Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อก (Shock) - Coggle Diagram
ภาวะช็อก (Shock)
ประเภทของช็อก
1. ภาวะช็อกจากการขาดสารน้ํา (Hypovolemic shock)
เกิดจากการลดลงของปริมาณของเลือดหรือสารน้ำในร่างกายมากกว่า 30 ถึง 40% ของปริมาณเลือด ทำให้ปริมาณเลือดที่กลับเข้าสู่หัวใจลดลง
2. ภาวะช็อกจากภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiogenic shock) เป็นภาวะช็อกที่เกิดจากหัวใจไม่สามารถส่งจ่ายเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยที่มีปริมาตรเลือดในระบบไหลเวียนโลหิตอย่างเพียงพอ
3. ภาวะช็อกจากหลอดเลือดมีการขยายตัว (Distributive shock, vasogenic / vasodilatory shock, Inflammatory shock)
เป็นภาวะช็อกที่มีสาเหตุจากหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว ทําให้เกิดการลดลงของแรงต้านทานของหลอดเลือด (SVR) ร่วมกับมีการไหลเวียนเลือดในระบบลดลงจากการไหลเวียนของเลือดลัดเส้นทาง (Maldistribution หรือ shunt)
-
-
-
4. ภาวะช็อกจากการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดเข้าสู่หัวใจ(Obstructiveshock)
เกิดจากการอุดกั้นการไหลเวียนของโลหิตไปสู่หัวใจห้องซ้ายจากสาเหตุภายนอกหัวใจ ส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
5. ภาวะช็อกจากความผิดปกติของระบบประสาท(Neurogenicshock) ความบกพร่องในการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ควบคุมการขยายตัวและการหดตัวของหลอดเลือด (Vasomotor tone) เป็นผลให้มีการขยายตัวของหลอดเลือดดําและหลอดเลือดแดงขึ้นทันใด ส่งผลให้เลือดมีการกระจายตัวไปยังหลอด เลือดส่วนปลายมากขึ้นหัวใจมีการเต้นช้าลง
ระยะของช็อก
- ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะแรก (Compensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัย ตั้งแต่เริ่มต้น ได้รับการรักษาเหมาะสม ผลการรักษาจะดีและมีภาวะแทรกซ้อนเพียงเล็กน้อย
- ภาวะช็อกที่สามารถชดเชยได้ในระยะท้าย (Decompensated shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการ วินิจฉัยล่าช้า เซลล์ในร่างกายเริ่มตาย ก่อนได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีภาวะแทรกซ้อนจากอวัยวะล้มเหลว
- ภาวะช็อกที่ไม่สามารถชดเชยได้ (Irreversible shock) คือ ภาวะช็อกที่ได้รับการวินิจฉัยช้าเกินไป จน ทําให้เซลล์หรืออวัยวะต่างๆในร่างกายได้รับความเสียหายมาก การรักษาในระยะนี้มักจะไม่ได้ผล
การรักษา
- การแก้ไขระบบไหลเวียนโลหิตให้ได้ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีเพียงพอ โดยกําหนดเป้าหมายให้ค่า MAP มากกว่าหรือเท่ากับ 65 mmHg
1.1 การให้สารน้ํา ได้แก่
- Crystalloid solution เพื่อเพิ่มปริมาตรของสารน้ําในหลอดเลือด
เช่น Ringer's lactate solution (RLS), 0.9% NSS
- Colloid solution เพื่อทดแทนพลาสมา เพิ่ม oncotic pressure เช่น Dextran, Haemaccel, Albumin
- Blood component เพื่อทดแทนการเสียเลือดและเพิ่มปริมาตรในเลือด
เช่น Whole blood, PRC, FFP
1.2 การให้ยาที่มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจ (Inotropic agent) และการหดตัวของหลอดเลือด
(Vasopressor agent) เช่น Dopamine, Dobutamine, Epinephrine Norepinephrine
- การแก้ไขภาวะพร่องออกซิเจนของเนื้อเยื่อและการลดการใช้ออกซิเจน
- รักษาที่เฉพาะเจาะจงตามสาเหตุเช่นการให้ยาปฏิชีวนะ
ความหมาย
ความผิดปกติจากทางสรีรวิทยาเป็นผลให้เกิดการไหลเวียนโลหิตไปยังอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ทําให้ปริมาณ ออกซิเจนที่ส่งไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่เพียงพอ (poor tissue perfusion) เสียสมดุลของการเผาผลาญระดับเซลล์ อวัยวะต่างๆขาดออกซิเจน และสูญเสียหน้าที่ (Organ dysfunction)
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ > ทำให้เซลล์ขาดออกซิเจน > ร่างกายจึงเกิดการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจน > จึงจทำให้เกิดกรดแลคติคคั่ง > ร่างกายเมื่อกรดแลกติกคั่ง เกิด vasoconstriction เลือดไหลเวียนน้อย >เลือดคั่งในหลอดเลือดดำและยังเกิดการเผาผลาญ Metabolic acidosis> ทำให้เซลล์สูญเสียหน้าที่แลกเปลี่ยน Na+,K+ผิดปกติ > เกิดNa+คั่งในเซลล์ทำให้เกิดการดึงน้ำเข้าสู่เซลล์ทำให้เซลล์บวม และเกิด K+ รั่วไหลเข้าสู่กระแสเลือดได้
อาการและอาการแสดง
- ประสาทส่วนกลาง กระสักระสับกระส่าย ซึม หมดสติ เซลล์สมองตาย
- หัวใจและหลอดเลือด ชีพจรเบาเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว ผิวหนังเย็นซีด
- หายใจ หายใจเร็วลึก ระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ระบบหายใจล้มเหลว
- ไตและปัสสาวะ ปัสสาวะออกน้อย
- ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ขาดเลือด ตับอ่อนอักเสบ ดีซ่าน การย่อยและการดูดซึมอาหารผิดปกติ ตับวาย
- เลือดและภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดกระจายทั่วร่างกายเม็ดเลือดขาวทำงานบกพร่อง
- ต่ำไร้ท่อ น้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายเป็นกรด