Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความปลอดภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์นาโน กลุ่มที่ 4, : :, 1643357194805, link…
ความปลอดภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์นาโน กลุ่มที่
4
ผลการศึกษาความเป็นอันตรายจากการสูดหายใจ
อนุภาคนาโนเข้าสู่ร่างกาย
1.ท่อนาโนคาร์บอน ปัจจุบันมีงานวิจัยทดสอบความเป็นพิษหลายฉบับที่รายงานว่าท่อนาโนคาร์บอนที่มีขนาดยาวและบางโดยเฉพาะชนิดผนังหลายชั้นอาจส่งผลกับสุขภาพได้เหมือนกัน
2.อนุภาคนาโนของเงิน มีการใช้หนูทดลองเมื่อสูดหายใจเข้าสู่ปอดแล้วอนุภาคนาโนสามารถขับเคลื่อนไปยังอวัยวะต่างได้ผ่านกระแสเลือดโดยพบการสะสมในตับ ม้าม ไต หัวใจและสมอง
3.อนุภาคนาโนของไททาเนียมไดออกไซค์ หลังจากการทดลอง ในหนูพบว่ามีการสะสมอนุภาคนาโนไททาเนียมไดออกไซค์ ในสมองของหนูนักวิจัยคาดว่าการสะสมในสมองน่าจะมาจากการเคลื่อนของอนุภาคนาโนผ่านเซลล์ประสาทและมีการทดลองในอีกหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่าอนุภาคของนาโนต่างๆสามารถส่งผลเสียต่างๆให้ร่างกายได้
ความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีมักจะมุ่งเน้นไปที่อนุภาคหรือละอองนาโนที่สามารถฟุ้งกระจายและแขวนลอยในอากาศเป็นเวลานานซึ่งถ้าสูดหายใจได้รับอนุภาคนาโนเป็นเวลานานหรือในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการสะสมอยู่ในร่างกายได้และสามารถทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
.
1.ข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยนาโนเทคโนโลยีมักจะมุ่งเน้นไปที่อนุภาคหรือละอองนาโน (aerosol
nanoparticles) ที่สามารถฟุ้งกระจายและแขวนลอยในอากาศเป็นเวลานาน ซึ่งหากสูดหายใจรับอนุภาคนาโนเข้า
สู่ร่างกายเป็นเวลานานและ/หรือในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดการสะสมของอนุภาคนาโนอยู่ในร่างกาย อย่างไรก็
ตาม อัตราการสะสมของอนุภาคนาโนในร่างกายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ขนาดของอนุภาคนาโน
การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน(agglomeration) อัตราการหายใจ สภาวะร่างกายโดยเฉพาะที่เป็นโรคปอดหรือ
โรคทางเดินหายใจ เป็นต้น
1.1และบางโดยเฉพาะชนิดผนังหลายชั้น (MWCNT) อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในลักษณะเดียวกับแร่ใยหิน (Muller
et al., 2005;Poland et al., 2008; Takagi et al., 2008) จากการทดลองกับหนูพบว่าเส้นใยขนาดยาวและบาง
ของท่อนาโนคาร์บอนสามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปในปอดได้และสามารถสะสมอยู่ใ นปอดเป็นเวลานาน
(biopersistent) ท าให้เกิดอาการปอดอักเสบและลุกลามกลายเป็นมะเร็งเยื่อหุ้มปอด (mesothelioma) ได้
เนื่องจากปอดไม่สามารถขจัดวัตถุแปลกปลอมที่มีลักษณะเป็นเส้นใยขนาดยาวและบางมากเหล่านี้ได้(Deng et al.
2007)
1.2มีงานศึกษาวิจัยความเป็นพิษของอนุภาคนาโนของเงินจากการสูดหายใจโดยใช้หนูเป็น สัตว์ทดลอง พบว่า เมื่อสูดหายใจเข้าสู่ปอดแล้ว อนุภาคนาโนสามารถเคลื่อนไปยังอวัยวะต่างๆ ได้ผ่านกระแสเลือด โดยพบการสะสมในตับ ม้าม ไต หัวใจและสมอง (Takenaka et al. 2001; Sung et al. 2009; Ji et al. 2007) ในงานวิจัยของ Sung et al. (2009) พบว่า หลังจากที่หนูทดลองได้รับอนุภาคนาโนของเงินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 90 วัน เริ่มมีอาการอักเสบภายในปอดและท าให้สภาวะการท างานของปอดเปลี่ยนแปลงไป แต่งานศึกษาที่ผ่านมายังไม่ได้ชี้ชัดถึงสถานะของเงินที่ทาให้เกิดความเป็นพิษว่าเกิดจากเงินไอออน (Ag+ ) หรืออนุภาคนาโนของเงิน หรือทั้งสองสถานะประกอบกัน
1.3มีงานวิจัยที่ศึกษากับหนูทดลอง โดยให้หนูสูดอนุภาคนาโนของไททาเนียมไดออกไซด์ ปริมาณ 500 ไมโครกรัม สลับวันเว้นวันเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่า มีการสะสมของอนุภาคนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ ในสมองของหนู (บริเวณ Hippocampus และ olfactory bulb) นักวิจัยคาดว่าการสะสมในสมองน่าจะมาจาก การเคลื่อนของอนุภาคนาโนผ่านเซลล์ประสาท (Wang et al. 2008a, 2008b) มีงานศึกษาในสัตว์ทดลองหลายชิ้นที่ชี้ให้เห็นว่า อนุภาคนาโนของไททาเนียมไดออกไซด์ (ขนาด 20-30 นาโนเมตร) มีความเป็นพิษมากกว่าอนุภาคที่ใหญ่กว่า (มากกว่า 100 นาโนเมตร) (Ferin et al. 1992; Renwick et al. 2004; Chen et al. 2006; Inoue et al. 2008) ความเป็นพิษที่พบได้แก่ อาการอักเสบของปอด ความเสียหายของเยื่อบุผิว การเพิ่มความสามารถในการซึมผ่านของเยื่อหุ้มปอดและความเป็นพิษต่อเซลล์ นอกจาก ขนาดของอนุภาคแล้ว ชนิดของไททาเนียมไดออกไซด์ก็มีผลต่อระดับความเป็นพิษ ในงานศึกษาของ Warheit et al. (2007) พบว่า รูปผลึกแบบอานาเทสของไททาเนียมไดออกไซด์ท าให้อนุภาคมีความเป็นพิษมากกว่ารูปผลึก แบบรูไทล์
การศึกษาความปลอดภัยของวัสดุและผลิตภัณฑ์นาโน
สิ่งใดที่ให้ประโยชน์มหาศาลก็มีความเสี่ยงอันตรายตามมาเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากประสบการณ์
ในอดีตที่พนักงานโรงงานทอผ้าป่วยเป็นโรคปอดสีบเนื่องจากการสัมผัสกับแใยหิน (asbestos) จาก
บทเรียนของการพัฒนาเทตโนโลยีใหม่ ๆ ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางลบที่คาดไม่ถึงในช่วงแก
ทำให้นานาประเทศได้เริ่มให้ความสำคัญกับการศึกษาวิจัยความปลอดภัยของวัสดุนาโนและ
ผลิตภัณฑ์นาโนมากขึ้นเรื่อยๆ
: :
link to royx.net