Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหมายของคำศัพท์ การวัดเเละประเมินผล - Coggle Diagram
ความหมายของคำศัพท์ การวัดเเละประเมินผล
การวัดผล
การวัดผล คือ การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยตัววัดผล (Indicator) มีวิธีการที่ชัดเจน และกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ทราบความก้าวหน้า ทั้งด้านองค์ความรู้ ทักษะ และทัศนคติเพื่อการสร้างพฤติกรรมในการทำงาน ประกอบด้วย ตัววัดผล (Indicator) วิธีการวัด (Measurement Method) และ ระดับ (Level)
การประเมินผล คือ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับคุณภาพ หรือ ความดีของการปฏิบัติของผู้เรียนหรือของกิจกรรมในหลักสูตร
การประเมินผลรวมสรุป (summative evaluation) เป็นประเมินผลเมื่อเสร็จสิ้นการดําเนินการ จะกระทําเมื่อนักเรียนได้จบวิชาหนึ่งในแต่ละภาคเรียน และ ในภาคปลายของแต่ละปีการศึกษา เป็นการประเมินผลเพื่อตรวจสอบดูว่านักเรียนได้เรียนรู้ตามจุดประสงค์ของวิชาหรือไม่ควรได้คะแนนเท่าใดและควรถือว่าสอบได้หรือตก
การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม หมายถึง การเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม
การประเมินความก้าวหน้า เป็นการประเมินที่กระทำโดยผู้สอนระหว่างกระบวนการเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความสำเร็จให้ได้ เป้าหมายของการประเมินความก้าวหน้าคือการเฝ้าสังเกตการเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อให้ผลตอบกลับที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถระบุจุดแข็งและจุดอ่อน และสิ่งที่ต้องปรับปรุงพัฒนา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้สอนสามารถรับรู้เมื่อผู้เรียนเผชิญกับอุปสรรคและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที การให้ผลตอบกลับของผู้สอนโดยทั่วไปของการประเมินความก้าวหน้าจะเน้นไปทางเชิงคุณภาพมากกว่าที่จะเป็นคะแนน โดยการประเมินความก้าวหน้ามีความแตกต่างกับการประเมินรวบยอด ที่แสวงหาผลของการศึกษา
การประเมินแบบอิงเกณฑ์ หมายถึง การเปรียบเทียบคะแนนที่
ได้กับเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้สำหรับการเรียนการสอน
การประเมินผลก่อนเรียน (pre-evaluation) เป็นการตรวจสอบและประเมิน ความรู้ ความสามารถที่มีอยู่เดิมของผู้เรียน ทำให้ครูทราบว่าจะเพิ่มเติมความรู้ความสามารถ พื้นฐานอะไรให้แก่ผู้เรียนและจะเริ่มดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ใหม่อย่างไรจึงจะเชื่อมโยงความรู้ ความสามารถใหม่กับเดิมได้อย่างราบรื่น
สิ่งที่มุ่งวัด
พฤติกรรมด้านจิตพิสัย หมายถึง พฤติกรรมด้านจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกของนักเรียน เช่น ความสนใจ เจตคติ ค่านิยม ความก้าวร้าว การปรับตัว รวมถึงคุณธรรมต่าง ๆ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย หมายถึง พฤติกรรมการเรียนรู้ที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ พฤติกรรมด้านนี้จะเห็นได้จากกระทำ
พฤติกรรมด้านพุทธพิสัย เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด หรือพฤติกรรมทางด้านสมองของบุคคล ในอันที่ทำให้มีความเฉลียวฉลาด มีความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนในปัจจุบันยังเน้นในด้านนี้มากพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย
เครื่องมือที่ใช้วัด
แบบทดสอบภาคปฏิบัติ หมายถึง แบบทดสอบที่สามารถวัดและประเมินความสามารถของนักเรียน โดยการให้นักเรียนปฏิบัติและมีการเคลื่อนไหวร่างกายมากที่สุดภายใต้การควบคุมของครู
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ คือแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ และทักษะความสามารถจากการเรียนรู้ในอดีตหรือในสภาพปัจจุบันของแต่ละบุคคล
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ
อำนาจการจำแนกของข้อสอบ หมายถึง ข้อสอบที่สามารถแยกความสามารถของผู้เรียนในระดับต่างๆได้
ความเที่ยง/ความเชื่อมั่น (reliability) หมายถึง ความเชื่อมั่นเป็นความคงที่แน่นอนของคะแนนในการสอบทุกครั้งจากผู้สอบที่มาจากกลุ่มเดียวกัน ด้วยแบบทดสอบฉบับเดียวกัน หรือเป็นสัดส่วนระหว่างความแปรปรวนของคะแนนจริงกับความแปรปรวนที่ได้จากการทดสอบ
ความตรง/ความเที่ยงตรง (validity) หมายถึง ความถูกต้องแม่นยำของเครื่องมือในการวัดสิ่งที่ต้องการจะวัด และสภาพที่ได้จากแบบทดสอบที่มีความตรงสูง สามารถบอกถึงสภาพที่แท้จริง และพยากรณ์ได้ถูกต้องแม่นยำ
ความยากง่ายของข้อสอบ หมายถึง สัดส่วนของผู้ที่ตอบถูกจากจำนวนผู้ตอบทั้งหมด และต้องไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป