Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ข้อมูลการแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี,…
บทที่ 3 ข้อมูลการแก้ปัญหาและขั้นตอนวิธี
การแบ่งข้อมูลตามแหล่งข้อมูลที่ได้รับ
ดังนี้
ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)
คือข้อมูลที่ได้จากจุดกําเนิดของข้อมูลนั้น ๆ เป็นการเก็บรวบรวมหรือบันทึกจากแหล่งข้อมูลโดยตรงด้วยวิธี การต่างๆเช่นการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจ เป็นต้น
ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)
คือการนำข้อมูลที่ผู้อื่นได้เก็บรวบรวมหรือบันทึกไว้แล้วมาใช้งานผู้ใช้ไม่จําเป็นต้องเก็บรวบรวมหรือบันทึกด้วยตนเองจัดเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตมักผ่านการประมวลผลแล้วบางครั้งจึงไม่ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้และข้อมูลที่ได้มีความคลาดเคลื่อนไม่ ทันสมัย เช่น สถิติการมาโรงเรียน เป็นต้น
ข้อมูล (data)
หมายถึง ข้อเท็จจริง (fact) ที่อยู่ในรูปแบบตัวอักษรตัวเลขสัญลักษณ์พิเศษรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงซึ่งสามารถบันทึกไว้อย่างต่อเนื่องและมีความหมายอยู่ในตัว เช่น ชื่อนักเรียนอายุ เพศ จํานวนประชากร ปริมาณน้ำฝน เป็นต้นข้อมูลจะมีอยู่จํานวนมากและจะถูกนำประมวลผล เพื่อใช้ประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ได้มากมาย
การแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ดังนี้
1. ข้อมูลตัวอักษร (Text Data)
เช่น ตัวหนังสือตัวเลขและสัญลักษณ์ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายไฟล์เป็น .txt และ .doc
2. ข้อมูลภาพ (Image Data)
เช่น ภาพกราฟิกต่างๆและภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอลข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายไฟล์เป็น .bmp .gif และ .jpg
4. ข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)
เช่น ภาพเคลื่อนไหวภาพมิวสิควีดิโอภาพยนตร์คลิปวีดีโอ ข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายอไฟล์เป็น .avi .mov
3. ข้อมูลเสียง (Sound Data)
เช่น เสียงพูดเสียงดนตรีและเสียงเพลงข้อมูลประเภทนี้มักมีนามสกุลต่อท้ายชื่อไฟล์เป็น .wav .mp3
การแบ่งข้อมูลตามระบบคอมพิวเตอร์
มีลักษณะคล้ายและใกล้เคียงกับการแบ่งข้อมูลตามการจัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก แต่มุ่งเน้นพิจารณาการแบ่งประเภทตามการนําข้อมูลไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1. ข้อมูลเชิงจํานวน (Numeric Data)
มีลักษณะเป็นตัวเลขที่สามารถนำมาคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ได้ เช่น จํานวนเงินในกระเป๋า จํานวนนักเรียนในห้องเรียน เป็นต้น
4. ข้อมูลภาพลักษณ์ (Image Data)
เป็นข้อมูลแสดงความเข้มและสีของรูปภาพที่เกิดจากการสแกนของสแกนเนอร์เป็นหลัก ซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูล ย่อ หรือ ขยาย และตัดต่อได้ แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณหรือดำเนินการอย่างอื่นได้
3. ข้อมูลกราฟิก (Graphical Data)
เป็นข้อมูลที่เกิดจากจุดพิกัดทางคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดรูปภาพหรือแผนที่ เช่น เครื่องหมายการค้า แบบก่อสร้างอาคารและกราฟ
ข้อมูลอักขระ (Character Data)
มีลักษณะเป็นตัวอักษรตัวหนังสือและสัญลักษณ์ต่างๆซึ่งสามารถนำเสนอข้อมูลและเรียงลำดับได้ แต่ไม่สามารถนำมาคำนวณได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ เลขที่บ้านและชื่อของนักเรียน
ลักษณะของข้อมูลที่ดี
ข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญ ๆ ดังนี้
1. ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy)
ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของผู้ใช้ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้าก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม
2. ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness)
ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้าน ทุกประการ
4. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)
ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ รับทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนกำหนดนโยบายหรือ ตัดสินปัญหาในเรื่องนั้น ๆ
3. ความกะทัดรัด (conciseness)
ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจายควรจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่กะทัดรัดสะดวกต่อการใช้และค้นหาผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที
5. ความต่อเนื่อง (continuity)
การเก็บรวบรวมข้อมูลควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้ม ในอนาคต
วิวัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุคที่ 1: การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Era) ยุคเริ่มต้นของการใช้คอมพิวเตอร์โดยเป็นการนําเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยในการคำนวณและ การประมวลผลข้อมูลของงานประจํา
ยุคที่ 2: ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System) ยุคที่มีการพัฒนาการประมวลผลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยข้อมูลจะผ่านการประมวลผลที่มีความซับซ้อนมากขึ้นและสามารถนําข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลนั้นมาช่วยในการตัดสินใจดำเนินการ ด้านต่างๆ
ยุคที่ 3: การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) การใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเน้นถึงการใช้สารสนเทศที่จะช่วยใน การตัดสินใจนําหน่วยงานไปสู่ความสําเร็จ
ยุคที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอที (Information Technology Era) ยุคที่เน้นทางด้านเทคโนโลยีมีการขยายขอบเขตการประมวลผลข้อมูลไปสู่ การสร้างและการผลิตสารสนเทศและเน้นความคิดของการให้บริการ สารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิทยาการคำนวณ (computing science)
ปัจจุบันนี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานสําหรับ โรงเรียนทั่วประเทศแล้ว นอกจากวิชานี้จะสอนเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการเข้าใจสื่อสมัยใหม่ องค์ประกอบที่สําคัญที่สุดคือการสอนเรื่องของคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ที่จะพัฒนาให้เด็ก ๆ เกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบด้วยเหตุผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer science)
เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณ สําหรับคอมพิวเตอร์และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และเครือข่ายซึ่งวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยหลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับนามธรรมหรือความคิดเชิงทฤษฎี
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: ICT ย่อมาจาก Information and Communication Technology
หมายถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสารข้อมูลและการสื่อสาร นับตั้งแต่การสร้าง การนํามาวิเคราะห์หรือประมวลผลการรับและส่งข้อมูลการจัดเก็บและ การนําไปใช้งานใหม่ เช่น โทรศัพท์ ดาวเทียม และระบบสื่อสาร ทั้งมีสายและไร้สาย
การรู้ดิจิทัล หรือ Digital literacy
เป็นทักษะในการนำเครื่องมืออุปกรณ์และเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีอยู่ใน ปัจจุบัน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์และสื่อออนไลน์มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสื่อสารการปฏิบัติงานและการทํางานร่วมกันหรือใช้เพื่อ พัฒนากระบวนการทำงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมี ประสิทธิภาพ
กระบวนการวิทยาการข้อมูล (Data Science Process)
คือ การเพิ่มข้อมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือให้บริการด้วยข้อมูลนั้นนอกจากจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้วยังต้องเข้าใจกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการจัดหาและประมวลผลข้อมูลสามารถดำเนินตามกระบวนการของวิทยาการข้อมูลขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 2: การรวบรวมข้อมูล (get the data) ต้องคำนึงถึงจะเก็บข้อมูลเรื่องอะไร จากที่ไหน จำนวนเท่าใด เพื่อให้ได้ข้อมูลนำเข้าที่ดีไปสู่ผลลัพธ์ที่ดี
ขั้นที่ 3: การสำรวจข้อมูล (explore the data) ขั้นตอนนี้เราต้องรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลไป plot ทำให้เป็นภาพหรือแผนภูมิเพื่อให้เข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ในข้อมูล
ขั้นที่ 4: การวิเคราะห์ข้อมูล (annalyze the data) เพื่ออธิบายความหมายความสัมพันธ์ของข้อมูลและทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดในอนาคต
ขั้นที่ 1: การตั้งคำถาม (ask an interesting question) ตั้งคำถามที่ตนเองสนใจ
ขั้นที่ 5: การสื่อสารและการทำผลลัพธ์ให้เป็นภาพ (communicate and visualize the results) เป็นการสื่อสารผลลัพธ์ของข้อมูล โดยการถ่ายทอดเป็นเรื่องราวหรือเป็นภาพให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากข้อมูล
ประโยชน์ของระบบการคิดเชิงออกแบบ
การคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process)
มีประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
ฝึกกระบวนการแก้ไขปัญหาตลอดจนหาทางออกที่เป็นลำดับขั้นตอน
มีตัวเลือกที่ดีที่สุดเหมาะสมที่สุด
เกิดกระบวนการใหม่ตลอดจนนวัตกรรมใหม่
มีทางเลือกที่หลากหลาย
มีแผนสํารองในการแก้ปัญหา
ฝึกความคิดสร้างสรรค์
องค์กรมีการทํางานอย่างเป็นระบบ
การคิดเชิงออกแบบสำหรับวิทยาการข้อมูล (Design Thinking)
.
ถอดวิธีคิดเชิงออกเเบบของรัชกาลที่ 9
กรณีศึกษา : โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา
นางสาวอัจฉรา บุญทวีวัฒน์ 6406510164