Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure [AHF]) - Coggle Diagram
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
(Acute Heart Failure [AHF])
ความหมาย
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หมายถึง การเกิดอาการและการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรวดเร็วจากการทำงานผิดปกติของหัวใจ ทั้งการบีบตัวหรือการคลายตัวของหัวใจ การเต้นผิดจังหวะหรือการเสียสมดุลของ preload และafterload
พยาธิสรีรวิทยา
ความผิดปกติของหัวใจที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย หรือความผิดปกติของหัวใจที่เริ่มมีอาการใหม่หรือภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรังร่วมกับปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิด
LV ทำงานปกติ แต่มีอาการของ HF 40 ถึง 50% เช่น เหนื่อยหอบ
LV ทำงานผิดปกติ บีบตัวลดลงร่วมกับมีอาการของ HF
เกิด Pulmonary edema คือมีน้ำคั่งปอด preload มาก after load มากตาม เกิด volume overload
ทำให้ RV ทำงานหนักทำงานหนักมากขึ้นเกิดความผิดปกติหรือวายได้
เกิดสารน้ำคั่งทั่วร่างกาย
สาเหตุ
โรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ภาวะหัวใจวาย กลไกการไหลเวียนของเลือดผิดปกติเฉียบพลัน โรคหัวใจใดๆที่ทรุดลงตามการดําเนินโรค ภาวะความดันโลหิต สูงวิกฤต
ปัจจัยกระตุ้น
1) ความผิดปกติ ทางหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
2) ความผิดปกตินอกระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น การใช้ยาไม่สม่ำเสมอ
อาการและอาการแสดง
เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการแสดง
Acute decompensated heart failure หมายถึง มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้น เฉียบพลันแต่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
Hypertensive acute heart failure หมายถึง มีอาการภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีปอดบวมน้ํา โดยมีความดันโลหิตสูงรุนแรงร่วมด้วย แต่การทํางานของหัวใจห้องล่างซ้ายยังอยู่ในเกณฑ์ดี
Pulmonary edema หมายถึง ภาวะที่มีอาการและอาการแสดงของปอดบวมน้ําชัดเจน
Cardiogenic shock หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมี poor tissue perfusion ถึงแม้จะมีการแก้ไขภาวะ ขาดน้ําแล้วก็ตาม
โดยมีความดันโลหิต systolic < 90 mmHg หรือ MAP < 60 mmHg ปัสสาวะออก < 0.5 ml/kg/hr.
High output failure หมายถึง ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยมีปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจต่อนาทีสูงกว่าปกติ มักมีหัวใจเต้นเร็ว ปลายมือเท้าอุ่น ร่วมกับการมีภาวะน้ําท่วมปอด
Right heart failure หมายถึง ภาวะที่หัวใจด้านขวาทํางานล้มเหลว มี ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ ต่อนาทีลดลง ร่วมกับมีการเพิ่มขึ้นของความดันหลอดเลือดดําที่คอ มีการบวมของตับ ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำ
อาการและอาการแสดงที่พบบ่อย
หายใจเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ อ่อนเพลีย บวมตามแขนขา ความดันโลหิตปกติหรือต่ำหรือสูงทท้องอืดโตแน่นท้อง ปัสสาวะออกน้อยหรือมากหัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว เส้นเลือดดำที่ขอโป่งพอง ฟังเสียงปอดได้ยินเสียงผิดปกติจากการมีเลือดข้างในปอด
การรักษา
การลดการทํางานของหัวใจ (Decrease cardiac workload) เช่น การให้ออกซิเจนการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน
การดึงน้ำและเกลือแร่ที่ข้างออกจากร่างกาย เช่น การให้ยาขับปัสสาวะ การจำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม การเจาะระบายน้ำ
การใช้ยา
3.1 ยาเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ digitalis (digoxin)
3.2 ยารักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ amiodarone
3.3 ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ เช;น nitroglycerine / isodril (NTG)
3.4 ยาขยายหลอดเลือด sodium nitroprusside (NTP)
3.5 ยาที่ใช้ในช็อค adrenaline, dopamine, dobutamine, norepinephrine (levophed)
3.6 ยาบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก morphine
3.7 ยาละลายลิ่มเลือด coumadin
3.8 ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด aspirin, plavix, clopidogrel
การรักษาสาเหตุ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี, การเปลี่ยนลิ้นหัวใจในโคโรนารี, การรักษาภาวะติดเชื้อ
การพยาบาล
หลักในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติทางหัวใจและหลอดเลือด มีเป้าหมายสำคัญคือ การลดการทำงานของหัวใจและการส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปยังเซลล์ให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ