Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน - Coggle Diagram
บทที่6 การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูล
หมายถึงข้อเท็จจริงที่มีการรวบรวมไว้และมีความหมายเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่สนใจ อาจได้จากการสังเกต สอบถาม การวัด การนับ การชั่ง ข้อมูลเป็นได้ทั้งตัวเลขและไม่ใช่ตัวเลข
ข้อมูลทางการศึกษา
หมายถึงข้อเท็จจริงทางการศึกษาที่มีการรวบรวมไว้ (ข้อมูลของนักเรียน ข้อมูลของครู ข้อมูลของโรงเรียน)
ประเภทของข้อมูล
แบ่งตามคุณสมบัติของค่าที่ได้
ข้อมูลเชิงคุณภาพ
เป็นข้อมูลที่วัดค่าออกมาในรูปของประเภท
ข้อมูลเชิงปริมาณ
เป็นข้อมูลที่วัดค่าออกมาในรูปของจำนวน หรือขนาด
แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล
ข้อมูลปฐมภูมิ
ข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นเอง
ข้อมูลทุติยภูมิ
ข้อมูลที่ผู้ใช้นำผู้อื่นที่ได้ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้วในอดีต
แบ่งตามสเกลการวัดข้อมูล
ข้อมูลที่วัดในสเกลนามบัญญัติ
เป็นการวัดข้อมูลโดยแบ่งออกเป็นกลุ่ม
ข้อมูลที่วัดในสเกลเรียงลำดับ
เรียงลำดับระหว่างกลุ่มให้มีลำดับลดหลั่นเป็นชั้นๆ
ข้อมูลที่วัดในสเกลอันตรภาค หรือสเกลช่วง
ความห่างของแต่ละหน่วยที่วัดมีค่าเท่ากัน
ข้อมูลที่วัดในสเกลอัตราส่วน
ข้อมูลที่วัดในสเกลนี้มีศูนย์แท้
ประเภทของสถิติ
สถิติว่าด้วยกันเลือกกลุ่มตัวอย่าง
สถิติบรรยายหรือสถิติพรรณนา
สถิติอนุมาน
หลักการเลือกใช้สถิติ
วัตถุประสงค์การวิจัย
สเกลการวัดค่าตัวแปร
จำนวนตัวแปรที่จะศึกษา
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนกลุ่มของประชากรที่ศึกษา
ความต่างระดับของหน่วยการวิเคราะห์
ความสอดคล้องของข้อมูลกับข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติวิเคราะห์ที่จะใช้
การเก็บข้อมูลครั้งเดียวหรือการเก็บข้อมูลหลายช่วงเวลา
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
การแจกแจงความถี่
คือ การนำข้อมูลที่นักวิจัยรวบรวมมาได้ซึ่งเป็นข้อมูลดิบมาจัดให้เป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่ โดยเรียงจากค่ามากไปหาค่าน้อย หรือเรียงจากค่าน้อยไปหาค่ามาก แล้วนับจำนวนความถี่ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และง่ายต่อการนำเสนอเป็นค่าสถิติต่างๆ
การแจกแจงความถี่แบบทางเดียว
เป็นการนำข้อมูลของตัวแปรหนึ่งตัวมาจัดให้เป็นระเบียบ
การแจกแจงความถี่แบบสองทาง
เป็นการนำตัวแปรสองตัวมาแจกแจงความถี่พร้อมกันแล้วนำเสนอในตารางเดียวกัน
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลา
ง เป็นการหาค่าค่านึงที่เป็นตัวแทนของข้อมูลชุดนั้นๆ เพื่อนำมาใช้อธิบายภาพรวมของข้อมูลชุดนั้น
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางมีหลายวิธี
ค่ากลางที่นิยมใช้ในการวิจัยทางการศึกษาได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางแต่ละวิธีเหมาะสมกับข้อมูลที่มีลักษณะแตกต่างกันไป
การวัดการกระจาย
เป็นการหาค่าค่าหนึ่งเพื่อบอกข้อมูลชุดนั้นมีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด
วิธีการวัดการกระจาย
การวัดการกระจายของข้อมูลที่นิยมใช้กันอยู่มี 3 ค่า คือ พิสัย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวน
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมาน
1.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนกับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาความกัวหน้าของผู้เรียน
2.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มควบคุมกับกทดลองเพื่อแสดงความเท่าเทียมกันของกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง
3.การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกรณีกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปเป็นการวิเคราะห์ที่รู้จักกันในชื่อว่า การวิเคราะห์ความแปรปรวน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
เป็นเทคนิคสถิติที่ใช้หาขนาดและทิศทางของความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณ หรือตัวแปรที่วัดในสเกลอันตรภาคหรือสเกลอัตราส่วนสองตัว