Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
29 มกราคม 2565 - Coggle Diagram
29 มกราคม 2565
ความรู้ ทักษะ สมรรถนะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติราชการ &สมรรถนะหลัก 5 ด้านของข้าราชการพลเรือนสามัญ
กรอบแนวคิดเกี่ยวกับงานและผู้ครองตำแหน่ง
ผู้ครองตำแหน่ง
คัดเลือก
การบริหารผลงาน
คุณสมบัติผุ้ครองตำแหน่ง
ความหมายของสมรรถนะ
คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมากจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสร้างผลงานได้โดดเด่นในองค์กร
การแบ่งประเภทความรู้ความสามารถ
ตำแหน่งประเภททั่วไป
1.มีความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
2.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 1 และมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงานหรือมีทักษะเฉพาะทาง
3.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 2 และมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงาน หรือมีทักษะในงานเชิงเทคนิค หรืองานฝีมือเฉพาะทาง ระดับสูง
4.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 3 และมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความชำนาญงาน หรือมีทักษะในงานเชิงเทคนิค หรืองานฝีมือเฉพาะทาง ระดับสูงมาก จนได้รับการยอมรับในระดับชาติ
ตำแหน่งประเภทวิชาการ
1.มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญา และสามารถประยุกต์องค์ความรู้ที่ศึกษามาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการได้
2.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 1 และ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการ แนวคิด ทฤษฎีของงานในสายอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดได้
3.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 2 และ มีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับลักษณะงาน หลักการ แนวคิด ทฤษฎีของงานในสายอาชีพที่ปฏิบัติอยู่ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้
4.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 3 และ มีความเชี่ยวชาญในสายอาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ และสามารถแก้ไขปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำได้
5.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 4 และเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ เนื่องจากการสั่งสมประสบการณ์และองค์ความรู้ รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาระดับบริหาร หรือปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหาทางวิชาการที่ยากและซับซ้อนเป็นพิเศษ
ประเภทอำนวยการ และประเภทบริหาร
1.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 3 ของตำแหน่งประเภทวิชาการ หรือ ของตำแหน่งประเภททั่วไป
2.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 4 ของตำแหน่งประเภทวิชาการ หรือ ของตำแหน่งประเภททั่วไป
3.มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 5 ของตำแหน่งประเภทวิชาการ
ความรู้เรื่องกฎหมายและกฎระเบียบราชการ
ความรู้เรื่องกฎหมายตลอดจนกฎระเบียบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
การแบ่งประเภททักษะ
ทักษะคอมพิวเตอร์
1.สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้นได้
2.มีทักษะระดับที่ 1 และสามารถใช้โปรแกรมขั้นพื้นฐานได้อย่างคล่องแคล่ว
3.มีทักษะระดับที่ 2 และสามารถใช้โปรแกรมต่างๆ ในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว
4.มีทักษะระดับที่ 3 และมีความเชี่ยวชาญในโปรแกรมที่ใช้ หรือสามารถแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมเพื่อนำมาพัฒนาระบบการปฏิบัติงานได้
5.มีทักษะระดับที่ 4 และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง เชี่ยวชาญในโปรแกรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง หรือสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาระบบการปฏิบัติงานได้
ทักษะภาษาอังกฤษ
1.สามารถพูด เขียน อ่าน และฟังภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น และสื่อสารให้เข้าใจได้
2.มีทักษะระดับที่ 1 และสามารถพูด เขียน อ่าน และฟังภาษาอังกฤษ และทำความเข้าใจสาระสำคัญของเนื้อหาต่างๆ ได้
3.มีทักษะระดับที่ 2 และ สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการติดต่อสัมพันธ์ในการปฏิบัติงานได้โดยถูกหลักไวยากรณ์
4.มีทักษะระดับที่ 3 และเข้าใจสำนวนภาษาอังกฤษในรูปแบบต่างๆ สามารถประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างถูกต้อง ทั้งในหลักไวยากรณ์และความเหมาะสมในเชิงเนื้อหา
5.มีทักษะระดับที่ 4 และมีความเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาอังกฤษอย่างลึกซึ้ง ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษา สามารถประยุกต์โวหารทุกรูปแบบได้อย่างคล่องแคล่ว ถูกต้อง และสละสลวย อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญ ศัพท์เฉพาะด้านในสาขาวิชาของตนอย่างลึกซึ้ง
ทักษะการคำนวณ
1.มีทักษะในการคิดคำนวณขั้นพื้นฐานได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
2.มีทักษะตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 1 และสามารถทำความเข้าใจข้อมูลด้านตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
3.มีทักษะตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 2 และสามารถใช้สูตรคณิตศาสตร์ หรือเครื่องมือต่างๆ ในการคำนวณข้อมูลด้านตัวเลขได้
4.มีทักษะตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 3 และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และตัวเลข ที่ซับซ้อนได้
5.มีทักษะตามที่กำหนดไว้ในระดับที่ 4 สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดในข้อมูลตัวเลขได้ เข้าใจข้อมูลต่างๆ ในภาพรวม และอธิบายชี้แจงให้เป็นที่เข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
1.สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และพร้อมใช้ รวมถึงสามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบต่างๆ เช่น กราฟ รายงาน เป็นต้น
2.มีทักษะระดับที่ 1 และสามารถวิเคราะห์ และประเมินผลข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
3.มีทักษะระดับที่ 2 และ สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ นำเสนอทางเลือก ระบุข้อดีข้อเสีย ฯลฯ โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่ได้
4.มีทักษะระดับที่ 3 และ สามารถพยากรณ์ หรือสร้างแบบจำลองเพื่อพยากรณ์ หรือตีความโดยอ้างอิงจากข้อมูลที่มีอยู่
5.มีทักษะระดับที่ 4 และสามารถออกแบบเลือกใช้หรือประยุกต์วิธีการในการจัดทำแบบจำลองต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สมรรถนะ
คุณลักษณะ เชิงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ และคุณลักษณะอื่น ๆ
วัตถุประสงค์ของสมรรถนะ
เพื่อปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งให้เอื้อต่อการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
คำนิยามสมรรถนะหลักข้าราชการ
การมุ่งผลสัมฤทธิ์
2.บริการที่ดี
3.การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ
4.การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม
5.ความร่วมแรงร่วมใจ
ศิลปะในการเขียนหนังสือราชการและการเขียนรายงานการประชุม
ระเบียบงานสารบรรณ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
รองรับการปฏิบัติงานระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
ระเบียบ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2548
รับรองสำเนา และการทำลายหนังสือ
ระเบียบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
การบริหารงานเอกสาร
จัดทำ/ รับ/ ส่ง/ เก็บรักษา/ ยืม/ ทำลาย
ระเบียบ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
คุณลักษณะผู้ปฏิบัติงานสารบรรณที่ดี
ศึกษาให้เข้าใจระเบียบ
เป็นนักสังเกต มีความรอบรู้
หมั่นปฏิบัติ บันทึก ร่าง จดรายงานการประชุม และพิมพ์
ละเอียดรอบคอบ
ขยันสนใจพัฒนา
โครงสร้าง 4 ส่วน
หัวหนังสือ
เรื่อง
ต้องเขียนให้บรรลุจุดมุ่งหมาย ประการ
ให้พอรู้ใจความที่ย่อสั้นที่สุดของหนังสือ
ให้สะดวกแก่การเก็บค้นอ้างอิง
คำขึ้นต้น
อ้างถึง
หนังสือ (ชื่อส่วนราชการเจ้าของหนังสือ) เลขที่หนังสือ วันที่ เดือน ปีพุทธศักราช ของหนังสือนั้น
สิ่งที่ส่งมาด้วย
สิ่งที่ส่งมาด้วย ให้ลงชื่อสิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสารที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้น กรณีที่ไม่สามารถส่งไปในซองเดียวกันได้ ให้แจ้งด้วยว่าส่งไปโดยทางใด
เหตุที่มีหนังสือไป
เขียนให้ตรงลักษณะและความมุ่งหมาย
เขียนแจ้งจุดประสงค์ให้ชัดเจน
เขียนโดยใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมตามสมควรแก่กรณี
จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป
ระบุสาเหตุหรือความเป็นมาของเรื่อง
ระบุรายละเอียดของเรื่อง
ระบุเนื้อหา หรือ ความต้องการ
ระบุกำหนดวัน เวลา สถานที่ (ถ้ามี)
ท้ายหนังสือ
หนังสือภายในไม่มี “คำลงท้าย”
“คำลงท้ายของหนังสือภายนอกใช้ตามฐานะของผู้รับหนังสือ
หลักภาษาไทย
สำนวนติดต่อราชการ
การใช้คำเชื่อม
การใช้คำสรรพนาม
การใช้คำบุพบท
การใช้เครื่องหมาย
การใช้เลขไทย
กำหนดการ-หมายกำหนดการ
ร่าง ตรวจร่าง เกษียน
และการเขียนบันทึก
การร่างหนังสือ
การเรียบเรียงข้อความ ขั้นตอน ตามเรื่องที่จะแจ้งความประสงค์
ไปยังผู้รับ หรือผู้ที่ต้องการทราบหนังสือนั้น ก่อนที่จะจัดทำเป็นต้นฉบับ
การตรวจร่างหนังสือ
ตรวจรูปแบบ ให้ถูกต้องตามระเบียบ
ตรวจเนื้อหา พิจารณาเนื้อหาสาระ
ตรวจภาษา การสะกดคำ
การเกษียนหนังสือ
รู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่
๐ รู้งานที่เชื่อมโยงของหน่วยงานในองค์กร เพื่อเสนอเรื่องให้สอดคล้อง เป็นประโยชน์ จำเป็นต้องศึกษาเนื้อหารายละเอียดขององค์กร
การเขียน
รายงานการประชุม
ความหมายของการประชุม
การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ได้มากระทำกิจกรรมสื่อข้อความร่วมมือ อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน หรือเพื่อที่จะแก้ปัญหาร่วมกัน
องค์ประกอบของการประชุม
ประธาน
เลขานุการ
ญัตติ
มติ
หนังสือเชิญประชุม
องค์ประชุม
รายงานการประชุม
1.เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
เมื่อประธานกล่าวเปิดประชุมแล้ว ผู้ที่จะแจ้งคือประธานเท่านั้น หากไม่มีเรื่องจะแจ้งให้ทราบ ก็เขียนว่า “ไมมี” ระเบียบวาระนี้ไม่ต้องมีการลงมติ เพราะไม่ใช่เรื่องพิจารณา แต่อาจมีข้อสังเกตได้
2.เรื่องการรับรองรายงานการประชุม
ประธานจะเป็นผู้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณารายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา หรืออาจมอบหมายให้รองประธานหรือบุคคลอื่นที่ประธานเห็นเหมาะสมก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมอบให้เลขานุการ โดยอาจให้พิจารณาทีละหน้าหรือทั้งฉบับก็ได้ หากมีผู้เสนอแก้ไข เลขานุการจะต้องบันทึกข้อความทีแก้ไขใหม่อย่างละเอียด และข้อความใหม่จะต้องปรากฏในรายงานการประชุมครั้งใหม่ด้วย
3.เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบนี้ผู้แจ้งเรื่องในแต่ละวาระย่อมไม่จำเป็นต้องเป็นประธาน อาจเป็นผู้ที่ได้กำหนดไว้แล้ว หรือผู้ที่ประธานเห็นสมควร ในระเบียบวาระนี้ด้วยความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องบางแห่งใช้ว่า “เรื่องสืบเนื่อง” คือ สืบเนื่องจากการประชุมครั้งที่ผ่านมาแล้ว เป็นการรายงานผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในการประชุมครั้งก่อน แต่การใช้คำว่า “เรื่องสืบเนื่อง” อาจทำให้เกิดความสับสน เพราะจะนำเรื่องที่เลื่อนจากการพิจารณาครั้งก่อน มาพิจารณาและลงมติในระเบียบวาระนี้ ทำให้สับสนกับระเบียบวาระที่ 3 ซึ่งเป็นเรื่องพิจารณาโดยเฉพาะ
4.เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการประชุมที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง เพราะต้องพิจารณาเรื่องในระเบียบวาระนี้ จึงต้องมีการประชุม แล้วเรื่องในระเบียบวาระอื่น ๆ ก็เกิดตามมา
เลขานุการจะต้องส่งข้อมูลประกอบการพิจารณาให้กรรมการศึกษาล่วงหน้าอย่างน้อย ๗ วัน โดยปกติจะส่งไปพร้อมกับหนังสือเชิญประชุม หากข้อมูลมากจะต้องสรุปสาระสำคัญให้กรรมการอ่านด้วย ประเด็นที่จะนำมาพิจารณาจะต้องตั้งชื่อเรื่องให้กระชับชัดเจนทุกเรื่อง
5.เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระนี้อาจเป็นเรื่องเร่งด่วนที่มิได้แจ้งล่วงหน้าในระเบียบวาระการประชุมที่ส่งไป และมิได้บรรจุไว้ในระเบียบวาระที่ 4 ประธานอาจนำพิจารณาในระเบียบวาระที่ 5 หรืออาจเป็นเรื่องเสนอเพิ่มเติมที่ไม่มีการลงมติก็ได้ ภาษาพูดเรียกว่า “วาระจร”
การเว้นวรรค
การเว้นวรรค หมายถึง การเว้นช่องระหว่างคำ ข้อความ หรือประโยคช่วงหนึ่ง
การเว้นวรรคเล็ก
ในประโยครวมให้เว้นวรรคเล็กระหว่างประโยคย่อยที่มีใจความสมบูรณ์และเชื่อมกับประโยคอื่น ๆ ที่ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน “และ” “หรือ” “แต่
การเว้นวรรคใหญ่
เมื่อจบข้อความแต่ละประโยค
กรณีที่ไม่เว้นวรรค
ระหว่างคำนำหน้าชื่อกับชื่อ
ระหว่างบรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ กับนาม หรือราชทินนาม
ระหว่างคำนำหน้าชื่อที่เป็นตำแหน่งหรืออาชีพกับชื่อ
คำหน้าชื่อที่แสดงฐานะนิติบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลกับชื่อ
หลังเครื่องหมายไปยาลน้อย ในกรณีมีเครื่องหมายอื่นตามมา
ไม่เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังเครื่องหมายยัติภังค์ ยัติภาค
เทคนิค
การเขียนหนังสือราชการ
การเขียนหนังสือ
การเขียนหนังสือตอบรับ
การเขียนหนังสือตอบปฏิเสธ
การเขียนหนังสือตอบข้อสอบถาม
การเขียนหนังสือเชิญ
การเขียนหนังสือนำส่ง
การเขียนหนังสือขอความช่วยเหลือ
บทที่ 5 แย่แค่ไหนก็กลับมาดีได้
สรุปสารสำคัญ
มุมมองด้านปัญหา
ปัญหามีอยู่มากมายรอบตัวเรา
ถ้าเจอปัญหา ก็ควรแก้ไข อย่าหนีปัญหา
เมื่อรู้ว่าจะแก้ปัญหานั้นๆ ให้เริ่มจากการยอมรับว่าเรามีปัญหาเรื่องนั้นๆ
ถ้าเราแก้ปัญหายากสุดได้ ก็ไม่มีปัญหาใดยาก
มุมมองด้านการแก้ไขและพัฒนา
ขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นๆ เพื่อทราบปัญหาและวิธีแก้ที่ถูกต้อง
ต้องร่วมมือกันช่วยแก้ไขปัญหา
ทดลองแก้ไขปัญหาวิธีต่างๆ เพื่อหาวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดกับเรา
เริ่มแก้ไขปัญหาจากจุดเล็กๆ เมื่อทำได้ก็ค่อยขยายวงกว้าง
หาตัวช่วยในการแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขที่ดีไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนเยอะ (กรณีหญ้าแฝก)
การแก้ไขปัญหาและพัมนา ต้องใช้เวลา
บางปัญหาที่แก้ไม่ได้ก็ต้องกำจัดทิ้ง ถึงจะสะดวกที่สุด
กรณีมี Connection ที่ดีและหลากหลาย ทำให้มีข้อมูลและวิธีการในการแก้ไขปัญหาได้มากขึ้น
จากการฟังเรื่องนี้ สามารถนำไปปรับใช้กับงานได้อย่างไรบ้าง
การมองปัญหาให้ยอมรับปัญหาและเริ่มแก้ไขไปเป็นstepและแก้ไขไปทีละเรื่อง
อย่าให้ใครมาบอกว่า เราทำนั่น ทำนี่ไม่ได้ (ทุกสิ่งเป็นจริงได้ แค่เริ่มทำ)
ปรึกษาปัญหาและวิธีแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพและลดระยะเวลาได้
ปัญหาที่ใหญ่เริ่มแก้จากจุดเล็กๆ
การร่วมมือกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหาหลายๆ ปัญหา อาจไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ
การมีคอนเนคชั่นมากมาย จะทำให้มีข้อมูลและเข้าถึงวิธีการแก้ปัญหาได้มากกว่า