Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน - Coggle Diagram
บทที่ 6
การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
แนวคิดเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล
ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่มีการเก็บรวบรวมไว้และ
มีความหมาย อาจได้จากการสังเกต สอบถาม การวัด การชั่ง ข้อมูลเป็นได้ทั้งตัวเลขและไม่ใช่ตัวเลข
ข้อมูลทางการศึกษา หมายถึง ข้อเท็จจริงทางการศึกษา
ที่มีการเก็บรวบรวมไว้
ประเภทของข้อมูล
แบ่งตามแหล่งที่มาของข้อมูล
ข้อมูลเชิงทุติยภูมิ
คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาจากหน่วยงานอื่นหรือผู้อื่นที่ได้ทำการเก็บข้อมูลไว้แล้วในอดีต
ข้อมูลเชิงปฐมภูมิ
คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลขึ้นเอง
แบ่งตามสเกลการวัดข้อมูล
ข้อมูลที่วัดในสเกลเรียงลำดับ
เช่น ระดับการศึกษา ขนาดของโรงเรียน
ข้อมูลที่วัดในสเกลอันตรภาค
เช่น คะแนนสอบ อุณหภูมิ
ข้อมูลที่วัดในสเกลนามบัญญัติ
เช่น เพศของนักเรียน อาชีพของผู้ปกครอง
ข้อมูลที่วัดในสเกลอัตราส่วน
เช่น รายได้ของผู้ปกครอง น้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียน
แบ่งตามคุณสมบัติของค่าที่วัดได้
ข้อมูลเชิงปริมาณ
ข้อมูลเชิงปริมาณแบบต่อเนื่อง
ข้อมูลเชิงปริมาณแบบไม่ต่อเนื่อง
ข้อมูลเชิงคุณภาพ
เป็นข้อมูลที่วัดค่าออกมาในรูปของประเภทหรือชนิด
ประเภทของสถิติ
สถิติว่าด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
นักวิจัยใช้สถิติประเภทนี้ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง
ให้มีขนาดเพียงพอ และใช้ในการเลือกตัวอย่างให้เป็นตัวแทนที่ดีของประชากร
สถิติบรรยาย
นักวิจัยใช้สถิติประเภทนี้ในการนำเสนอข้อมูล ทั้งในรูปแบบแผนภูมิชนิดต่าง ๆ และในรูปค่าสถิติ
สถิติอนุมาน
สถิติพาราเมตริก
T-test
Z-test
F-test
สถิตินันพาราเมตริก
ไค-สแควร์
หลักการเลือกใช้สถิติ
ความต่างระดับของหน่วยการวิเคราะห์
ความสอดคล้องของข้อมูลกับข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติวิเคราะห์ที่จะใช้
จำนวนกลุ่มของประชากรที่ศึกษา
การเก็บข้อมูลครั้งเดียวหรือเก็บข้อมูลหลายช่วงเวลา
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนตัวแปรที่ศึกษา
สเกลการวัดค่าของตัวแปร
วัตถุประสงค์การวิจัย
การวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูล
นักวิจัยต้องออกแบบการวิจัยและดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว นักวิจัยจะต้องวางแผนการวิเคราะห์ข้อมูล
เพื่อให้ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา
การแจกแจงความถี่ ร้อยละ
การแจกแจงความถี่แบบทางเดียว
เป็นการนำข้อมูลของตัวแปรหนึ่งมาจัดให้เป็นระเบียบหมวดหมู่
แล้วนับจำนวนความถี่เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และง่ายต่อการ
นำเสนอเป็นค่าสถิติต่าง ๆ
การแจกแจงความถี่แบบสองทาง
เป็นการนำตัวแปรสองตัวมาแจกแจงความถี่พร้อมกันแล้วนำเสนอในตรางเดียวกัน
ข้อควรพิจารณา
ในการแจกแจงความถี่
ตัวแปรที่จะนำมาแจกแจงความถี่ ควรจะเป็นตัวแปรที่วัดในสเกลนามบัญญัติหรือสเกลเรียงลำดับ
ข้อมูลเชิงปริมาณที่มีจำนวนน้อย ไม่ต้องแจกแจงความถี่
โดยการนำข้อมูลมาจัดเป็นช่วง
การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณควรให้ผู้ตอบตามตัวเลขจริง
แล้วค่อยจัดช่วงตอนนำเสนอข้อมูล
การคำนวณร้อยละ ต้องมีข้อมูลมากพอ
นักวิจัยต้องระมัดระวังผลรวมของร้อยละในทุกกลุ่ม
ต้องรวมกันได้ 100
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
มัธยฐาน
คือ ค่าที่อยู่ตรงกลางเมื่อเรียงลำดับข้อมูลจากมากไปหาน้อย หรือน้อยไปหามากแล้ว ดังนั้นการหาค่ากลางโดยใช้มัธยฐานก็คือการหาข้อมูลตัวที่อยู่ตรงกลางของข้อมูลชุดนั้น
ฐานนิยม
คือ ข้อมูลที่ปรากฏบ่อยที่สุดหรือข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดของข้อมูล
ชุดหนึ่ง อาจมีฐานนิยม 1 ค่าหรือมากกว่าหรือไม่มีเลยก็ได้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
คือ ผลรวมของค่าของข้อมูลชุดนั้นทุกตัวแล้วหาร
ด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด
การวัดการกระจาย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
เป็นการวัดการกระจายรอบค่าเฉลี่ย เป็นค่าเฉลี่ยของการกระจายของข้อมูลจากค่าเฉลี่ยของข้อมูลชุดนั้น
สัมประสิทธิ์การแปรผัน
ทำได้โดยการเทียบอัตราส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
โดยกำหนดให้ค่าเฉลี่ยเป็น 100
พิสัย
คือ ผลต่างระหว่างข้อมูลตัวที่มีค่าสูงสุดกับตัวที่มีค่าต่ำสุด
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติอนุมาน
การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย
การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
กรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย
กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิรสะต่อกัน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์
สหสัมพันธ์ เป็นเทคนิคทางสถิติที่ใช้วัดอธิบาย
ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร ซึ่งสองตัวแปรนั้นได้จากการสังเกตตามธรรมชาติ เพื่อให้ทราบขนาดและทิศทางของ
ความสัมพันธ์ โดยไม่กำหนดตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระ
สหสัมพันธ์เพียร์สัน
การวิเคราะห์ความสัมพันธ์กรณีตัวแปรเชิงคุณภาพ
การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยกรณีกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป
การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง เพื่อศึกษาผลการจัดกระทำ
การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนกับคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของผู้เรียน