการรักษา
Cardiogenic shock
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมี poor tissue perfusion ถึงแม้จะมีการแก้ไขภาวะขาดน้ำแล้วก็ตาม โดยมีความดันโลหิต systolic ต่ำกว่า 90 mmHg หรือ MAP < 60 mmHg ร่วมกับมีปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hr.
Hypertensive acute heart failure
หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ำ โดยมีความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย แต่การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายยังอยู่ในเกณฑ์ดี
High output failure
หมายถึง ภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ มักมีหัวใจเต้นเร็ว ปลายมือเท้าอุ่น ร่วมกับการมีภาวะน้ำท่วมปอด
Acute decompensated heart failure
หมายถึง กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
Right heart failure
หมายถึง ภาวะที่หัวใจด้านขวาทำงานล้มเหลว มีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นของความดันหลอดเลือดดำที่คอ มีการบวมของตับ ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำ
การรักษา
ดึงน้ำและเกลือแร่ที่คั่งออกจากร่างกาย (Negative fluid balance)
ได้แก่
💧 ให้ยาขับปัสสาวะ
💧 จำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม
💧 เจาะระบายน้ำ (การทำ Tapping ในผู้ป่วย Ascites)
การใช้ยา
ได้แก่
💊 ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ เช่น digitalis (digoxin)
💊 ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น amiodarone
💊 ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ เช่น nitroglycerine / isodril (NTG)
💊 ยาขยายหลอดเลือด เช่น sodium nitroprusside (NTP)
💊 ยาที่ใช้ใน shock เช่น adrenaline, dopamine, dobutamine, norepinephrine (levophed)
💊 ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก เช่น morphine
💊 ยาละลายลิ่มเลือด เช่น coumadin
💊 ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น aspirin, plavix, clopidogrel
ลดการทำงานของหัวใจ (Decrease cardiac workload)
ได้แก่
❤️ Intra-aortic balloon pump
❤️ ให้ออกซิเจน
❤️ ใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac pacemaker)
❤️ ขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน (Percutaneous coronary intervention)
รักษาสาเหตุ
ได้แก่
🚑 การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี
🚑 การเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโคโรนารี
🚑 การรักษาภาวะติดเชื้อ
สาเหตุ
หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน
ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต
กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความผิดปกติอื่นๆ
ภาวะหัวใจวาย
โรคหัวใจใดๆ ที่ทรุดลงตามการดำเนินโรค
ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ
ปัจจัยกระตุ้น
ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความผิดปกติทางหัวใจและหลอดเลือด
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน
การประเมินสภาพ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ได้แก่
🩸 CBC
🩸 biochemical cardiac markers
🩸 ABG
ตรวจพิเศษ
ได้แก่
🔬CXR
🔬echocardiogram
🔬CT
🔬coronary artery angiography (CAG)
ซักประวัติและตรวจร่างกาย
เพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
✏️อาการเจ็บหน้าอก
✏️อาการหอบเหนื่อย
✏️ภาวะบวม
✏️การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ความหมาย
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
หมายถึง การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ หรือการเสียสมดุลของ preload และ afterload
โดยอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่
มีโรคหัวใจเดิม (decompensated)
หรือ แสดงอาการครั้งแรกในผู้ที่
ไม่เคยมีโรคหัวใจเดิมอยู่ก็ได้ (de novo heart failure)
ซึ่งอาจเป็นความผิดปกติได้หลายระบบไม่จำกัดเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือด
การพยาบาล
ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ประเมินสัญญาณชีพทุก 1-2 ชั่วโมง
ดูแลติดตามและบันทึกค่า CVP, PCWP
ดูแลให้ได้รับการตอบสนองตามความต้องการพื้นฐาน
สังเกต/บันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง (keep urine output >= 0.5 ml/kg/hr.)
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อน
ดูแลการทำงานของเครื่องกระตุ้นจังหวะหัวใจ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ดูแลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับการไหลเวียนเลือด
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
สอนและแนะนำเทคนิคการผ่อนคลายที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ป่วย
เพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
กระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
ลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้น
ลดการทำงานของหัวใจ
ภาวะช็อก
(Shock)
ประเภทของ Shock
ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว
(Distributive shock, vasogenic / vasodilatory shock,
Inflammatory shock)
ภาวะช็อกจากการแพ้
(Anaphylactic shock)
มีการปล่อย mediator หลายชนิดได้แก่ histamine, serotonin, leukot
ทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด เป็นผลให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น
ทำให้เกิด hypersensitivity type I ซึ่ง IgE จะไปกระตุ้น mast cell และ basophil แตกตัว (degranulation)
เกิดการซึมผ่านของของเหลวผ่านผนังหลอดเลือดฝอย ปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนลดลง
เกิดจาก antigen-antibody reaction
ผู้ป่วยมีอาการบวมเฉพาะแห่ง ร้อนแดง (Flush) ตัวแดง (Flare) ความดันโลหิตต่ำ ผิวหนังเกิดผื่นแดง
เป็นภาวะช็อกที่เกิดในภาวะ anaphylaxis
ภาวะช็อกจากการทำงานผิดปกติของต่อมหมวกไต
(Hypoadrenal / adrenocortical shock)
เมื่อร่างกายไม่สามารถผลิต cortisol ในปริมาณมากพอกับความต้องการในการประคับประครองความดันโลหิต ในขณะที่ร่างกายเกิดความเครียด ซึ่งมักพบในผู้ป่วย adrenal insufficiency
สารนี้มีผลตjอ vascular smooth muscle ที่หัวใจและหลอดเลือดทำให้มีการตอบสนองต่อ catecholamines และ angiotensin II มากขึ้น
เปลี่ยน norepinephrine ที่ต่อมหมวกไตในส่วน medulla ให้เป็น epinephrine จึงมีผลทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ในภาวะปกติเมื่อร่างกายเผชิญกับความเครียด จะมีการกระตุ้น adrenal gland ให้หลั่งสาร cortisol เพิ่มขึ้น
เมื่อร่างกายไม่สามารถหลั่งสารนี้ได้จะทำให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือด (SVR) ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนลดลง ปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง
ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ (Septic shock)
เกิดการทำลาย endothelial cell ของหลอดเลือด ทำให้สูญเสียความสามารถในการซึมผ่าน (Permeability)
มีการซึมผ่านของสารน้ำและโปรตีนจากในหลอดเลือดออกมาสู่นอกหลอดเลือดไปสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์ ปริมาณสารน้ำในระบบลดลง
ร่างกายจะมีการปรับชดเชยและมีการหลั่งสารที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว
เนื้อเยื่อและเซลล์ขาดเลือดเกิดอวัยวะล้มเหลวหลายระบบ (Multi organ dysfunction syndrome, MODS)
ผู้ป่วยมีความดันโลหิตลดลง หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วลึก มีไข้สูง หนาวสั่น ผิวหนังแดงอุ่น capillary refill time ลดลง
ผู้ป่วยผิวหนังเย็นชื้น หายใจเร็วเบา ปัสสาวะออกน้อย ระดับความรู้สึกตัวลดลง หรือเรียกว่าอยู่ในระยะเย็น หรือ
Cold stage
ปริมาตรเลือดที่ไหลกลับสู่หัวใจลดลง หรือเรียกว่า
" ระยะอุ่น" (Warm shock, warm stage)
จากการตอบสนองของร่างกายจากการหลั่งสาร cytokines
ความต้านทานของหลอดเลือดลดลง เกิดการคั่งของเลือดในระบบหลอดเลือดฝอย
มีการกระตุ้นกระบวนการแข็งตัวของเลือดอย่างต่อเนื่องทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการสร้างไฟบรินเพิ่มมากขึ้นในหลอดเลือด
ออกฤทธิ์ให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดขยายตัวก่อน + การมีไนตริกออกไซด์ในเลือดสูงจากการหลั่งชีวพิษ (Endotoxin)
เกิดเป็นก้อนเลือดอุดตันตามหลอดเลือด
ร่างกายมีการตอบสนองโดยการหลั่งสาร cytokines
การกระตุ้นการแข็งตัวของเลือดอย่างต่อเนื่อง ยังเป็นปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด เช่น coagulation factor และเกล็ดเลือดถูกใช้เพิ่มมากขึ้น
เกิดจากการติดเชื้อ (Pathogen)
อาจทําให้ผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกผิดปกติร่วมด้วยได้ เกิดภาวะ Disseminated intravascular coagulation (DIC) ได้
ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียน
ของเลือดเข้าสู่หัวใจ (Obstructive shock)
สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ Cardiac tamponade, tension pneumothorax, pulmonary embolism เป็นต้น
ซึ่งพบว่าผู้ป่วยมักมีความดันโลหิตลดต่ำลง ร่วมกับการมีระดับของความดันในหัวใจห้องขวาเพิ่มมากขึ้น มีหลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง CVP มีระดับที่สูงขึ้น และอาการแสดงตามสาเหตุที่เกิดขึ้น
ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
เกิดจากการอุดกั้นการไหลเวียนของโลหิตไปสู่หัวใจห้องซ้าย จากสาเหตุภายนอกหัวใจ
ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว
(Cardiogenic shock)
ความหมาย
โดยที่มีปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
สาเหตุ
ความผิดปกติของลิ้นหัวใจและผนังหัวใจ
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ
ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท
(Neurogenic shock)
Spinal shock
อาการ:
ความอ่อนแรงและปฏิกิริยาตอบสนอง (reflex)
การติดตาม:
Bulbocavernosus reflex ระดับความรู้สึกและความอ่อนแรง
พยาธิสภาพ:
สัญญาณของไขสันหลังถูกทำลาย
ระยะเวลา:
ทุเลาในสัปดาห์แรก หรืออาจนานถึง 6 wk.
สาเหตุ:
การบาดเจ็บของไขสันหลัง
Neurogenic shock
อาการ:
ความผิดปกติของระบบการไหลเวียนโลหิต
การติดตาม:
ความดันโลหิต และความดันในหลอดเลือดดำใหญ่
พยาธิสภาพ:
ระบบประสาทซิมพาเธติกทำงานบกพร่อง และหลอดเลือดส่วนปลายมีการขยายตัว
ระยะเวลา:
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ในผู้ที่มีการบาดเจ็บของสันหลังเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงแรกจนถึง 1-3 wk.
สาเหตุ
ที่มีผลต่อการทำงานของประสาทซิมพาเธติก รวมถึงการบาดเจ็บของไขสันหลัง
ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ำ
(Hypovolemic shock)
สาเหตุ
สูญเสียสารน้ำ
สูญเสียเลือด
ความหมาย
มีการเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจ เพื่อรักษาระดับของปริมาตรของเลือดให้สามารถสูบฉีดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ให้อยู่ในระดับปกติ
หากยังมีการสูญเสียเลือดและสารน้ำเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะทำให้มีการหดตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย ส่งลให้ความต้านทานของหลอดเลือดส่วนปลาย (SVR) สูงขึ้น เพื่อเพิ่ม Cardiac output
ทำให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจ (Venous return หรือ Preload) ลดลง
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกาย (การสูญเสียมากกว่า 30-40% ของปริมาตรเลือด)
ระยะของช็อก
สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย
(Decompensated shock)
การรักษาจะใช้เวลามากขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย การทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง ก่อนได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ไม่สามารถชดเชยได้
(Irreversible shock)
การรักษาในระยะนี้มักจะไม่ได้ผล ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง
ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จนทำให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก
สามารถชดเชยได้ในระยะแรก
(Compensated shock)
ได้รับการรักษาทั้งการให้สารน้ำและยาที่เหมาะสม
ผลการรักษาจะดีและมีภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มต้น
ความหมาย
ปริมาณออกซิเจนที่ไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ (Poor tissue perfusion)
เสียสมดุลของการเผาผลาญระดับเซลล์อวัยวะต่างๆ ขาดออกซิเจน (Cellular dysoxia)
เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ไม่เพียงพอ (Oxygen delivery)
อวัยวะสูญเวียหน้าที่ (Organ dysfunction)
เกิดความผิดปกติจากกลุ่มอาการต่างๆ หรือความผิดปกติจากทางสรีรวิทยา
อาการและอาการแสดง
เนื้อเยื่อต่างๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
มีภาวะความดันโลหิตต่ำ
การบกพร่องของการไหลเวียนโลหิต
อาการที่แสดงถึงประเภทและสาเหตุของภาวะ Shock
การรักษา👨🏽⚕️
แก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือด
ที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ โดยกำหนด
MAP มากกว่าหรือเท่ากับ 65 mmHg
แก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและลดการใช้ออกซิเจน
การรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุของภาวะ Shock
ให้ยาที่มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจ (Inotropic agent) และการหดตัวของหลอดเลือด (Vasopressor agent)
แก้ไขความผิดปกติของภาวะกรด-ด่าง
ให้สารน้ำ
จุดประสงค์
เพื่อให้เกิดการไหลเวียนโลหิต
เซลล์ได้รับออกซิเจนเพียงพอต้อความต้องการ
แก้ไขพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดภาวะช็อก
การประเมินสภาพ
ตรวจร่างกาย
ได้แก่
🩺 ประเมินทางเดินหายใจ
🩺 ประเมินลักษณะและอัตราการหายใจ
🩺 ประเมินการไหลเวียนโลหิตและการทำงานของหัวใจ
🩺 ประเมินระดับความรู้สึกตัว
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เช่น
🩸 CBC
🩸 BUN
🩸 Cr
🩸 electrolyte
🩸 lactic acid
🩸 arterial blood gas
🩸 coagulation
🩸 specimens culture
ซักประวัติ
📇
เพื่อหาสาเหตุของภาวะช็อกที่เกิดจากการเจ็บป่วย
ตรวจพิเศษ
เช่น
🔬 x-ray
🔬 CT
🔬 echocardiogram
🔬 ultrasound
การพยาบาล 👩🏽⚕️
ส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Shock
ป้องกันเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
ส่งเสริมการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัวต่อภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น
นางสาวสุพิชญา สุคำ 6201210217 เลขที่ 12 Sec. A