Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นิเวศวทิยาการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมในงานอาชีพ, นาย ศิริวัฒน์ โห้โสภา…
นิเวศวทิยาการอนุรักษ์และจัดการสิ่งแวดล้อมในงานอาชีพ
ความหมายนิเวศวิทยา
เป็นวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สิ่งมีชีวิต (organism) กับสิ่งแวดล้อม (environment) หรือแหล่งที่อยู่ (Habitat) ตามธรรมชาติ ความสัมพันธ์ต่างๆ จะแสดงถึงการมีระบบ จึงเรียก ระบบนิเวศ ซึ่งระบบความสัมพันธ์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับวิถีการดำรงชีวิต เช่น การหาอาหาร การกินอาหาร การแข่งขันเพื่อการอยู่รอด การปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม การพึ่งพากันเพื่อให้สังคมเป็นปกติและที่สำคัญที่สุด คือ ระบบการรักษาสมดุลระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศในแง่ของการถ่ายทอดพลังงานการหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ
การศึกษานิเวศวิทยา สามารถศึกษาได้ตั้งแต่ในระดับสิ่งมีชีวิต (Organisms) ถัดไปเป็นระดับประชากร (Population) ระดับกลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community) ระดับระบบนิเวศ (Ecosystem) ระดับชีวนิเวศ (Biomes) และระดับโลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (Biosphere)
การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า
ควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
ไม่ทำลายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การทำเกษตรผสมผสาน การอุตสาหกรรมเชิงอนุรักษ์ การพัฒนาท้องถิ่นแบบยั่งยืน
ความหมายของการจัดการสิ่งแวดล้อม
หมายถึง กระบวนการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นระบบ โดยการวางแผนดำเนินงาน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ให้ได้ยั่งยืน ยาวนานตลอดไป และเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติให้มากที่สุด
แนวคิดในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การใช้ทรัพยากรอย่างมีอย่างประสิทธิภาพ
การหลีกเลี่ยงความล้มเหลวของกลไกรัฐที่เกี่ยวข้อง
การรักษาทางเลือกสำหรับอนาคต
หยุดการเจริญเติบโตขอประชากร
การกระจายความมั่นคงให้แก่กลุ่มคนที่ยากจน
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติ
ISO 14000 คือ
มาตรฐานเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการ ปัญหา สิ่งแวดล้อม (Environmental aspects) ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การ ป้องกันมลพิษและการดาเนินธุรกิจของ องค์กร
บันได 5 ขั้นเพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ขั้นที่ 1 การตั้งประเด็นคำถามและสมมุติฐาน
ขั้นที่ 2 การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ
ขั้นที่ 3 การสรุปองค์ความรู้
ขั้นที่ 4 การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นที่ 5 การบริการสังคมและจิตสาธารณะ
นาย ศิริวัฒน์ โห้โสภา เลขที่27 ปวส1/1 ชย.