Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบทางเดินหายใจระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง -…
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพระบบทางเดินหายใจระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
Pleural effusion
เป็นภาวะที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด อาจเกิดจากการอักเสบ ภาวะน้ำเกิน มีโอกาสพัฒนาไปเป็น Empyema thoracis จากการเปลี่ยนแปลงของน้ำ มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น
อาการ
หอบ หายใจถี่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หรือหายใจเข้าลึก ๆ ลำบาก เนื่องจากของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดไปกดทับปอด ทำให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ไอแห้งและมีไข้ เนื่องจากปอดติดเชื้อ
เจ็บหน้าอก
สะอึกอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
โรคตับแข็ง
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
หลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
การวินิจฉัย
การสอบถามประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย
การเอกซเรย์
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography: CT Scan)
อัลตราซาวด์ (Ultrasound)
การวิเคราะห์ของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Fluid Analysis)
การรักษา
การระบายของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด
Pleurodesis
การผ่าตัด
Asthma
โรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบแคบของระบบทางเดินหายใจเป็นครั้งคราว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง แต่ส่วนมากจะไม่มีอันตรายร้ายแรง ยกเว้นในรายที่เป็นมากหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจทำให้เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นถาวรหรือทำเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
สาเหตุ
สารก่อภูมิแพ้ เช่น ละอองหญ้า วัชพืช ละอองเกสรดอกไม้ ไรฝุ่นในบ้าน
สิ่งระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ควันธูป ควันไฟ ควันท่อไอเสีย ฝุ่นละออง มลพิษในอากาศ
การติดเชื้อของทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
โรคกรดไหลย้อน
ฮอร์โมนเพศ ยา
อาการ
มีเสียงหายใจดังวี้ดคล้ายเสียงนกหวีดบ่อยครั้ง คือ มากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
มีอาการไอ รู้สึกเหนื่อย หรือมีเสียงหายใจดังวี้ดขณะวิ่งหรือออกกำลังกาย
มีอาการไอตอนกลางคืน โดยที่ไม่ได้เป็นโรคติดเชื้อของทางเดินหายใจ
อาการจะกำเริบหรือเป็นมากขึ้น เมื่อมีสิ่งเร้าหรือสาเหตุกระตุ้น เช่น ควันบุหรี่ ไรฝุ่นบ้าน ขนสัตว์ ละอองเกสร สเปรย์ การติดเชื้อทางเดินหายใจ ยา ความเครียด การออกกำลังกาย
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคหอบหืดนั้นแพทย์สามารถทำได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย โดยในเบื้องต้นแพทย์จะถามถึงประวัติการเป็นหอบหืดของคนในครอบครัว รวมทั้งประวัติของการเกิดอาการและสัญญาณของหอดหืดอย่างละเอียด เช่น มีอาการไอ หอบ หายใจมีเสียงวี้ดเป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการไออย่างเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างในตอนกลางคืน และอาจมีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น การตรวจเอกซเรย์ปอดเพื่อดูว่าไม่มีโรคอื่นที่มีอาการคล้าย ๆ กัน (เพราะการตรวจเอกซเรย์ปอดในผู้ป่วยโรคหอบหืดจะไม่พบความผิดปกติ)
การรักษา
ยาพ่นหอบหืด
การรักษาโรคหอบหืดนั้นมีทั้งการรักษาแบบทานยา และการรักษาโดยใช้ “ยาพ่น” ซึ่งเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้ที่มีอาการหอบหืด แต่ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์และสามารถพกพาติดตัวได้ เหมาะแก่การใช้เมื่อมีอาการทันที เช่น เวลาที่มีอาการ “ปอดวี้ด” ไอ จนรู้สึกว่าหลอดลมตีบ ยาพ่นจะช่วยขยายหลอดลม และมีความอันตรายน้อยกว่ายากิน เพราะมีปริมาณตัวยาน้อยกว่าแต่ออกฤทธิ์ไวกว่ามาก
Bronchitis
อาการ
ไข้ ไอเรื้อรัง เจ็บคอ
การรักษา
พ่นยา ยาปฏิชีวนะ Steroid
การวินิจฉัย
ทำได้โดย แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย โดยใช้ที่ฟังปอด ฟังหลอดลม ว่ามีการตีบแคบของหลอดลมหรือไม่ และให้การวินิจฉัยแยกโรคจากโรคอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการไอ การที่เสมหะมีสีขาว หรือเขียว ไม่ได้ช่วยแยกว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง COPD
สาเหตุ
การสูบบุหรี่
มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ
โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT)
สำหรับปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้แก่ การสูบบุหรี่ทั้งที่เป็นโรคหืด และอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
อาการ
ในระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการปรากฎ จนกระทั่งปอดถูกทำลายมากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมากโดยเฉพาะในช่วงเช้าหลังตื่นนอน รู้สึกเหนื่อยหอบ หมดเรี่ยวแรง หายใจลำบาก แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงหวีด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ บางรายอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด ปากและเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วง
การวินิจฉัย
การตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธี spirometry
การตรวจภาพรังสีทรวงอก หรือเอกซเรย์ปอด เพื่อแยกโรคที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน และวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเกิดร่วมด้วย เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
การตรวจวิเคราะห์แก๊สในเลือดแดง (arterial blood gas)
การรักษา
เลิกสูบบุหรี่
หลีกเลี่ยงมลพิษในอากาศ และการอยู่ในสถานที่ที่มีละอองสารเคมี
การรักษาด้วยยา ยาขยายหลอดลม ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด ยาปฏิชีวนะ ให้ในกรณีที่มีการติดเชื้อ หรือการกำเริบเฉียบพลัน
การผ่าตัด ในกรณีที่การรักษาด้วยยาและวิธีอื่นๆ ไม่ได้ผล
ถุงลมโป่งพอง
สาเหตุของโรค
สาเหตุของถุงลมโป่งพอง ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ การสูบบุหรี่ นอกจากนั้นยังอาจเกิดจาก การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานาน ๆ
อาการ
ในผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมโป่งพอง ถุงลมและหลอดลมจะเสียความยืดหยุ่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ แต่ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้น อาการก็จะแสดงชัดขึ้นตามลำดับ โดยอาการสำคัญที่พบบ่อยๆ ได้แก่ หายใจลำบาก หอบ เหนื่อย และหายใจมีเสียงวี๊ด
การวินิจฉัย
เครื่อง Spirometer เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นการตรวจวัดปริมาตรของ อากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด ทำได้ค่อนข้างง่ายแต่ต้องอาศัยความร่วมมือของ ผู้ที่มาตรวจเนื่องจากต้องมีขั้นตอนการสูดลมและการออกแรงเป่าอย่างเต็มที่ทางปาก
การวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง เนื่องจากระดับก๊าซในเลือดแดงจะช่วยบอกถึงความผิดปกติในการแลกเปลี่ยนก๊าซเกี่ยวกับการรับออกซิเจนและการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใด ที่สามารถทำให้โรคถุงลมโป่งพองหายได้ แต่การใช้ยาจะช่วยให้ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และปอดถูกทำลายช้าลง
Pneumonia ปอดอักเสบ
อาการ
อาการของปอดบวมที่สำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และหอบเหนื่อย ซึ่งอาการเหล่านี้อาจมีไม่ครบทุกอย่างก็ได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนต้น หรือโรคหวัดนำมาก่อน หลังจากนั้นจึงมีอาการไอ และหายใจหอบตามมา โดยเฉพาะที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนียอี (Streptococcus Pneumoniae) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน รวมอยู่ด้วย
สาเหตุ
ประเภทของโรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ สามารถแบ่งได้จากชนิดของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ และสถานที่ที่ได้รับการติดเชื้อ ซึ่งสามารถเกิดได้จากสาเหตุหลัก 2 กลุ่ม คือ ปอดบวม ปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ และที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ โดยทั่วไปจะพบปอดอักเสบที่เกิดจาก
การวินิจฉัย
ตรวจเลือด เพื่อหาว่าผู้ป่วยได้รับเชื้อชนิดใดมา
เอกซเรย์หน้าอก
วัดออกซิเจนในเลือดและชีพจร
ตรวจเสมหะ ในผู้ป่วยที่มีอาการไอมาก
การรักษา
การรักษาตามอาการทั่วไป การให้ยาลดไข้ ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ออกซิเจน ตามอาการของผู้ป่วย
การรักษาปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
การรักษาปอดบวมที่เกิดจากเชื้อไวรัส