Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF]) - Coggle Diagram
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF])
สาเหตุภาวะนี้มีสาเหตุการเกิด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวายกลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน โรคหัวใจใดๆที่ทรุดลงตามการดำเนินโรค ภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจากความผิดปกติอื่นๆ หลอดเลือดปอดอุดตันเฉียบพลัน
ความหมายภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หมายถึง การเกิดอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจการเต7นของหัวใจผิดจังหวะหรือการเสียสมดุลของ preloadและafterload
อาการและอาการแสดง
Pulmonary edema ภาวะที่มีอาการและอาการแสดงของปอดบวมน้ำร่วมด้วยอย่างชัดเจนสามารถเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก และมี ค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 90
Cardiogenic shock ภาวะที่ร่างกายมี poor tissue perfusion ถึงแม้จะมีการแก้ไขภาวะขาดน้ำแล้วก็ตาม โดยมีความดันโลหิต systolic ต่ำกว่า 90 mmHg หรือ MAP < 60 mmHg ร่วมกับมีปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 ml/kg/hr.
Hypertensive acute heart failure กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ำ โดยมีความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย แต่การทำงานของหัวใจห้องล่างซ้ายยังอยู่ในเกณฑ์ดี
High output failure ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ มักมีหัวใจเต้นเร็ว ปลายมือเท้าอุ่น ร่วมกับการมีภาวะน้ำท่วมปอด
Acute decompensated heart failure กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นเฉียบพลันแต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
Right heart failure ภาวะที่หัวใจด้านขวาทำงานล้มเหลว มี ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นของความดันหลอดเลือดดำที่คอ มีการบวมของตับ ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิต
การประเมินสภาพ
. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, biochemical cardiac markers, ABG
การตรวจพิเศษ ได้แก่ CXR, echocardiogram, CT, coronary artery angiography (CAG)
การซักประวัติและตรวจร่างกายเพื่อประเมินอาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ อาการเจ็บหน้าอกอาการหอบเหนื่อย ภาวะบวม การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
พยาธิสภาพการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดได้จากหลายสมมติฐานี้ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงอาการที่แย่ลง ทำให้มีปริมาณเลือดในหัวใจมาก
เกินไป ในระยะเวลานานทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น มีการปรับตัวของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เกิดพังผืด เซลล์ตาย กล้ามเนื้อหัวใจหนา เป็นผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
ร่างกายจึงมีการปรับสมดุลเพื่อที่จะรักษาปริมาณเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
การรักษา
การดึงน้ำและเกลือแรงที่คั่งออกจากร่างกาย
การใช้ยา
ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น amiodarone
ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ เช่น nitroglycerine / isodril (NTG
ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ เช่น digitalis
ยาขยายหลอดเลือด เช่น sodium nitroprusside (NTP)
ยาที่ใช้ในช็อค เช่น adrenaline, dopamine, dobutamine,
ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก เช่น morphine
ยาละลายลิ่มเลือด เช่น coumadin
ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด เช่น aspirin, plavix
การลดการทำงานของหัวใจ
การรักษาสาเหตุ ได้แก่ การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโคโรนารี, การ
รักษาภาวะติดเชื้อ
การพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับการตอบสนองตามความต้องการพื้นฐาน
ดูแลการทำงานของเครื่องกระตุ้นจังหวะหัวใจ
ดูแลติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
. ดูแลให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับการไหลเวียนเลือด
ดูแลติดตามและบันทึกค่า CVP, PCWP
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
สังเกต/บันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง
การเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ดูแลให้ได้รับยาเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาช่วยเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ
จัดสิ่งแวดล้อมให7เอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อน
การลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
ดูแลจำกัดกิจกรรมแบบสมบูรณ์(Absolute bed rest) หรือช่วยในการทำกิจกรรม
ดูแลควบคุมอาการปวดโดยให้ยาตามแผนการรักษา
ดูแลให้ได้รับยาลด/ควบคุม จังหวะหรืออัตราการเต้นของหัวใจ
ดูแลช่วยให้ได้รับการใส่เครื่องพยุงหัวใจ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การลดการทำงานของหัวใจ
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดเลือดตามแผนการรักษา
ดูแลจำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา
ดูแลจัดท่านอนศรีษะสูง
ดูแลจำกัดกิจกรรมแบบสมบูรณ์ (Absolute bed rest) หรือช่วยในการทำกิจกรรม
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญกับความเจ็บป่วย
สอนและแนะนำเทคนิคการผ่อนคลาย
กระตุ้นและส่งเสริมให้ครอบครัว ญาติหรือบุคคลใกล้ชิดมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วย
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาและการเปลี่ยนแปลงของอาการที่เกิดขึ้นไปในทางที่ดี
ตัวอย่างข้อวินิจฉัย
เสี่ยง / ภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เนื่องจาก ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง
ได้รับอาหารและพลังงานไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจาก รับประทานอาหารได้น้อยจากการหอบเหนื่อย
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เนื่องจาก กล้ามเนื้อหัวใจหดรัดตัวไม่เต็มที่ / การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นและจังหวะของหัวใจ
มีความต้องการพลังงานมากขึ้น เนื่องจาก มีภาวะเจ็บป่วยวิกฤต / หายใจหอบเหนื่อย / เบื่ออาหาร